ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี

Monday, July 21, 2008

การเลี้ยงปลาก่อนออกกัด


การคัดเลือกปลาขึ้นเลี้ยง
คัดเลือกปลาที่ได้อายุ ไม่ต่ำกวา 7 เดือน(บางตัวแค่ 5 เดือนก็พร้อมกัดส่วนใหญ่จะ 7-8 เดือน)อาศัยปล้ำบ่อยๆ ดูจังหวะขึ้นลงของเขี้ยวปลา ดูลักษณะปลาที่โคนหางใหญ่ใบหางกว้างเกล็ดซ้อนกันเป็นเม็ดละเอียดปากไม่ดำจนเกินไป และไม่มีตำหนิ ส่วนคอใหญ่หนา(ตรงที่โค้งจากหลังมาที่หัว) ท้องไม่บวมใหญ่ ไม่ผอมและไม่อ้วนเกินไป ตาไม่ขุ่นมัว ไม่ซึม

การเลี้ยงปลา

เมื่อได้ปลาที่ถูกใจ เขี้ยวดี หนังดี แล้วก็มาถึงขั้นตอนการเลี้ยงเพื่อออกกัด ส่วนใหญ่จะมีสูตรสำเร็จ หมัก(ทง) 7 เลี้ยง 7 แล้วแต่จะถนัดสูตรที่ผมนะนำเสนอเป็นการเลี้ยงที่ผมใช้อยู่ ลองเอามาดัดแปลงไปใช้ได้ตามความเหมาะสม

หมัก(ทง)ปลา 7 วัน
วันที่ 1-3 หมักปลาโดยใช้น้ำหมักสูตรต่างๆที่จะคิดออกผมใช้ใบหูกวาง+เกลือเม็ดครับ ให้อาหารช่วงเย็น วันที่ 4-6 เปิดพองเช้า - หลังอาหารเย็น ให้ปลาคึกอย่าให้ปลากัดเหลี่ยม

วันที่ 7 เช้าเปิดพอง ช่วงเย็นนอนตัวเมีย 1 คืน เริ่มเลี้ยง 7 วัน

วันที่ 8-9 เช้าพาลตัวเมียพอเริ่มจะกัดปลาพาลให้ตักออก บ่ายไล่ลูกไล่ 1 ชั่วโมง เย็นใส่ลูกหยอดในโหลที่เลี้ยง พอปลาเริ่มกัดให้ตักออก ถ้าไม่กัดให้ใส่ไปอีก1 ตัว

วันที่ 10-11 เช้าเปิดพอง บ่ายไล่ลูกไล่ เย็นใส่ลูกหยอด

วันที่ 12 เช้าเปิดพอง บ่ายไล่ลูกไล่เปลี่ยนน้ำในเหลี่ยมเลี้ยง 1/2 ใส่ผักให้ปลานอน เย็นนอนตัวเมีย

วันที่ 13 ให้ปลาพัก เปิดพองตอนเช้า เป็นให้อาหาร คลุมผ้านอน

วันที่ 14 พาลตัวเมีย ตักใส่ขวดพร้อมน้ำเลี้ยง เอาไปกัด

ที่มา:katomplakad.com

การเพาะปลากัด



ปลากัด ปลานักรักผู้ยิ่งใหญ่ เป็นปลาที่เพาะพันธุ์ง่ายไม่ยุ่งยาก จึงเหมาะสมสำหรับผู้ที่คิดจะเพาะเลี้ยงปลชนิดที่ออกเป็นไข่ เพื่อฝึกฝนการเลี้ยงและอนุบาลลูกปลา เอาไว้เป็นทุนในการเพาะเลี้ยงปลาชนิดอื่นที่มีราคาแพงต่อไป หรือจะเพาะเลี้ยงปลากัดเพื่อเป็นอาชืพเสริมก็ยังได้ ปลากัดเป็นปลาที่ไม่ต้องอาศัยการดูแลเอาใจใส่มากนัก มีความเป็นธรรมชาติสูง ราคาไม่แพงและเป็นปลาที่เพาะได้ตลอดปี ปลากัดเป็นปลาที่มีอวัยวะที่ช่วยหายใจพิเศษที่เรียกว่า Labyrinth เราจึงเห็นปลากัดชอบขึ้นมาหุบอากาศเพื่อหายใจ ดังนั้นปลากัดจึงสามารถอาศัยอยู่ในน้ำที่ไม่สะอาดและไม่มีอากาศได้นาน ๆปัจจุบันการพัฒนาสายพันธุ์ปลากัดเป็นที่แพร่หลายในหมู่ผู้เพาะเลี้ยงเป็นอาชีพ การพัฒนาดังกล่าวนี้ทำให้ปลากัดมีสีสันมากมาย เรียกได้ว่าเกือบทุกสีแล้วในขณะนี้ บางสีมีราคาแพงมาก ถ้าผู้ที่คิดจะเพาะเลี้ยงปลากัด ขั้นเริ่มต้นขอแนะนำให้เพาะเลี้ยงปลากัดที่มีราคาไม่แพงนักเพื่อฝึกฝนการเพาะไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งมั่นใจแล้วจึงลงทุนใช้พ่อแม่พันธุ์ที่มีราคาต่อไป มีเรื่องอ้างอิงกันมาแต่โบราณว่าปลากัดแค่มองตากันก็ท้องแล้ว ระวังนะสาว ๆ ห้ามมองตาหนุ่มที่ใหน การพบไข่ของปลาทั่วไปนั้น เมื่อปลาตัวเมียสมบูรณ์เพศแล้วรังไข่ก็จะสร้างไข่ขึ้นมาเป็นธรรมชาติ การเทียบปลาตัวผู้และตัวเมียของปลากัดเป็นการเร่งไข่ให้แก่และทำความพร้อมให้กับตัวเมียในการออกไข่ ปลาตัวเมียเองเมื่อไข่แก่เต็มที่แล้วไม่มีตัวผู้มาผสมพันธุ์ก็จะปล่อยไข่ออกมาเอง หรือบางตัวจะก่อหวอดเองและนำไข่ที่ร่วงออกมาไปไว้ในหวอดเหมือนตัวผู้เลย แต่สุดท้ายก็กินไข่เหล่านั้นเข้าไป การผสมพันธุ์ของปลากัด ปลาพ่อและแม่จะช่วยกันจนเสร็จสิ้น สุดท้ายก็กับสู่ภาวะปกติ ตัวผู้ก็จะไล่กัดตัวเมียและเริ่มดุมากขึ้น จึงจำเป็นต้องนำปลาตัวเมียออกจากบ่อเพาะเมื่อจบการผสมพันธุ์ เพื่อป้องกันการสูญเสียแม่พันธุ์ มีคนเคยกล่าวถึงการเทียบคู่ของปลากัดนั้นจะทำให้ลูกปลาที่ได้ออกมานั้นมีลักษณะสีสันเหมือนกับพ่อพันธุ์ ปลากัดที่มีสีสันเช่นนั้นอาจได้มาจากการถ่ายทอดความรู้สึกของปลาแม่พันธุ์ไปยังลูกปลา มีผู้ใช้เทคนิคเหล่านี้มาปรับเปลี่ยนโดยการวาดรูปปลากัดที่มีสีสันตามต้องการ มาตั้งเทียบปลาแม่พันธุ์ไว้ วิธีการนี้มีมานานแล้วถึงแม้ว่าไม่มีบทพิสูจน์ในทางวิชาการก็ตามแต่ก็ได้รับการยืนยันจากนักเพาะปลากัดจำนวนหนึ่งถึงผลที่ได้รับว่า ในครอกหนึ่ง ๆ จะมีลูกปลาที่มีลักษณะเหมือนภาพวาดด้วยเช่นกัน ใครสนใจจะนำไปใช้ก็ไม่มีปัญหา แต่ขอบอกใว้ว่าปลากัดต้องผสมพันธุ์กันระหว่างพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์นะครับ ไม่ใช่มองกันอย่างเดียวก็ได้ลูกปลาแล้วการคัดสรรพ่อแม่พันธุ์ปลากัด ก่อนอื่นที่จะกล่าวถึงเกี่ยวกับการคัดสรรพ่อแม่พันธุ์ปลากัด เราจะต้องนึกอยู่ในใจว่าเหตุผลเช่นไรที่จะเพาะเลี้ยงปลากัด การเพาะเลี้ยงปลากัดเพื่อฝึกฝนก็ไม่จำเป็นอะไรมากนัก มีตัวผู้ 1 ตัว ตัวเมีย 1 ตัวที่สมบูรณ์ก็เพียงพอแล้ว แต่ถ้าหากต้องการเพาะเพื่อจุดประสงค์อื่น เช่นการบีบสี ก็จำเป็นจะต้องหาพ่อแม่พันธุ์ที่มีสีสันตามที่ต้องการทั้งตัวผู้ตัวเมีย หรือไม่มีก็ต้องหาตัวใดตัวหนึ่ง ซึ่งจะกล่าวถึงต่อไป การเพาะเพื่อส่งประกวด ก็จำเป็นจะต้องมีพ่อแม่พันธุ์ตรงตามสายพันธุ์ที่ต้องการ และมีความสวยงาม การเพาะเพื่อการค้า ก็จำเป็นที่จะต้องดูตลาด ว่าความต้องการขณะที่เพาะนั้นตลาดต้องการสายพันธุ์ใหนและต้องการสีอะไรอีกด้วย ดังนั้นการเพาะปลาจึงจำเป็นที่จะต้องคัดสรรพ่อแม่พันธุ์ปลากัดให้ตรงกับจุดประสงค์ที่เพาะด้วย การเลือกพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์สิ่งที่สำคัญเป็นอันดับแรกที่ควรคำนึงถึงคือ ความสมบูรณ์ของปลา จำเป็นอย่างยิ่งที่ปลากัดที่จะนำมาผสมพันธุ์นั้นจะต้องมีความสมบูรณ์ มีสุขภาพที่แข็งแรง บางครั้งมองดูจากภายนอกก็ไม่สามารถทราบถึงความสมบูรณ์ของปลาได้ เมื่อได้ไปหาพ่อแม่พันธุ์มาจากที่ใดก็ตามจะต้องนำมาให้อาหารอย่างอุดม อีกทั้งสภาพแวดล้อมโดยรวมด้วยเช่น น้ำ ภาชนะที่ใส่ บริเวณที่วางภาชนะเลี้ยง ก็ต้องดูแลให้เป็นพิเศษด้วย เป็นต้น การเลือกพ่อแม่พันธุ์ถ้าสามารถเลือกได้ ก็จะต้องเลือกที่มีลักษณะที่แข็งแรง ไม่มีลักษณะทีครีบไม่กาง ผอมหัวโต ไม่ก่อหวอด นอนหวดตลอด และก็อย่าลืมจุดประสงค์หลักที่เพาะเพื่ออะไรด้วย







ไข่นำบริเวณใต้ท้องของแม่พันธุ์ปลากัด


การเทียบคู่ปลากัด ปลากัดเป็นปลาที่มีนิสัยค่อนข้างดุ การเพาะพันธุ์แต่ละครั้งปลาตัวผู้จะต้องแสดงลีลารักไปทางรุนแรงสักนิด แต่นี่ก็คือวิถีชีวิตของปลากัดที่จะต้องเป็นเช่นนี้ การเพาะปลากัดโดยไม่มีการเทียบเลยก็สามารถที่จะเพาะปลากัดได้ แต่ทั้งนี้อาจเกิดการสูญเสียได้ ทั้งพ่อปลาและแม่ปลา การเทียบปลาจึงจำเป็นสำหรับการเพาะปลา คือปลาทั้งตัวผู้และตัวเมียจะได้มีความคุ้นเคยกันช่วยลดความรุนแรงลงได้ส่วนหนึ่ง อีกทั้งแม่ปลาที่สมบูรณ์และมีไข่ในท้องก็เริ่มตื่นตัวและมีการเร่งไข่เหล่านั้นให้สุกงอมเต็มที่ และยอมให้ตัวผู้รัดด้วยความสมัครใจ การเทียบปลาไม่มีอะไรมากนัก เพียงแต่นำพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ใส่โหลคนละใบมาวางเทียบกันโดยไม่มีอะไรมาขวางกั้น ให้ปลาทั้งคู่มองเห็นกันเท่านั้น ในขั้นตอนการเทียบปลานี้นักเพาะปลากัดควรใช้การสังเกตุหลายสิ่งถึงความพร้อมในการผสมพันธุ์ โดยให้คอยสังเกตุพ่อปลาว่าเมื่อได้มีการเริ่มต้นเทียบปลา พ่อปลามีความคึกคักที่ได้เห็นตัวเมียแสดงลีลาเชิงจีบสาวแบบสุดเหวี่ยง ในไม่ช้าพ่อปลาจะเริ่มก่อหวอด ส่วนแม่พันธุ์ให้สังเกตุไข่นำที่ไต้ท้องว่ามีลักษณะยื่นออกมา มีท้องที่อูมเป่ง เมื่อเวลาพ่อปลาแสดงลีลารักเข้าหา แม่ปลาจะว่ายเข้าหาในทันทีและว่ายในลักษณะทิ่มหัวเข้าหา แสดงสีเป็นแนวขวางตามลำตัวเห็นได้ชัดเจน มีเท่านั้นหละครับแสดงว่าทั้งสองฝ่ายได้ตกลงปรงใจได้เสียกันแล้ว เทคนิคในการเทียบคู่เป็นเทคนิคของนักเพาะแต่ละคนโดยไม่มีการวางไว้ตายตัว อาทิ บางคนจะเทียบปลาโดยเอาแม่ปลาไว้ตรงกลางบ่อเพาะ ปล่อยตัวผู้ว่ายไปมาอย่างอิสระ บางคนใช้พ่อปลาตัวหนึ่งเทียบ เวลาลงรัดใช้พ่อปลาอีกตัวหนึ่ง บางท่านเทียบปลาด้วยตัวเมียกันเองนำใส่โหลวางเป็นแถวหน้ากระดาน การเทียบปลาโดยปกติแล้วควรเทียบปลาและให้อาหารทั้งพ่อปลาแม่ปลาอย่างสมบูรณ์ อีกทั้งเปลี่ยนน้ำให้ปลาสดชื่นบ้าง อย่างน้อยใช้เวลา 7 วัน ทั้งนี้ต้องคอยสังเกตุด้วยว่าปลาพร้อมผสมพันธุ์แล้วหรือไม่ บางครั้งจำนวนวันเทียบอาจจะมากหรือน้อยได้เมื่อพ่อแม่พันธุ์ปลาพร้อมที่จะทำการผสมพันธุ์ สำหรับนักเพาะปลากัดรุ่นใหม่ขอแนะนำให้ใช้พ่อแม่พันธุ์ที่มีอายุสักนิด และใช้เวลาเทียบปลาจนกระทั่งพร้อมเต็มที่ ด้วยเหตุผลที่ว่าลูกปลาที่ได้เมื่อฟักออกมาจะมีลักษณะค่อนข้างตัวโตและแข็งแรง ส่วนแม่ปลาที่มีอายุน้อยเมื่อนำมาเพาะ หรือไข่ยังไม่สุขเต็มที่ ลูกปลาที่ได้จะไม่ค่อยแข็งแรงและอาจตายยกครอกได้ การเตรียมสถานที่เพาะปลากัด ขณะเมื่อทำการเทียบคู่ปลากัดอยู่ต้องคำนวนระยะเวลาการเทียบปลาให้ใกล้เคียงกับการเตรียมภาชนะเพาะปลาด้วย ไม่ว่าจะเป็นกะละมัง บ่อรอง ฯลฯ ส่วนการใช้น้ำที่ใส่ในภาชนะเพาะไม่ควรจะเป็นน้ำที่แก่จัด (น้ำที่กักเก็บมานานวัน) ควรจะเป็นน้ำใหม่ที่ไม่มีสารพิษเจือปนเท่านั้น โดยทั่วไปก็ใช้น้ำประปาใส่ภาชนะข้ามคืนก็พอแล้ว มีนักเพาะบางท่านเคยกล่าวไว้ว่าการใส่ใบหูกวางลงไปสักนิดหน่อยในภาชนะเพาะเพื่อปรับค่ากรด-ด่าง ช่วยให้ได้ปลาตัวผู้มากกว่าตัวเมีย ผมเคยลองแล้วก็ได้ผลดีทีเดียว ปลากัดชอบก่อหวอดและวางไข่ริมตลิ่งที่น้ำไม่ลึกมาก การเติมน้ำลงในภาชนะเพาะก็ไม่ควรเติมน้ำลงไปมากนัก เติมเพียง 15 ซ.ม. ก็ถือว่าเพียงพอแล้ว การเตรียมสภาพแวดล้อมก็มีส่วนช่วยให้การเพาะฟักให้เป็นไปด้วยดี เคยได้กล่าวไว้แล้วว่าปลากัดเป็นปลาที่ความเป็นธรรมชาติสูง การเตรียมสภาพแวดล้วมทั้งในภาชนะเพาะและบริเวณที่ใช้เพาะก็ต้องคำนึงถึงด้วย ผลสำเร็จในการเพาะปลากัดก็เป็นไปได้สูง กล่าวคือในภาชนะที่ใช้เพาะนอกจากน้ำที่ดีแล้วควรใส่ความเป็นธรรมชาติลงไปด้วย เช่น ใส่สาหร่ายและใบไม้ลอยบนผิวน้ำไว้ ไม่ว่าจะเป็นใบมะยม ใบบอน เพื่อให้พ่อปลาไว้ก่อหวอด และนำภาชนะเพาะไปไว้ในที่สงบ ๆ เท่านั้นเป็นอันเสร็จสิ้น




การรัดไข่ของปลาพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์



การเพาะปลากัด เมื่อได้เตรียมทุกอย่างเสร็จสิ้นแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการเทียบคู่ การเตรียมภาชนะและบรรยากาศต่าง ๆ ในการเพาะฟัก มาถึงขั้นตอนการการปล่อยพ่อปลาและแม่ปลาลงเพาะ เมื่อมั่นใจแล้วว่าปลาทั้งคู่พร้อมแล้วที่จะทำการผสมพันธุ์ ให้นำพ่อปลากัดปล่อยลงในภาชนะเพาะก่อนแล้วปล่อยให้สำรวจสถานที่ไปจนพ่อปลาแน่ใจและหาที่ก่อหวอดสร้างรังได้ในภาชนะเพาะ หลังจากนั้นช่วงเวลาใกล้ค่ำให้ปล่อยปลาแม่ปลาลงไป ปลาพ่อพันธุ์จะพองเข้าใส่แม่ปลา และไล่กัดบ้างบางครั้ง ไม่ต้องตกใจโดยธรรมชาติของปลากัดเป็นเช่นนั้น ปลาแม่พันธุ์ที่พร้อมที่จะผสมพันธุ์จะไม่หนีและทำหน้าตาน่ารักเป็นเชิงบอกว่า ยอมแล้วจ้าที่รัก อย่าลืมปิดภาชนะที่ใช้เพาะให้มิดชิดเพื่อไม่เป็นการรบกวนคู่บ่าวสาว เมื่อพระอาทิตย์ตกแล้วพ่อปลาก็จะเริ่มก่อหวอดในบริเวณที่ได้สำรวจไว้แล้วตอนหัวค่ำ พอรุ่งเช้าปลาทั้งสองก็จะจูงมือกันเข้าใต้หวอดทำการผสมพันธุ์กัน การผสมพันธุ์ของปลากัดใช้ในลักษณะตัวผู้งอตัวบริเวณท้องของตัวเมียเพื่อปล่อยน้ำเชื้อส่วนตัวเมียก็ปล่อยไข่ออกมาเพื่อทำการผสม เรียกการทำเช่นนี้ว่าการรัดปลา ไข่เมื่อถูกปล่อยออกมาและผสมกับน้ำเชื้อแล้วจะจมลงสู่ก้นภาชนะ พ่อปลาก็จะตามลงไปอมไข่เหล่านั้นแล้วไปพ่นไว้ในหวอด ขั้นตอนนี้บางครั้งเราอาจจะเห็นแม่ปลาช่วยอมไข่ไปพ่นไว้ในหวอดด้วย ในช่วงนี้เรียกว่าช่วงแห่งความรัก จะไม่มีการทำร้ายกัน หรือทำลายไข่แต่อย่างไร ปลาทั้งสองจะทำการผสมพันธุ์กันไปจนกระทั่งเสร็จ ครั้งหนึ่งอาจกินเวลานานขึ้นอยู่กับจำนวนไข่ และน้ำเชื้อของพ่อพันธุ์ อาจใช้เวลาถึง 4 ชั่วโมงเลยทีเดียว เมื่อเสร็จสิ้นขั้นตอนการผสมพันธุ์แล้ว แม่ปลาที่ผ่านการรัดจะรู้สึกหิวและอ่อนเพลีย และในขณะนั้นก็มีแต่เพียงไข่ของตัวเองที่ได้ปล่อยออกมาเท่านั้น แต่ไม่ต้องห่วงครับปลาพ่อปลาคอยดูแลอยู่อย่างใกล้ชิด จะไม่มีผู้ใดมาทำอันตรายกับไข่ได้ พ่อปลาจะทำการไล่แม่ปลาออกไปให้พ้นบริเวณ เราจึงสมควรช้อนแม่ปลาออกจากภาชนะเพาะ โดยสังเกตุง่าย ๆ แม่ปลาจะอยู่ห่างจากบริเวณหวอดเรียกได้ว่าตรงกันข้ามเลยเพราะกลัวพ่อปลาทำร้าย และแล้วขั้นตอนการเพาะปลาก็เสร็จสิ้นลง ให้ปล่อยพ่อปลาดูแลไข่ในภาชนะเพาะต่อไปจนกว่าลูกปลาจะสามารถว่ายน้ำได้แข็งแรง การที่ต้องปล่อยให้พ่อปลาดูแลอยู่นั้นเพราะลูกปลาเมื่อฟักออกจากไข่ยังไม่สามารถว่ายน้ำได้ อาจร่วงลงก้นภาชนะได้ ในที่สุดก็จมน้ำตาย ลูกปลายังคงต้องอาศัยอากาศในหวอดเพื่อหายใจ เมื่อลูกปลาจมลงสู่ก้นภาชนะพ่อปลาก็จะตามลงไปอมและนำกลับไปพ่นไว้ในหวอด อีกทั้งยังคอยเติมหวอดขยายใหญ่ขึ้นตลอดเวลา ด้วยเหตุฉะนี้จึงจำเป็นต้องปล่อยพ่อปลาทิ้งไว้สักระยะหนึ่ง ข้อควรระวังอย่าเอาอะไรไปกวนไข่ในหวอดเด็ดขาด ไม่ว่าจะอยากรู้เพียงใด การกระทำเช่นนี้อาจทำให้ไข่ร่วงลงสู่ก้นภาชนะ หรือเมื่อฟักเป็นตัวแล้วอาจพิการได้ ท่านที่พึ่งเริ่มเพาะควรระวังข้อนี้ไว้ให้ดี







ปลากัดตัวเมียว่ายน้ำเข้าหา ปลากัดตัวผู้เริ่มก่อหวอด




ปลากัดทั้งคู่เข้าใต้หวอดพร้อมผสมพันธุ์ ปลากัดทั้งคู่เริ่มรัดกัน





ปลาตัวผู้อมไข่ที่รัดได้ไปพ่นในหวอด ลูกปลาที่ฟักเป็นตัว


ข้อควรคำนึงสำหรับนักเพาะปลากัด เมื่อจับปลาพ่อแม่พันธุ์ปลากัดลงในอ่างเพาะแล้วให้คอยสังเกตุ ถ้าปลาตัวผู้ไม่แสดงอาการเกี้ยวพาราสีปลาตัวเมีย และไม่ยอมก่อหวอด อาจมีส่าเหตุมาจากหลายด้านด้วยกัน เช่นปลาตัวผู้นั้นมีอายุมากเกินไป หรือมีสุขภาพไม่แข็งแรง ตามความเป็นจริงแล้วปลากัดตัวผู้ที่มีความพร้อมจะก่อหวอดและรู้หน้าที่ของตัวเอง ถ้าไม่เป็นเช่นนั้นควรนำปลาตัวผู้นั้นออก นำไปพักและคอยดูแลเพื่อที่จะนำไปผสมใหม่อีกครั้ง ปลากัดตัวผู้ที่ไม่เคยนำมาผสมพันธุ์เลย ไม่มีประสบการณ์ในการผสมพันธุ์ หรือมีอายุน้อยเกินไป อาจทำให้ปลาตัวผู้นั้นไล่กัดปลาตัวเมีย โดยไม่คิดผสมพันธุ์ เราจึงต้องใช้ปลาตัวเมียที่ได้ผ่านการผสมพันธุ์มาแล้วจับคู่แทน ปลากัดตัวผู้ที่มีนิสัยก้าวร้าวเกินไป ไม่เหมาะสมที่จะนำมาเป็นพ่อพันธุ์ การที่ปลาทั้งสองจะผสมพันธุ์กันได้นั้นจะต้องอาศัยความร่วมมือกันอย่างดี ปลากัดตัวผู้ไล่กัดตัวเมียก่อนผสมพันธุ์เป็นเรื่องปกติ และจะหยุดลงเมื่อปลาตัวผู้ได้ก่อหวอดเสร็จเรียบร้อย และฝ่ายตัวเมียก็จะว่ายน้ำในท่าหัวดิ่งเข้าหาอยู่ใต้หวอด ไม่มีการตอบโต้เมื่อตัวผู้แว้งเข้าใส่ ปลากัดตัวเมียที่ไล่กัดปลาตัวผู้ มีสาเหตุมาจากปลาตัวเมียนั้นมีนิสัยที่ก้าวร้าวไม่เหมาะสมที่จะนำมาเป็นแม่พันธุ์อีกเช่นกัน ปลาตัวเมียที่ตัวใหญ่กว่าตัวผู้ หรือไม่พร้อมที่จะผสมพันธุ์ อาจไม่ยอมผสมพันธุ์และไล่กัดปลาตัวผู้ หรือถูกตัวผู้ไล่กัดเพื่อให้ยอมผสมพันธุ์ เราควรแยกปลาออกจากกัน เพื่อป้องกันการสูญเสีย ถ้าต้องการปลาทั้งคู่นั้นเป็นพ่อแม่พันธ์ควรเทียบคู่ให้นานขึ้น หรือเปลี่ยนจับคู่ให้ใหม่แทน การเพาะพันธุ์ปลากัดจึงควรทำตามขั้นตอน โดยผ่านการเทียบคู่จนกระทั่งสุกงอม ปลากัดที่มีปฏิกริยาต่อกันเวลาเทียบคู่จะสังเกตุได้ว่าปลาทั้งคู่จะว่ายเข้าหากัน ปลาตัวผู้แสดงอาการคึกคักในไม่ช้าก็ก่อหวอด ถ้าไม่ก่อหวอดหรือไม่คึกคักควรเปลี่ยนปลาตัวผู้นั้นเสีย ดังนั้นผู้ที่จะทำการเพาะพันธุ์ปลากัดจึงควรคำนึงถึงพ่อแม่พันธุ์ในด้านความเหมาะสมเป็นข้อหลัก และความพร้อมในการผสมพันธ์ ไม่ต้องรีบร้อนผสมพันธุ์ ปลากัดเป็นปลาที่เพาะพันธุ์ง่ายแค่ข้ามคืนเราก็จะได้ไข่ปลาที่พร้อมจะเป็นลูกปลา นับร้อยนับพัน จึงควรพิถีพิถันในขั้นตอนนี้อย่างจริงจัง เพื่อไม่ไห้ผิดพลาด เพราะเมื่อไม่สำเร็จอาจท้อถอย เสียทั้งเวลาหรืออาจหมดกำลังใจ
ที่มา : khonrakpla.com

Wednesday, July 9, 2008

ปลากัดหม้อ


ปลากัดหม้อ

ปลาลูกหม้อหรือปลาหม้อนั้นเป็นปลากัดที่ถูกนำมาคัดสายพันธ ุ์โดยนักพันธุศาสตร์สมัครเล่นชาวไทยที่มุ่งหวังจะได้ปลาที่กัดเก่ง จากบันทึกคำบอกเล่า ของนักเลงปลาเก่าอย่าง หลวงอัมรินทร์สมบัติ (ครอบสุวรรณนคร) คาดว่า ปลาลูกหม้อน่าจะถูกพัฒนาขึ้นมาในช่วงประมาณปี 2430 ซึ่งท่านจำได้ว่า ก่อนหน้านั้น ยังต้องจับปลาป่ามากัดพนันกันอยู่ต่อมานักเลงปลาบางคนก็เริ่มใช้วิธีไปขุดล้วงเอาปลาป่าที่อาศัยอยู่ตามรูปูในหน้าแล้งมาขังไว้ในโอ่ง มาเลี้ยงดูให้อาหาร พอถึงฤดูฝนก็นำมากัดพนันกับปลาป่า ซึ่งส่วนใหญ่จะสู้ปลาขุดที่เลี้ยงมาไม่ได้ การเล่นปลาขุดนี้ยังนิยมเล่นกันมาถึงประมาณ ปี 2496 หลังจากนั้นก็มีการเก็บปลาที่กัดเก่งเลี้ยงไว้ข้ามปี และหาปลาป่าตัวเมียมาผสม ลูกปลาที่ได้จากการผสมในชุดแรกจะเรียกว่า "ปลาสังกะสี" ซึ่งสัณนิษฐานว่าน่าจะได้ชื่อมาจากผิวหนังที่หนาแกร่ง ไม่ถูกกัดขาดง่ายเหมือนปลาป่าและปลาขุด ปลาสังกะสีมักจะตัวใหญ่ สีสันลักษณะต่างจากปลาป่าและปลาขุด นักเลงปลาป่าจึงมักไม่ยอมกัดพนันด้วย จึงต้องกัดแข่งขันระหว่างปลาสังกะสีด้วยกันเอง ปลาสังกะสีที่เก่ง อดทน สวยงามก็จะถูกคัดไว้เป็นพ่อแม่พันธุ์ เมื่อผสมออกมา ก็จะได้ปลาลักษณะรูปพรรณสีสันที่สวยงามแปลกออกไปตามอัธยาศัยของผู้ผสมพร้อม ความเก่ง และอดทนในการกัดจะว่าไปแล้วพันธุศาสตร์สัตว์น้ำของเมืองไทยนับได้ว่าเริ่มมาตั้งแต่ยุคนี้

คำว่า "ลูกหม้อ" นั้นมาจากการใช้หม้อดินในการเพาะและอนุบาลปลากัด ในระยะแรก ๆ ปลาลูกหม้อจึงเป็นปลาสายพันธุ์ที่สร้างมาแท้ ๆ กับมือของนักเลงปลาทั้งหลาย เพื่อให้ได้ลักษณะที่ดีสำหรับการต่อสู้และให้มีสีสันที่สวยงามตามความพอใจของเจ้าของ ปลากัดลูกหม้อจึงมีรูปร่าง หนาใหญ่กว่าปลากัดชนิดอื่น สีสันสวยงามดูแล้วน่าเกรงขามกว่าพันธุ์อื่น ๆ สีส่วนมากจะเป็นสีน้ำเงิน แดง เทา เขียว คราม หรือแดงปนน้ำเงิน ใน การเล่นปลากัดในยุคก่อนนั้นปลาลูกหม้อจะมีสองประเภทคือ "ลูกแท้" และ "ลูกสับ" ลูกแท้ หมายถึง ลูกปลาที่เกิดจากพ่อแม่ ่ที่มาจากครอกเดียวกัน และลูกสับหมายถึงลูกปลาที่เกิดจากพ่อแม่ที่มาจากคนละครอก ปลากัดลูกหม้อนี้ถ้าเอาไปผสมกลับกับปลาป่าลูกปลาก็จะ เรียกว่า "สังกะสี" เช่นเดียวกัน ซึ่งปลาสังกะสีซึ่งเกิดจากการผสมกลับแบบนี้ส่วนมากก็จะมีชั้นเชิงและน้ำอดน้ำทนในการกัดสู้ลูกหม้อไม่ได้ "ลูกหม้อ" จึงเป็นสุดยอดของปลากัดสำหรับนักเลงปลาทั้งหลาย ในระยะหลัง ๆ ก็อาจมีการพูดถึงสายพันธุ์ "มาเลย์" หรือ "สิงคโปร์" ซึ่งว่ากันว่ากัดเก่งหนังเหนียวแต่โดยแท้จริงก็คือปลาลูกหม้อ นั่นเอง เพียงแต่ว่าในระยะต่อมามีการประยุกต์ใช้กลวิธีการหมักปลาด้วยสมุนไพร ใบไม้ ว่าน ดินจอมปลวก และอื่น ๆ เพื่อช่วยเคลือบเกล็ดปลา ที่เชื่อกันว่าจะทำให้เกล็ดแข็งกัดเข้าได้ยาก ควบคู่ไปกับการคัดเลือกพันธุ์ ถึงอย่างไร ลูกหม้อก็คือลูกหม้อที่เราชาวไทยพัฒนามาแต่โบราณแม้จะถูกนำไปพัฒนาสายพันธุ์ในที่อื่นก็ยังคงเป็นลูกหม้อไทยตัวเดิมนั่นเอง
ลีลาการต่อสู้ของปลากัด

ปลากัดป่านั้นเมื่อนำมากัดกัน จะมีน้ำอดน้ำทนไม่มากนัก ระยะเวลาการต่อสู้ของปลาพวกนี้ส่วนใหญ่ไม่เกิน 15-20 นาที แต่ลูกหม้อที่มีการคัด สายพันธุ์มาอย่างต่อเนื่องสามารถต่อสู้ได้นานนับชั่วโมง บางคู่อาจกัดกันข้ามวันข้ามคืน แต่โดยเฉลี่ยแล้วใช้เวลาอย่างต่ำประมาณ 3 ชั่วโมง ปลากัด สามารถต่อสู้อย่างต่อเนื่องได้นาน ๆ โดยไม่ต้องพักยก มีคั่นเพียงการโผล่ขึ้นมาฮุบอากาศที่ผิวน้ำในระยะเวลาสั้น ๆ เมื่ออยู่ในสภาพเตรียมต่อสู้ปลา จะมีการแผ่ครีบของเหงือก และเปล่งสีเต็มที่ หันหัวไปในทางเดียวกันโดยตัวใดตัวหนึ่งอยู่เยื้องไปทางด้านหลังเล็กน้อย ปลาจะอยู่ในท่านี้ในระยะ เวลาสั้น ๆ เป็นวินาทีหรือหลายนาที แล้วจะเริ่มเข้าโจมตีกัดอย่างรวดเร็ว อาวุธหลักที่ใช้ทำร้ายศัตรูคือฟัน การโจมตีจะต่อเนื่องรุนแรง โดยมีระยะ เวลาพักที่ปลาแยกตัวออกมาอยู่ในท่าเตรียมพร้อมในระยะเวลาสั้น ๆ แล้วเข้าต่อสู้กันอีก จุดหลักสำหรับการโจมตีคือครีบก้น ครีบหาง และครีบหลัง ส่วนครีบอกและตะเกียบนั้น มักไม่ได้รับความสนใจมากนัก เมื่อการต่อสู้ผ่านไปเรื่อย ๆ ครีบเดี่ยวเหล่านี้จะถูกกัดขาดวิ่นไปเรื่อย ๆ จนบางครั้งเหลือ แต่โคนของก้านครีบ ซึ่งจะทำให้ประสิทธิภาพในการว่ายน้ำและควบคุมทิศทางลดลง จุดอื่นที่เป็นเป้าโจมตีของปลาคือด้านข้างลำตัว การกัดบริเวณ นี้อย่างรวดเร็วอาจทำให้เกล็ดร่วงหลุด แต่ส่วนใหญ่ไม่ค่อยทำให้ถึงกับเป็นแผลบาดเจ็บ ยกเว้นบริเวณเหงือที่บางครั้งอาจถูกกัดขาดเป็นแผล ใน การพัฒนาสายพันธุ์ในระยะหลัง ๆ ทำให้ได้ปลากัดที่ฉลาดรู้จักที่กัดเพื่อเอาชนะคู่ต่อสู้ สามารถกัดเฉพาะที่ที่เป็นจุดสำคัญ ๆ และกัดได้แม่นยำและ หนักหน่วง

เมื่อปลาถูกโจมตีซึ่ง ๆ หน้าไม่สามารถหลบหลีกได้ทัน ปลากัดจะประสานปากเข้ากัดรับ หันส่วนหัวเข้ากัดกันล็อกคขากรรไกรแน่น ท่านี้นักเลงปลา เรียกว่า "ติดบิด" ปลาจะปล่อยตัวตามยาวทำให้ส่วนที่เหลือของลำตัวหมุนบิดเป็นเกลียว จนจมลงพื้นและคงอยู่ท่านี้ประมาณ 10-20 วินาที จึงแยกจากกันเพื่อขึ้นสู่ผิวน้ำเพื่อฮุบอากาศแล้วกลับมาต่อสู้กันใหม่ในท่าเดิม จริยธรรมของนักเลงแสดงให้เห็นในช่วงนี้ที่ไม่เคยมีปลาตัวไหนถูก ลอบกัดขณะขึ้นฮุบอากาศในการต่อสู้บางครั้งอาจจะติดบิดถึง 20 ครั้งจึงจะมีการแพ้การชนะ

การแพ้ชนะของปลากัดส่วนใหญ่เกิดจากการยอมแพ้เพราะเหนื่อยและสูญเสียความอดทนมากกว่าถูกพ่ายแพ้จากการบาดเจ็บ เมื่อปลากัดยอมแพ้ ไม่ต้องการต่อสู้จะว่ายน้ำหนี หรือหันด้านหางเข้าหาเมื่อคู่ต่อสู้เข้าโจมตีก็ถึงเวลาที่จะต้องจ่ายเงินและหิ้วปลากลับบ้าน

นักรบใต้น้ำผู้สง่างาม ปลากัดเพชรบุรี

นักรบใต้น้ำผู้สง่างาม ปลากัดเพชรบุรี
PHETCHABURI FIGHTING FISH



ปลากัดของเราเป็นปลากัดสายกัด ที่ผ่านการคัดเลือกสายพันธุ์แล้วเป็นอย่างดี
และขอให้จงวางใจว่า ปลากัดของเราผ่านการทดสอบจากสนามจริงแล้ว ก่อนส่งถึง
มือท่าน
สนใจโทรติดต่อมา เรายินดีให้คำปรึกษา และคำแนะนำในการเลี้ยงทุกขั้นตอน
เราคนเพชรบุรีจริงใจเสมอ

ติดต่อ คุณ สุเมธ หรือ พ้ง บ้านปลากัด มือถือ 0857043706 หรือ 032413421

http://phetchaburi-fightingfish.blogspot.com