ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี

Thursday, August 21, 2008

ใบหูกวาง


หูกวาง ( Terminalia catappa Linn. ) เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ อยู่ในวงศ์ Combretaceae เช่นเดียวกับสมอไทย และ สมอพิเภก มีชื่อสามัญคือ Tropical Almond, Singapore Almond, Bengal Almond, Umbrella Tree และมีชื่ออื่นๆ ที่เรียกกันตามจังหวัดต่างๆ เช่น โคน ( นราธิวาส ) ดัดมือ ตัดมือ ( ตรัง ) ตาป่ง ( พิษณุโลก และ สตูล ) ตาแป่ห์ ( มาเลย์ - นราธิวาส ) หลุมปัง ( สุราษฎร์ธานี ) และ จัดเป็นพันธ์ไม้ชายหาด พบกระจัดกระจายตามชายฝั่ง ปลูกได้ทั่วไป ตั้งแต่ ประเทศอินเดีย ถึง ตอนเหนือของทวีปออสเตรเลีย ปัจจุบัน ได้มีการนำต้นหูกวางมาปลูกทั่วไปในพื้นที่เขตร้อนโดยเฉพาะ ทวีปเอเชีย
ประเทศไทยสามารถพบต้นหูกวางได้ทั่วไป ตามชายฝั่งทะเลตะวันออกเฉียงใต้ โดยพบมากที่จังหวัดตราดและชลบุรี ภาคตะวันตกเฉียงใต้ พบมากที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และกาญจนบุรี ส่วนภาคใต้พบมากที่จังหวัดนราธิวาส ตรัง และ สุราษฎ์ธานี หูกวางเป็นต้นไม้ขนาดกลางสูง 8-28 เมตร เรือนยอดค่อนข้างกลมหรือทรงรูปพีรามิดหนาทึบ เปลือกต้นสีเทาแตกเป็นร่องตื้น แตกกิ่งในแนวราบเป็นชั้นๆ เมื่อโตเต็มที่ กิ่งปลายจะลู่ลง โตเร็ว ชอบแดดจัด ทนน้ำท่วมขัง ระบบรากแข้งแรง ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเวียนสลับถี่ตอนปลายกิ่ง โคนใบสอบแคบ แผ่นใบหนา มีขนปุย ขอบใบเรียบ หูกวางจะผลัดใบในฤดูหนาว ตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายน
ดอกออกเป็นช่อแบบติดดอกสลับตามซอกใบ ดอกสีขาวนวลมีขนาดเล็ก ออกดอกเดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายน และเดือนสิงหาคมถึงตุลาคม ผลเป็นผลเดี่ยวรูปไข่ หรือ รูปรีป้อมและแบนเล็กน้อย สีเขียว ในแต่ละผลจะมี 1 เมล็ด ผลแก่จะมีสีเหลืองหรือสีเหลืองอมเขียว มีกลิ่นหอม เมื่อแห้งจะมีสีดำคล้ำ ผลจะแก่ในเดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายน และประมาณเดือน พฤษภาคมถึงมิถุนายน
องค์ประกอบของใบหูกวาง มีทั้งพวกที่เป็นสารให้สีและแทนนิน ซึ่งเป็นสารที่มีรสฝาด และมีองค์ประกอบทางเคมีที่ค่อนข้างซับซ้อน ละลายน้ำได้ มักเป็นของเหลวที่ขับออกมาจากเปลือก ลำต้นและส่วนอื่นๆ ใบหูกวางมีสารแทนนินที่สลายตัวในน้ำ รวมทั้งสิ้น 12 ชนิด และ มีกรดต่างๆ หลาบชนิด ซึ่งแทนนินเป็นสารชนิดหนึ่งที่น่าสนใจ เนื่องจากบางชนิดสามารถลดอาการหอบหืด ลดความดันโลหิตสูง ต่อต้านอนุมูลอิสระ ทำให้เกิดฤทธิ์สมานและยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียได้
ต้นหูกวางยังจัดเป็นไม้เอนกประสงค์ เปลือกไม้สามารถนำมาทำเป็นยาฝาดสมานแผล แก้ท้องเสียและแก้ซางในเด็ก ใบมีคุณสมบัติช่วยขับเหงื่อ ใช้รักษาอาการปวดตามข้อ ต้มเคี่ยว รับประทานเป็นยาถ่ายพยาธิ และผลิตสีย้อมผ้า ซึ่งช่วยให้สีติดแน่นทนทาน เนื่องจากมีคุณสมบัติในการช่วยให้โปรตีนตกตะกอน และสามารถจับกับไอออนของโลหะได้ดี รวมทั้งรากและผลดิบใช้ในการฟอกย้อมหนัง และผลิตสีดำ เพื่อใช้ในการย้อมผ้าฝ้าย เสื่อและทำหมึก เนื้อไม้มีคุณภาพดี ใช้ก่อสร้างบ้านเรือนและต่อเรือ เมล็ดกินได้มีรสชาติดี ในเมล็ดมีน้ำมันใส ไม่มีกลิ่น มีลักษณะคล้ายน้ำมันจากอัลมอนด์ เมื่อนำไปผสมกับใบหูกวางสามารถใช้รักษาโรคเรื้อน โรคผิวหนัง และโรคติดต่อทางผิวหนังอื่นๆ เนื้อของผลกินได้ แต่มีใยค่อนข้างมาก มีกลิ่นหอมน่ารับประทาน นอกจากนี้ใบหูกวางยังสามารถใช้ในการเลี้ยงปลากัด เมื่อปลากัดเป็นแผลหรือแสดงอาการผิดปกติ แทนการใช้ยาสังเคราะห์เคมี เพื่อรักษาโรค
อาจารย์ ดร.วัชริยา ภูรีวิโรจน์ จากภาควิชาสัตววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ และ ผศ.ดร.นนทวิทย์ อารีย์ชน จากภาควิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดใบหูกวางพบว่า ใบหูกวางมีคุณสมบัติในการต้านทานแบคทีเรีย เนื่องจากองค์ประกอบของใบหูกวางมีแทนนินและกรดหลายชนิด ดังนั้น เมื่อตรวจสอบคุณภาพของน้ำพบว่าน้ำที่มีสารสกัดใบหูกวางจะมีฤทธิ์เป็นกรดสูงขึ้น การที่น้ำมีสภาพเป็นกรดอาจเป็นสาเหตุส่วนหนึ่งที่ทำให้สารสกัดหูกวางมีผลในการยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย สำหรับอัตราส่วน ของการใช้ใบหูกวางที่เหมาะสม และมีประสิทธิภาพในการต้านทานแบคทีเรียนั้น ควรใช้ใบหูกวางประมาณ 40 ใบ ตากแห้งและบดให้ละเอียด ละลายน้ำ 2 ลิตร หมักทิ้งไว้ในภาชนะ ฝาปิด 1-2 คืน หลังจากนั้นกรองเอาส่วนของน้ำมาผสมกับน้ำเลี้ยงปลา โดยใช้น้ำหมัก 1 ส่วน ต่อ น้ำเลี้ยงปลา 10 ส่วน แต่ถ้าปลามีแผล หรือในน้ำเลี้ยงปลากัดมีแบคทีเรียมาก อาจทำการผสมน้ำหมัก 1 ส่วน ต่อ น้ำเลี้ยงปลา 5 ส่วนแทน ก็จะได้ยารักษาเจ้าปลากัดตัวน้อยๆ ของเรา โดยที่ไม่ต้องพึ่งสารสังเคราะห์เคมี
ที่มา : ku.ac.th/e-magazine

การเลี้ยงปลากัดในขวด


ปลากัดเมื่อโตได้ขนาด ผู้เลี้ยงจะคัดแยกตัวเมียและตัวผู้ออกจากกัน ตัวผู้จะนำไปเลี้ยงในขวดขวดละ1 ตัว ขวดที่นิยมใช้คือขวดสุราแบน ส่วนตัวเมียหลังจากคัดไว้ทำพันธุ์แล้วจะขายที่เหลือไปในราคาถูก ปลากัดที่เลี้ยงในขวดต้องให้อาหารเช้าเย็น เปลี่ยนน้ำทุก 3 วันจะทำให้ปลาโตเร็ว การเลี้ยงใช้เวลาประมาณ 30-40 วันก็ขายได้ ปลากัดที่เลี้ยงในขวดจะต้องให้อาหารให้อิ่มมิฉะนั้นปลาอาจจะกัดหางตัวเอง โดยเฉพาะปลากัดจีน ทุกๆเดือนหรือสองเดือน ควรล้างขวดที่เลี้ยงให้สะอาดเพื่อป้องกันการเกิดโรคเนื่องจากการสะสมของของเสียต่างๆ โดยย้ายปลากัดไปเลี้ยงในขวดใหม่ที่เตรียมไว้

ที่มา : il.mahidol

วิธีการเพาะเลี้ยงลูกน้ำเพื่อธุรกิจ และการส่งออก


วิธีการเพาะเลี้ยงลูกน้ำเพื่อธุรกิจและการส่งออกลูกน้ำ เลี้ยงอย่างไร ให้เป็นเงินเป็นทองในน้ำมีปลา ในนามีข้าว ในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง บรรยายให้เห็นภาพความอุดมสมบูรณ์ในอดีตของสยามประเทศ ซึ่งปัจจุบันเป็นไปได้ยากที่จะมองหาท้องนา แต่สำหรับทรัพยากรทางน้ำอย่างปลานั้นยังมีให้เห็นดาษดื่นและหลากหลาย โดยเฉพาะปลาสวยงาม ประเทศไทยถือเป็นแหล่งปลาสวยงามที่มีจำนวนหลากหลายมากกว่า 300 ชนิดจากผลการสำรวจโดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยที่ผ่านมาพบว่าประเทศไทยส่งออกปลาสวยงามมูลค่าปีละประมาณ 1,000 ล้านบาท นอกจากนี้กรมประมงยังประมาณการว่ามีผู้เลี้ยงปลาสวยงามในประเทศ 350,000 คน และมีจำนวนร้านค้าปลาสวยงามทั่วประเทศประมาณ 250 ร้านในกระแสความนิยมเลี้ยงปลาสวยงามที่มีแต่จะทวีจำนวนขึ้นทุกปี กลายเป็นช่องทางของธุรกิจ "เพาะเลี้ยงลูกน้ำ" ที่ทำรายได้เพิ่มขึ้นตามธุรกิจเลี้ยงปลาเป็นเงาตามตัว ถึงขั้นทำกันเป็นล่ำเป็นสันส่งออกต่างประเทศแปลงมูลไก่ เป็นลูกน้ำไกลออกไปจากบ้านเรือนของชาวบ้าน ถนนคอนกรีตค่อยๆเปลี่ยนเป็นทางดินลูกรัง ท้องทุ่งนาเขียวขจีเต็มไปด้วยนกกระยางสีขาว สองข้างทางเป็นที่ตั้งฟาร์มของเกษตรกรเรียงรายห่างกันออกไป รวมถึง "ฟาร์มเลี้ยงไก่เพื่อผลิตลูกน้ำและไรแดง" บนเนื้อที่ 20 ไร่ ในเขตตำบลสามควายเผือก อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม ที่นี่นอกจาก "ไข่" ผลผลิตที่จะได้จากไก่แล้ว มูลไก่ยังก่อให้เกิด "ลูกน้ำ" ผลพลอยได้นำมาซึ่งรายได้งดงามจรินทร์ อยู่ญาติมาก เกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ ปี 2548 ดำเนินกิจการเจ้าของฟาร์มจรินทร์พรเป็นเวลา 12 ปี เล่าถึงฟาร์มลูกน้ำที่เริ่มต้นจากการเพาะเลี้ยงปลาสวยงามว่า"ช่วงเลี้ยงปลาใหม่ๆ ยังไม่มีเกษตรกรเลี้ยงเยอะ อาหารจากแหล่งธรรมชาติค่อนข้างมาก พอเลี้ยงปลาสวยงามแล้วประสบความสำเร็จก็มีเกษตรกรใกล้เคียงหันมาเลี้ยงกันเยอะขึ้น อาหารจากแหล่งธรรมชาติเริ่มหมดไป ผมเอาไก่มาเลี้ยง เก็บไข่ไว้กินและทำเป็นอาหารปลา ใต้กรงไก่มีรองกรงที่ไม่ได้ใช้อยู่ พอไก่ขี้ออกมา เกิดเป็นลูกน้ำขึ้น จุดประกายให้ทำลูกน้ำเป็นอาหารปลา"จากการเริ่มต้นเพาะเลี้ยงลูกน้ำครั้งแรกด้วยจำนวนไก่ 2,000 กว่าตัวได้ปริมาณลูกน้ำไม่มาก "ไม่รู้ว่าต้องใช้ความเข้มข้นของน้ำเท่าไร ความเจือจางของน้ำเท่าไร ต้องใช้ไก่กี่ตัว คิดว่าความเข้มข้นของน้ำไม่พอ จึงเพิ่มจำนวนไก่ขึ้นมา คราวนี้ความเข้มข้นของน้ำมากเกิน ขี้ไก่ทำให้เกิดแก๊สแอมโมเนีย ได้ลูกน้ำนิดๆหน่อยๆ ส่วนใหญ่ตาย จึงแบ่งไก่ออก 25% ตกเฉลี่ยตารางเมตรละ 6 ตัว ออกมาได้ผลค่อนข้างดี ความเข้มข้นและความเจือจางสมดุลกัน เริ่มได้ผลจึงนำเอาผ้ามาคลุมให้มืด"อาหารลูกน้ำ จากภูมิปัญญาไทยใต้เล้าไก่ไข่จำนวนหมื่นกว่าตัวถูกขุดให้มีความลึก 4 เมตร กว้าง 3 เมตร 30 เซนติเมตร ส่วนความยาวนั้น ยิ่งยาวยิ่งเป็นการเพิ่มพื้นที่ให้ลูกน้ำมีจำนวนมาก อาหารที่ไก่ไข่ได้ทำให้มูลไก่ที่ปล่อยออกมาเบาลอยน้ำ เหมาะกับธรรมชาติของลูกน้ำที่ลอยตัวอยู่ในน้ำ ทำให้กินง่าย กลายเป็นอาหารอันโอชะสำหรับลูกน้ำ สำหรับอาหารของลูกน้ำ เกษตรกรบางคนใช้วิธีนำเอาหญ้าแห้ง ข้าวโพดแห้งหรือขี้หมูหมักทิ้งไว้ 10-15 วัน หรืออีกวิธีโดยการนำเอาซังขนุนและหัวปลาสดใส่ถุงพลาสติกทิ้งไว้ในบ่อ บ้างนำลูกตาลสุกมายีผสมปลายข้าวแล้วหมักใส่ไว้ในโอ่ง โดยใช้เวลาประมาณ 1 อาทิตย์ ก็สามารถทำให้เกิดลูกน้ำขึ้นมาเต็มได้เช่นกัน บ้างนำปลาป่น รำ ขี้หมู หรือขี้ไก่ผสมรวมกันละลายในน้ำแล้วสาดลงไปในร่องสวน บ้างใช้อามิหรือกากผงชูรส หมักรวมกับขี้หมูนำมาใส่ไว้ในโอ่งไม่เกิน 7 วันจะมีลูกไรเกิดขึ้นเต็มโอ่งส่วนจรินทร์ เขาใช้หญ้าขนใส่ลงไปในบ่อเพื่อให้เป็นที่วางไข่ของยุง ทั้งนี้ หญ้าขนที่ใช้ต้องนำไปตากแดด 3-4 ครั้ง โดยไม่ปล่อยให้หญ้าขนแห้งเกิน เพราะจะไม่ลอยน้ำ และเมื่อถูกน้ำไม่นานก็จะกรอบและหักจมน้ำ จึงต้องตากหมาดๆเพื่อให้ลอยน้ำเป็นที่พักผสมพันธุ์ วางไข่ และที่ตายของยุง นอกจากนี้ยังสร้างบรรยากาศภายในให้ค่อนข้างมืด โดยการปิดล้อมโรงเรือนเลี้ยงไก่ด้วยซาแรน ตาข่ายสีดำ"ยุงที่วางไข่มาจากแหล่งธรรมชาติ เป็นยุงธรรมดา ภาษาชาวบ้านเรียกว่ายุงรำคาญยุงลาย ยุงก้นป่อง ชอบวางไข่ในน้ำใสสะอาด น้ำฝน อีกอย่างยุงเคยอยู่บ่อไหนก็จะอยู่บ่อนั้น วางไข่เยอะมาก ถ้าจะไปไข่ในบ่ออื่นก็มีบ้างนิดหน่อย มักไม่บินไปที่อื่น เหมือนปลาหน้าวัด ตรงไหนมีอาหารสมบูรณ์ มีแหล่งเจริญเติบโต สืบพันธุ์ ก็จะไม่ไปอยู่ที่อื่น ส่วนลูกน้ำถึงกำหนดต้องรีบตักไม่ฉะนั้นจะกลายเป็นยุงหมด จำนวนที่เก็บไว้เป็นยุงแค่พอทำพันธุ์" จรินทร์ไขข้อกังขาเรื่องของลูกน้ำที่จะกลายเป็นยุงเกษตรกรหนุ่มเล่าถึงขั้นตอนต่อไปว่า "ไม่ต้องดูแลมาก ปล่อยหญ้าแห้งทิ้งไว้ 3 วัน ยุงจะวางไข่คืนแรกประมาณ 20% คืนที่ 2 และ 3 วางไข่ 40% คืนที่ 4 ไม่วางไข่แล้ว ประมาณ 40 ชั่วโมงยุงที่วางไข่ช่วงแรกแตกจากฝักไข่เป็นตัว จากนั้นจะเติมน้ำ10เซนติเมตรให้หญ้าแฉะ เพิ่มความเข้มข้นเพื่อให้ยุงวางไข่ แต่ถ้าใส่น้ำเต็มบ่อทำให้ความเข้มข้นช้า เป็นการเพิ่มวันผลิตขึ้นมา วันที่ 4 เติมน้ำขึ้นมาอีก 20 เซนติเมตร วันที่ 5 และ 6 เติมอีก 10 เซนติเมตร วันที่ 7 ยุง 20% แรกจะกลายเป็นไอ้โม่ง ตกกลางคืนจะเริ่มเป็นยุง ตรงนี้เก็บไว้เป็นพันธุ์ของรุ่นต่อไป ส่วน 80% ที่เหลือจะทำการช้อนขึ้นมาจำหน่าย หรือแพกส่งนอก"7 วัน...ได้เวลาช้อนวงจรชีวิตของยุงมี 4 ระยะ โดยทั่วไปยุงวางไข่ครั้งละประมาณ 100 ฟองหนาเป็นแพลอยอยู่ผิวน้ำ ถือเป็นระยะแรก ไข่จะฟักตัวอยู่ประมาณ 2 วัน จากนั้นก็จะแตกตัวออกมาเป็นลูกน้ำในระยะที่ 2 และมีขนาดโตขึ้นๆเมื่อโตเต็มที่รูปร่างจะเปลี่ยนไป บางครั้งเรียกว่าเป็นการลอกคราบเพื่อเข้าดักแด้หรือที่เรียกว่าตัวโม่งในระยะที่ 3จากตัวโม่งเมื่อโตเต็มวัยในระยะที่ 4 ลูกน้ำจะกลายเป็นตัวยุงทุกระยะการเติบโตในวงจรชีวิตของยุงขึ้นกับสภาพแวดล้อม ซึ่งได้แก่ ลม แสง อุณหภูมิ ฝน และความชื้น หลายครั้งที่ธรรมชาติเหล่านี้เป็นปัจจัยขยายเวลาเก็บลูกน้ำออกไปจากกำหนดเดิม"อุณหภูมิปกติ 25-30 องศาเซลเซียส ไม่ร้อนไม่หนาวเกิน ถ้าต่ำกว่า 20 องศาฯ ถือว่าค่อนข้างเย็นระบบฟักไข่จะช้า แตกตัวออกมาแล้ว ลูกน้ำจะไม่ค่อยกินอาหาร อายุก็จะเพิ่มไปอีกจากเดิมเพียงอาทิตย์เดียวเพิ่มเป็น 9 วันจึงจะช้อนได้ แต่ถ้าอุณหภูมิต่ำกว่า 15 องศาฯ ระยะเวลาการเก็บเพิ่มเป็น 10 วัน"ยามใดที่ธรรมชาติแปรปรวน เช่น ลมแรง พายุเข้า ทำให้ยุงถูกเคลื่อนย้ายจากที่พักเดิมไปอยู่ที่อื่น ก่อให้เกิดความเสียหาย "ยุงหลงทางกลับไม่ถูก แม้ซาแรนก็ช่วยไม่ได้ ลูกน้ำในบ่อถูกลมพัดมากองอยู่มุมเดียว นิสัยลูกน้ำจะขึ้นน้ำต่างจากไรแดง เมื่อขึ้นน้ำไม่ได้ก็จะค่อยๆร่วงลงๆ ในที่สุดก็จะตายแทบหมดบ่อ เสียเวลาไปอีกอาทิตย์เพื่อล้างบ่อ ถ้าลูกน้ำสูญพันธุ์ก็จะต้องช้อนลูกน้ำจากแหล่งธรรมชาติ อย่างน้อยกินเวลา 2 อาทิตย์กว่าจะเข้าที่"การเพาะเลี้ยงลูกน้ำจำหน่ายจะไม่รอให้ลูกน้ำกลายเป็นยุง พอครบกำหนด 7 วัน เกษตรกรจะใช้สวิงตาถี่ไล่ช้อนลูกน้ำจนหมด จากนั้นนำมาใส่ตะกร้าล้างน้ำร่อนเอาสิ่งสกปรกออก ใช้ผ้าขาวบางรอง จนน้ำที่ค้างอยู่ระเหยออกหมด"พวกหัวโตที่ยังเป็นยุงไม่หมดมีไม่เกิน 10% จะถูกแยกออกไปเลี้ยงปลาบ่อ หรือปลาอื่นๆ นอกนั้นตัวกำลังดี พอเหมาะเลี้ยงปลาสวยงามได้เลย ลูกน้ำที่เก็บได้แต่ละครั้งหนัก 100 กิโลเศษ ขายกิโลละ 60 บาท"ขั้นต่อไปบรรจุถุงซิปขึ้นชั่ง เสร็จแล้วจะนำไปช็อตด้วยความเย็นต่อด้วยเข้าช่องฟรีซเพื่อให้แข็ง จากนั้นแพคกล่องโฟมนำไปฝากห้องเย็นรวบรวมจนกว่าจะครบจำนวนความต้องการของลูกค้า ส่งขายตลาดต่างประเทศ ลูกน้ำตายแล้วในสภาพที่สดแต่แห้ง ไม่มีน้ำ น้ำเท่าที่มีคือน้ำที่อยู่ในตัวลูกน้ำ" ขายแบบนี้ ลูกค้าซื้อไปไม่ขาดทุน ได้ลูกน้ำเยอะ เทียบกับราคาขายปลีกลูกน้ำเป็นๆ 20 บาท มีลูกน้ำนิดเดียว น้ำมากกว่า"ลูกน้ำไทย ไปไกลถึงโปแลนด์แม้จำนวนลูกน้ำที่ช้อนขึ้นมาจะมีปริมาณมาก แต่ก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด แหล่งซื้อขายลูกน้ำตามร้านขายปลา ตลาดซันเดย์ จตุจักร ซึ่งตลาดใหญ่ๆภายในประเทศ ได้แก่ นครปฐม ราชบุรี สุพรรณบุรี นนทบุรี ปทุมธานี ซึ่งเป็นเขตเลี้ยงปลาสวยงาม โดยเฉพาะนครปฐมและราชบุรีพบว่ามีการใช้ลูกน้ำจำนวนมากขณะที่ทั่วโลกมีมูลค่าการซื้อขายปลาสวยงามและพรรณไม้น้ำในแต่ละปีมากกว่า 20,000 ล้านบาท สัดส่วนลูกน้ำในตลาดโลกจึงมากตาม ประเทศนำเข้าลูกน้ำที่สำคัญได้แก่ โปแลนด์ เยอรมนี สหรัฐอเมริกา สาธารณรัฐเชค ยูโกสลาเวีย ประชาคมยุโรป มาเลเซีย จีน อินเดียและญี่ปุ่น"ประเทศใหญ่ๆนำเข้าที 8-10 ตัน โปแลนด์ใช้เยอะ สั่งต่อเนื่องทั้งปี ในบ้านเราเกษตรกรข้างเคียงผู้เลี้ยงปลากัดจีนหรือปลาสวยงามถึงเวลาจะเข้ามาซื้อ"สุชาติ สงวนพันธุ์ นักวิชาการระดับ 8 ภาควิชาสัตวบาล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน เป็นอีกผู้หนึ่งที่เคยทำการเพาะเลี้ยงลูกน้ำเล่ากลไกตลาดลูกน้ำให้ฟังว่า มีการรับซื้อลูกน้ำแบบแช่แข็ง สด และแบบแห้ง"แบบแห้งไม่ค่อยนิยม ขั้นตอนและน้ำหนักสูญเสียไปเยอะ 80-90% ตลาดในบ้านเราต้องการทั้งลูกน้ำเป็นๆ และแช่แข็ง ถ้าเป็นลูกน้ำสด 1-2 วันกลายเป็นยุงพัฒนาเร็วมาก ถ้าเป็นแช่แข็งได้ลูกน้ำอย่างเดียวไม่มีน้ำ เป็นข้อดีในการรักษา ความต้องการของตลาดบ้านเรายังน้อยเทียบตลาดต่างประเทศ ลูกน้ำต่างประเทศก็มี แต่ลูกน้ำบ้านเราได้รับความนิยม เพราะมีคุณภาพดี สะอาด ขนาดพอเหมาะไม่เล็กไม่โตจนเกินไป แต่ถ้าหัวโตตลาดไม่ต้องการ ปลาไม่ชอบกิน"แนวโน้มธุรกิจเพาะลูกน้ำแม้ยุงจะเป็นอาหารสำหรับลูกน้ำ ขณะเดียวกันยุงยังเป็นพาหะของโรคภัยไข้เจ็บ ด้วยเหตุนี้ทำให้หลายคนที่มีฟาร์มติดชุมชนจำต้องเลิกกิจการไป "บางรายผลิตในที่ชุมชน มีกลิ่นเหม็นรบกวน หรืออาจจะมียุงไปรบกวน ส่วนใหญ่คิดว่ายุงจะไปรบกวน สร้างปัญหา สำหรับฟาร์มผมตั้งอยู่กลางทุ่ง ไม่สร้างความเดือดร้อนให้บ้านข้างเคียง อีกอย่างทางปศุสัตว์มีกฎระเบียบเข้มงวดในการนำเข้าไก่" เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงลูกน้ำแสดงความเห็นสุชาติ นักวิชาการเกษตรซึ่งเคยทำธุรกิจเพาะลูกน้ำมองว่า "เป็นผลพลอยได้เม็ดเงินมหาศาล ลูกน้ำที่ได้เกือบ 1 ตันต่อเดือน ต้นทุนไม่มี มีเพียงค่าแรงในการช้อนและบรรจุถุง แต่ช่วงหลังๆราคาลูกน้ำค่อนข้างแพง เจ้าของปลาหันไปใช้อาหารปลาสำเร็จรูป หรือไรแดงราคาถูกกว่ากิโลละ 10-20 บาท ทำให้การใช้ลูกน้ำน้อยลงแต่พ่อแม่พันธุ์เยอะอยู่"จรินทร์ เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงลูกน้ำมองแนวโน้มของธุรกิจเพาะลูกน้ำว่า "สร้างลูกน้ำ เลี้ยงไก่ ได้ผลประโยชน์มหาศาล ปกติเลี้ยงปลาสวยงามอยู่แล้ว ทำตรงนี้เพื่อนำลูกน้ำไปใช้เลี้ยงปลาสวยงามในฟาร์ม ที่เหลือส่งออก น้ำจากบ่อลูกน้ำนำไปเพาะไรแดงโดยไม่ต้องลงทุนอะไร หญ้าขนให้ยุงลงมาวางไข่สามารถนำไปเลี้ยงปลาสลิดต่อได้ ของบางอย่างที่คนอื่นมองว่านำไปทิ้ง สามารถวนกลับมาใช้ได้อีกครั้ง ไม่มีทิ้งเลย ทำหมุนเวียนและทำรายได้ทุกอย่าง""ผมว่าเป็นธุรกิจที่ยั่งยืน ตั้งแต่ไหนแต่ไรมาแล้วที่ลูกน้ำคู่กับปลากัด ปลาสวยงาม ผมทำธุรกิจปลาสวยงามมา 21 ปี จนปี 2540 เศรษฐกิจล้มเหลวค่าเงินเปลี่ยนแปลงมหาศาล แต่ระบบการส่งออกปลาสวยงามไม่ตกต่ำ กลับดีขึ้นทุกปีๆไม่เพียงพอต่อความต้องการ ด้านอาหารก็มีความต้องการเป็นเงาตามตัว เพิ่มขึ้นทุกปีเช่นกัน เพื่อให้เพียงพอต่อจำนวนปลาสวยงาม คิดว่าแนวโน้มไม่ตกต่ำยังไปได้ไกลเรื่อยๆ" จรินทร์ เกษตรกรแห่งชาติดีเด่นในปีนี้กล่าวทิ้งท้าย******ลูกน้ำ อาหารสดจากธรรมชาติเมื่อ 10 กว่าปีก่อน อาหารสดจากธรรมชาติสำหรับเลี้ยงปลา อาทิ ลูกน้ำ ไรแดง สามารถหาได้ง่าย เมื่อเวลาผ่านไปอาหารสดเริ่มหาได้ยาก กอปรกับความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทำให้เกิดอาหารสำเร็จรูป หรืออาหารเม็ดออกมาช่วยให้เกิดความสะดวกในการหาซื้อและนำไปใช้ อย่างไรก็ตามปริมาณอาหารเม็ดตามท้องตลาด โดยทั่วไปมักมีส่วนของแป้งอยู่มาก เมื่อปลาได้รับสะสมเป็นเวลานานย่อมก่อให้เกิดอาการท้องผูก เบื่ออาหาร บางตัวถึงกับเสียสมดุลในการว่าย ด้วยเหตุนี้จึงนิยมนำอาหารสดมาหมุนเวียน"อาหารเม็ดไม่นิยมใช้เลี้ยงปลา ผมเลี้ยงลูกน้ำ เลี้ยงไก่ อาหารที่ใช้เลี้ยงปลาก็จะใช้ไข่บุบ วันละ 200-300 ฟองนึ่งผสมลูกน้ำ ช่วยลดต้นทุนการผลิต ประโยชน์ของลูกน้ำเหนือกว่าอาหารสำเร็จรูปหลายเท่าตัว ผมเคยทดลองอาหารสดดูปรากฏว่าให้โปรตีน 70 % แคลเซียม 30 % เหมือนเรากินอาหาร ใครๆก็อยากกินของสด ของแช่เย็นไม่ค่อยอยากกิน ถึงจะมีคุณประโยชน์อยู่บ้างแต่อาหารสดมีมากกว่า ถ้านำอาหารสดไปเลี้ยงปลาสวยงามน้ำไม่ค่อยเสีย ปลาโตเร็ว แข็งแรง ระบบโครงสร้างมาตรฐานพร้อมส่งออก เดี๋ยวนี้หาอาหารสดยาก เกษตรกรบางเจ้าเลิกเลี้ยงปลาหันมาผลิตไรแดงหรือลูกน้ำจำหน่าย" จรินทร์ เจ้าของฟาร์มปลากล่าวในอาหารสดประกอบด้วยน้ำและเส้นใยอาหาร ช่วยให้ระบบย่อยอาหารของปลาทำงานได้ดี พร้อมทั้งนำมาซึ่งคุณค่าสารอาหารที่ปลาได้รับจากลูกน้ำ ช่วยให้กระดูกของปลาแข็งแรงและทำให้ปลามีสีสันสวยงาม

ที่มา : bettanetwork

ใช้เกลือรักษาโรคปลากัด


มาคุยเรื่องเกลือกันดีกว่า ว่าทำไมถึงใส่เกลือให้ปลากัดแสนรักของเรา เรื่องเกลือต่างๆที่ได้มาก็รวบรวมมาจาก บทความต่างๆในอินเตอร์เน็ต และก็สิ่งที่เคยทดลองกับปลากัดตัวเองผ่านๆมา หวังว่าจะมีประโยชน์กับเพื่อนๆที่รักปลากัดทุกๆคนนะครับ เกลือที่ใช้กันทั่วๆไปสำหรับปลากัด(หรือปลาอื่นๆด้วย) เราจะใช้เกลือทะเล หรือเกลือสมุทร ซึ่งได้มาจากธรรมชาติ ซึ่งเกลือที่ใช้นั้นต้องละลายน้ำได้ง่าย(ปกติก็ง่ายๆกันทั้งนั้น) แล้วถามว่าไอ้เกลือที่ใช้ตามครัวใช้ได้กับปลากัดหรือเปล่า เกลือตามครัวพวกนี้ส่วนใหญ่มีการปรุงแต่งมา อาจทำให้เกิดผลกับน้ำจึงไม่ควรใช้ (เติมไอโอดีน สารฟอกสี) ซึ่งสารที่เติมเข้าไปอาจจะทำปฏิกิริยากับน้ำหรือส่งผลกระทบกับน้ำแล้วส่งผลถึงปลากัดเราได้ ตอนนี้ก็ทราบกันแล้วว่าเกลือแบบไหนที่ใช้กับปลากัดของเรา สำหรับปลากัดเกลือนั้นถือว่าเป็นยารักษาและป้องกันโรคเลยทีเดียวเชียว เรามาดูถึงประโยชน์ของมันก่อน
1.ฆ่าเชื้อปลาป้องกันการแพร่กระจายโรคว่ากันว่าเกลือสามารถกำจัดปรสิตได้อย่างรวดเร็วถึง 7 : 9 ส่วน เวลาผมไปซื้อปลามาจากที่อื่น พอมาถึงบ้านก็จะจัดการจับปลาแช่น้ำเกลือเข้มข้นก่อนเลย ส่วนเรื่องปริมาณเกลือกับน้ำ พูดตามตรงไม่เคยวัดเลยว่าใช้ปริมาณเท่าไรไม่เท่ากันซักที (ปกติก็น้ำครึ่งขันเกลือซัก5ช้อนโต๊ะ กะๆเอาว่านี่แหละเข้มข้น)แต่ถ้าจะเอาวิชาการจริงๆเดี๋ยวไปดูตอนท้ายสุดเลย พอเราละลายน้ำเกลือแล้วก็จัดการเอาปลาแช่สัก5วินาที (นานกว่านี้กลัวออสโมซิส ปลาตาย) แล้วก็เอาปลามาผ่านน้ำสะอาดซะให้หายเค้ม นี่ก็ประโยชน์อย่างแรก
2.เมื่อปลากัดของเราป่วย ปกติแล้วปลากัดของเราจะขับเมือกออกมาเมื่อรู้สึกไม่สบายตัวหรือเพื่อป้องกันตัวปลากัดจากปรสิตและเชื้อโรคต่าง ๆ เพราะในเมือกปลากัดมีสารฆ่าเชื้อผสมอยู่ เมื่อเราใส่เกลือลงก็จะเป็นการกระตุ้นการขับเมือกของปลากัดด้วย แต่ก็ไม่ใช่ว่าใส่มากๆแล้วขับเมือกซะน้ำในเหลี่ยมปลากัดขุ่นไปเลยนะครับ เอาให้พอเหมาะ สำหรับผมเองปกติถ้าเป็นเหลี่ยมปลากัดขนาด 4x4x8 (กว้างxยาวxสูง) ผมก็ใส่เกลือเม็ดโตๆลงไปซัก4-5เม็ด แถมด้วยใบหูกวางแห้งๆอีกซักใบ ถ้าเหลี่ยมปลากัดใหญ่กว่านั้นก็กะเอาครับ (จริงๆแล้วก็ควรดูว่าใส่ลงไปแล้วปลากัดเราเป็นไง แล้วจะเดาปริมาณถูกว่าจะใส่มากใส่น้อย) ในกรณีที่ใช้เกลือรักษาปลากัด เพื่อนๆก็ต้องควรหยุดใส่เมื่อปลากัดหายเป็นปกติแล้วนะครับ อย่างที่บอกว่าเกลือก็เหมื่อนเป็นยาตัวนึง ถ้าไม่ใช้ยาได้จะดีกว่า แล้วถ้าใช้ต่อไปเรื่อยๆโรคมันก็จะดือยานะครับ คราวหน้าถ้าเราใช้เกลืออีกปลากัดเราอาจจะไม่หายป่วยก็ได้
มาดูกันต่อว่า ที่เค้าเคยพูดกันไว้ว่าเกลือมีประโยชน์ยังไง แบบเกล็ดเล็กเกล็ดน้อยครับ- สามารถควบคุมปริมาณพิษของไนเตรทและไนเตรทฉับพลันในน้ำ โดยประจุที่ได้จากเกลือจะซึมผ่านตัวปลาป้องกันไม่ให้ไนเตรทส่งผลต่อเม็ดเลือดแดงที่ทำให้ปลาฟอกออซิเจนได้น้อยลง- เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะทำให้ปลาเครียด การใช้เกลือเป็นการช่วยลดความเครียดของปลา- เพิ่มพลังงานและภูมิต้านทานต่อโรคต่าง ๆ- ป้องกันการติดเชื้อ และ มีผลในการต่อต้านแบคทีเรีย ทั้งยังมีผลในการยกระดับความสามารถของปลาที่จะต้านทานเชื้อด้วย- ใช้ในการกักโรคปลาปริมาณเกลือที่ใส่ลงในตู้ปลาเพื่อป้องกันเชื้อโรคและปรสิตต่าง ๆ หรือหลังเปลี่ยนน้ำใหม่ขนาดตู้ปลา ตู้ 24" 2 ช้อนโต๊ะไม่พูนขนาดตู้ปลา ตู้ 36" 3 ช้อนโต๊ะไม่พูนขนาดตู้ปลา ตู้ 48" 4 ช้อนโต๊ะไม่พูนปริมาณเกลือตามวัตถุประสงค์วัตถุประสงค์ป้องกันไนเตรท 1 กรัม / ลิตร วัตถุประสงค์สภาพน้ำไนเตรท 3 กรัม / ลิตร วัตถุประสงค์รักษาโรคต่างๆ 9 กรัม / ลิตรหมายเหตุ-น้ำที่มีอุณหภูมิต่ำไม่เหมาะสมกับการเติมเกลือให้ปลา-เกลือทำให้น้ำมีคุณสมบัติกระด้างขึ้น ถ้าน้ำมีความกระด้างอยู่แล้วไม่สมควรเติมเพื่อเพิ่มความเครียดในปลา-ควรใช้เมื่อปลาป่วยหรือน้ำมีคุณภาพผิดปกติ-ควรใส่ปริมาณแต่น้อยไว้ก่อนถ้าใส่มากไปจะเกิดการออสโมซิสย้อนทำลายปลาเอง-ก่อนใส่เกลือลงในน้ำควรจะเอาต้นไม้น้ำออกเสียก่อนเพราะเกลือจะมีผลต่อพืชน้ำพอควร พืชน้ำบางชนิดทนความเค็มไม่ได้แม้เพียงแค่ 0.1 % ก็ตาม และสมควรเปลี่ยนน้ำออก 50%-การใช้เกลือจะต้องระวังเกี่ยวกับความเค็มที่จะเพิ่มขึ้นอย่างทันที เพราะปลาอาจจะปรับตัวไม่ทัน ทั้งนี้เมื่อคำนวณได้ว่าจะต้องใช้เกลือเท่าใดแล้ว ให้แบ่งเกลือนั้นออกเป็น 3 ส่วน แล้วเริ่มใส่เกลือส่วนแรกลงในบ่อหรือตู้ปลา รอดูอาการปลา 1 ชั่วโมง จึงใส่ส่วนที่ 2 และ 3 ตามลำดับ


ที่มา : ridbetta

ไข่ตุ๋น อาหารสำหรับปลากัด


เป็นอาหารสำหรับปลากัดที่เราสามารถทำได้ง่ายๆแถมเรายังเพิ่มสารอาหารให้กับปลากัดของเราได้โดยตรง และถ้าใช้ไข่ตุ๋นให้ปลากัดไม่หมดก็สามารถแช่ตู้เย็นเก็บไว้ใช้ต่อได้อีกซัก3-4วัน แต่ข้อเสียของมันก็คือถ้าเราให้ในปริมาณมากแล้วปลากัดกินไม่หมดจะทำให้น้ำเน่า แล้วก็จะเกิดปัญหาต่างๆตามมา วิธีการทำไข่ตุ๋น : ใช้ส่วนผสมดังนี้ไข่ (ทั้งไข่แดงและไข่ขาว) 1 ฟองเสริมคุณค่าทางอาหารด้วย-นมผงสำหรับเด็กหรือนมสด 1 ช้อนโต๊ะ-สาหร่ายสไปรูลีน่า(ถ้ามี) 1 ช้อนชา-วิตามิน ต่างๆ (ถ้ามี) 1 ช้อนชา-น้ำสะอาด 1/2 แก้วผสมให้เข้ากันดีแล้วก็นึ่งให้สุกจนไข่ตุ๋นสุกและแข็ง ปล่อยทิ้งไว้ให้เย็น แล้วนำไปให้ปลากัดกิน ถ้าเป็นปลากัดตัวเล็กก็บี้ให้มันกิน เท่านี้คนรักปลากัดทุกท่านก็จะได้อาหารคุณภาพดีๆให้ปลากัดกินกันแล้วครับข้อแนะนำ-การเริ่มต้นใช้ไข่ตุ๋น แนะนำว่าให้ใช้ปริมาณน้อย ปลากัดกินหมดแล้วค่อยเอาให้อีกจะดีกว่า-ควรใส่ไข่ตุ๋นลงในถ้วย แล้วเอาทั้งถ้วยลงไปในบ่อปลากัดของเรา เพื่อที่เวลาปลากัดกินไม่หมดจะได้เอา ไข่ตุ๋นที่เหลือขึ้นมาได้ง่ายๆ

ที่มา : ridbetta

พารามีเซียม Paramecium


เป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวขนาดเล็ก สามารถพบอาศัยในได้แหล่งน้ำจืดตามธรรมชาติ มองดูด้วยตาเปล่าแทบจะมองไม่ออกว่าอะไร แต่ว่าเจ้าลูกปลากัดตัวเล็กๆของเรานั้นมองเห็นครับ ถ้าส่องด้วยกล้องจุลทรรศน ์ก็จะพบว่ามีรูปร่างลักษณะคล้ายกับรองเท้าแตะ บางคนก็ว่าเหมือนลูกรักบี้ บ้างก็ว่าเหมือนใบไม้แห้ง แต่บางคนเมื่อเห็นการเคลื่อนที่ของพารามีเซียมแล้วก็อาจจะทำให้นึกถึงกระสวยอวกาศ หรือลูกข่างก็เป็นไปได้ สุดแต่จะจินตนาการกันไป แต่ผมว่าลูกปลากัดเราคงมองเป็น ขนมปังฝรั่งเศสก็ได้ อย่าไปสนใจเลยครับว่ารูปร่างหน้าตามันจะเป็นยังไง ขอแค่ปลาเรากินเข้าไปแล้วมันเจริญเติบโตได้ดีและมีประโยชน์ไม่มีพิษก็พอ ว่าแต่เราจะเพาะมันได้ยังไง อย่างแรกเลยก็ต้องดูว่าเจ้าตัวนี้มันกินอะไรก่อน เราจะได้หาอาหารให้มันกินได้ถูก อาหารของพารามีเซียมก็ ได้แก่ แบคทีเรีย เศษเนื้อเยื่อของสัตว์ต่างๆ โพรโตซัวอื่นๆ รวมถึงเป็นพวกที่สามารถใช้สารอาหาร ( หรือ nutrients) ที่ละลายอยู่ในแหล่งน้ำ มาใช้ประโยชน์ได้โดยตรงอีกด้วย ต่อไปเราจะมาดูว่ามันจะมีประโยชน์ยังไงกับลูกปลาของเราดีกว่า ข้อดีของพารามีเซียมนั้น ได้เปรียบอาหารมีชีวิตขนาดเล็กชนิดอื่น ตรงที่ว่ายน้ำอยู่ตลอดเวลา ทำให้ลูกปลาสนใจ ที่สำคัญมันยังชอบว่ายอยู่บริเวณผิวน้ำ ซึ่งเป็นจุดที่ลูกปลาแรกเกิด 2-3 วันชอบอาศัยอยู่ (ก็ตอนที่มันแรกตั้งตัวขนาดกับผิวน้ำได้ตอนแรกๆไงครับ) ที่สำคัญเจ้าพารามีเซียมนั้นเพาะพันธุ์ได้ง่ายครับ โดยจะขยายพันธุ์ได้ทั้งแบบแบ่งตัว เมื่อสภาวะเหมาะสม และถ้าอาหารขาดแคลนก็จะขยายพันธุ์แบบอาศัยเพศ มาดูกันว่าเราจะเพาะพันธุ์เจ้าพารามีเซียมให้ลูกปลาเราได้อย่างไร วิธีขยายพันธุ์พารามีเซียม
1 .นำน้ำ 5 ลิตร ต้มกับ เมล็ดถั่วลันเตา 10 เม็ด หรือใบผักบุ้งขยี้ 5 ใบ
2 .ต้มเสร็จปล่อยให้น้ำเย็น
3 .นำนมรสจืดมาหยดลง 3 หยด และยีสต์อีกนิดหน่อย (เน้นว่านมรสจืดนะครับ)
4 .ขั้นตอนที่ 1-3 คือขั้นตอนการเพาะแบคทีเรียที่เป็นอาหารสำหรับพารามีเซียม
5 .เอาหัวเชื้อพารามีเซียมใส่ลงไป
6 .หนึ่งสัปดาห์ผ่านไป(ไวเหมือนโกหก) เมื่อนำมาส่องกับหลอดไฟ ก็จะเห็นพารามีเซียมสีขาว ว่ายเต็มอยู่ในขวดโหล และจะอยู่หนาแน่นบนผิวน้ำ
7 .ให้นมจืดอาทิตย์ละ 3 หยด เพื่อเป็นเชื้อให้กับแบคทีเรียและก็ยีสต์
8 .ตอนให้ลูกปลาก็ดูดจากโหลแล้วก็ใส่ในบ่ออนุบาลลูกปลาแรกเกิดของเราได้เลย อาจจะเอาช้อนตัก หรือจะเอาหลอดมาดูด ก็แล้วแต่คุณล่ะครับ

ที่มา : ridbetta

หนอนจิ๋ว


มาถึงเจ้าตัวนี้หนอนจิ๋ว หรือ microworm (Panagrellus sp.) มันเป็นหนอนซึ่งโตสุดๆแล้วมันก็ยังเป็นหนอนอยู่วันยังค่ำ มันจะไม่กลายร่างเป็นแมลงหรืออะไรอย่างอื่นเลย แล้วตัวมันโตขนาดไหน ไม่รู้ว่าอธิบายเป็นตัวเลขแล้วจะเห็นภาพหรือป่าว ตัวอ่อนเล็กสุดมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 10 ไมครอน ยาว 80 ไมครอน ตัวโตมีความยาว 80-140 ไมครอน (0.08-0.14 มม .) ผมว่าตัวใหญ่สุดก็ยังเล็กกว่าขนคิ้วเราอีก สามารถจะมีชีวิตอยู่ในน้ำ(น้ำจืดนะครับ)ได้นานประมาณ 20-30 ชั่วโมง การสืบพันธุ์ของหนอนจิ๋วเป็นแบบมีเพศ โดยเพศผู้จะมีหางหยัก ตัวเล็กกว่า และมีจำนวนน้อยกว่าเพศเมีย ซึ่งแม่ 1 ตัวจะให้ลูก 10-40 ตัวทุก ๆ 1-1.5 วัน ดังนั้น ตัวอ่อนจะเป็นตัวแม่ได้ในเวลา 3 วัน ซึ่งจะมีการเพิ่มขนาดถึง 3 เท่าในวันแรกและเป็น 5-6 เท่าในช่วง 3 วันต่อมา ชีวประวัติของเจ้าหนอนจิ๋วก็ประมาณนี้ล่ะครับ สำหรับผมเองในการเพาะปลากัดผมจะให้หนอนจิ๋วหลังจากลูกปลากัดอายุได้ประมาณ 3 วันเป็นอาหารเมื่อแรกเลยก็ว่าได้ มันจะดีตรงที่มันจะดิ้นไปดิ้นมาชวนให้ลูกปลากัดของเรากินอย่างมาก แถมตัวเล็กพอดีกับปากของลูกปลากัดตอนอายุขนาดนั้น แถมการเพาะขยายพันธุ์ก็ไม่ยุ่งยากด้วย แต่ข้อเสียมันก็มีนะครับ ซึ่งผมเองก็ยังไม่เจอกับตัว และก็ยังไม่อยากให้มันเกิดด้วย พี่ๆที่เคยใช้หนอนจิ๋วเล่าว่าถ้าหากใช้หนอนจิ๋วเป็นเวลานานและให้ไม่พอเหมาะ (คือให้มากไป)หลังจากที่หนอนจิ๋วมันตายลงก็จะเกิดเป็นกรดอยู่บริเวณพื้นอ่างที่ใช้อนุบาลลูกปลากัด แล้วยังไงล่ะครับ ต่อมาเวลาลูกปลากัดมันหิวมันก็จะว่ายลงไปหาอาหารที่พื้นอ่าง คราวนี้ล่ะครับ กรดที่เกิดจากหนอนจิ๋วที่เราให้ไปมันก็จะมีฤทธิ์กัดตะเกียบของลูกปลากัดเอาได้ คราวนี้พอเราเลี้ยงจนมันโตเราก็จะได้ปลากัดที่ไม่มีตะเกียบ(ก็คงเซ็ง ไม่ใช่น้อย) พี่ๆบางคนยังบอกว่าอย่าว่าแต่ตะเกียบเลย กระโดง หายก็เจอมาแล้ว แถมโปรตีนก็มีน้อยกว่าไรแดง หรืออาหารชนิดอื่นๆ ที่กล่าวมาไม่ใช่ว่าจะบอกว่าหนอนจิ๋วไม่ดีนะครับ การให้ปริมาณที่พอเหมาะและไม่ให้ติดต่อกันมากเกินไปก็จะไม่ทำให้กรณีตะเกียบหายเกิดขึ้น ซึ่งผมเองก็เป็นคนนึงที่ใช้หนอนจิ๋วอยู่ทุกๆวัน และก็ไม่มีปัญหาอย่างที่ว่าเกิดขึ้น ซึ่งมากที่สุดที่จะให้หนอนจิ๋วผมให้ไม่เกิน 10 วัน
ที่มา : ridbetta

ไส้เดือนน้ำ


ไส้เดือนน้ำ ถ้าพูดถึงแล้วถือว่ามีคุณค่าทางอาหารมาก ทำให้ปลากัดโตเร็วและสมบูรณ์ สามารถนำมาให้ลูกปลากัด ที่อายุมากกว่า1เดือนกินได้(ตามจริงก็ต้องดูขนาดของปลาลูกปลากัดด้วย) และหากเก็บรักษาไส้เดือนน้ำได้ดีก็สามารถอยู่ได้เป็นอาทิตย์ แถมปลากัดยังชอบไส้เดือนน้ำมากอีกต่างหาก แต่ปัญหาสำคัญของไส้เดือนน้ำหรือปัญหาหลักของไส้เดือนน้ำคือเรื่องความสกปรกของอาหารสดประเภทนี้ (สุดยอดของความสกปรก) ดังนั้นในการใช้เลี้ยง ปลากัด จำเป็นต้องล้างเป็นอย่างดี ไม่ฉะนั้นโรคก็จะตามมา โดยเฉพาะท้องมาร และพวกปรสิต


ที่มา : ridbetta

ส่วนประกอบต่างๆของปลากัด


ที่มา : ridbetta

Wednesday, August 20, 2008

ปลากัดยักษ์


เหตุผลสำคัญที่ทำให้คนไทยหันมาเลี้ยงปลากัดเป็นปลาสวยงามกันมากขึ้น เนื่องจากเป็นปลาที่เลี้ยงง่ายไม่ต้องให้ออกซิเจน ใช้เนื้อที่น้อยและที่สำคัญเป็นปลาที่มีศักยภาพในการพัฒนาสายพันธุ์ให้มีสีสันที่หลากหลายไปได้เรื่อย ๆ “ปลากัด” จัดเป็นปลาพื้นเมืองของบ้านเรา พบการแพร่กระจายไปทั่วทุกภาคของประเทศจะอาศัยบริเวณผิวน้ำ ไม่ว่าจะเป็นหนอง, บึง, แอ่งน้ำ,ลำคลอง ฯลฯ สำหรับต่างประเทศจะพบในประเทศมาเลเซีย, พม่า, ลาว, กัมพูชา และจีน เป็นต้น
สำหรับคนไทยแล้วปลากัดถือเป็นกีฬาตามวิถีชาวบ้านที่ได้รับความนิยมทั่วประเทศ โดยเฉพาะในช่วงระหว่างเดือนพฤษภาคม-ตุลาคมของทุกปี คนในพื้นที่ภาคใต้เรื่อยไปจนถึงประเทศมาเลเซียจะนิยมเล่นปลากัดมากกว่าพื้นที่อื่น วันนี้มีการพัฒนาสายพันธุ์ปลากัดยักษ์จนมีขนาดใหญ่อย่างเห็นได้ชัด จนได้สายพันธุ์ปลากัดยักษ์ที่นิ่งจริง ๆ อีก ทั้งยังมีสีสันสวยงามมากกว่าเดิม ปลากัดยักษ์ในยุคแรก ๆ เฉดสีออกมาในลักษณะของปลากัดหม้อธรรมดาปนกันระหว่างสีเขียว น้ำเงินและแดง ซึ่งเป็นสีพื้นฐานของปลากัดหม้อธรรมดาทั่วไป เดี๋ยวนี้เริ่มมีปลากัดยักษ์สีเดียวสวยสด แม้ว่าสีอาจจะยังไม่สวยเท่ากับปลากัดหม้อสีเดียวก็ตาม ภูมิประเทศที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ ทำให้มีแหล่งอาหาร แหล่งน้ำ สภาพอากาศที่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิตของปลากัด ด้วยปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ทำให้สามารถพัฒนาสายพันธุ์ปลากัดยักษ์ให้มีลักษณะที่ดีขึ้นไปอีก ปลากัดไทยสร้างความคึกคักในตลาดปลากัดทั้งในและต่างประเทศ ประเทศไทยเป็นตลาดที่ส่งออกปลากัดสวยงามที่ใหญ่ที่สุดในโลกมาแล้ว จุดนี้ทำให้เราสามารถเพิ่มมูลค่าปลากัดได้ ยังเป็นการนำรายได้เข้าสู่ประเทศไม่น้อยเลยทีเดียว การพัฒนาสายพันธุ์ในปัจจุบันจะเห็นได้ว่ามีสายพันธุ์และสีใหม่ ๆ มากมาย ร่วมมือกันพัฒนาสายพันธุ์ มีการแลกสายพันธุ์การพัฒนา เพื่อช่วยกันพัฒนาสายพันธุ์ปลาให้มีความสวยงามและแปลกใหม่ยิ่งขึ้น มีปลาใหม่ออกสู่ตลาดเสมอ ผู้ซื้อมีปลาให้เลือกหลากหลายตามความชอบ และการเลือกซื้อปลากัดยักษ์ นั้น ต้องมีความรู้พื้นฐาน มีวิธีการดูลักษณะปลาเบื้องต้น มิเช่นนั้นจะได้ปลากัดยักษ์เทียมมาเลี้ยงก็เป็นได้ เริ่มต้นกันที่ ลักษณะตัวปลา ปลากัดธรรมดาขนาดใหญ่ที่ขุนด้วยอาหารเม็ด จะมีลักษณะลำตัวออกหนาทางด้านกว้างไม่ได้สัดส่วนเมื่อมองด้านข้าง มองจากด้านบน ความกว้างของลำตัวจะแบนไม่สวย เปรียบเทียบกับปลากัดยักษ์แท้ จะมีลักษณะที่ใหญ่และได้รูปสมสัดส่วน คอจะมีลักษณะหนา ลำตัวโค้งมนตามลักษณะสัดส่วนและลาดต่ำไปถึงหางตามลักษณะของปลากัดทั่วไป ข้อหาง ครีบ กระโดง ชายน้ำ จะมีขนาดใหญ่สมดุลกับตัวปลา พฤติกรรมและสุขภาพปลา ปลากัดยักษ์ที่อายุน้อยประมาณ 4 เดือน ความแตกต่างที่เห็นได้ชัดคือ เมื่อเปิดให้ปลาพองใส่กัน ปลาจะมีความปราดเปรียวและคึกคัก บ่งบอกถึงสุขภาพปลาที่ดีและไม่เป็นโรค ผิดกับปลากัดขนาดปกติแต่มีขนาดใหญ่ที่มีอายุมากขึ้น ความคล่องแคล่ว ความปราดเปรียวจะไม่เท่าปลากัดอายุน้อย ซึ่งตรงนี้เป็นข้อสังเกตที่ชัดเจน ร้านขายปลา นับเป็นข้อที่สำคัญมากเลยทีเดียว นอกเหนือจากการสังเกตลักษณะภายนอกด้วยตัวเอง ความเชื่อใจและความซื่อสัตย์ของร้านเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้เราได้ปลาที่มีลักษณะ ที่ดีตรงตามความต้องการ.

ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวน์

ลักษณะของปลากัด


ปลากัดถูกจัดอยู่ในดันดับ (Order) Perciformes ครอบครัว (Family) Belontiidae ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Betta splendens Regan เป็นปลาพื้นเมืองของไทย พบแพร่กระจายทั่วไปทุกภาคของประเทศไทย อาศัยอยู่ในอ่างเก็บน้ำ ทะเลสาบ หนอง บึง แอ่งน้ำ ลำคลอง ฯลฯ ในบริเวณที่มีระดับน้ำตื้น ๆ น้ำค่อยข้างใส น้ำนิ่งหรือ ไหลเอื่อย ๆ มีพันธุ์ไม้น้ำขึ้นประปรายชอบว่ายน้ำช้า ๆ บริเวณผิวน้ำ เป็นปลาที่มีขนาดเล็ก ลำตัว ยาว แบนข้าง หัวเล็ก ปากขนาดเล็กเชิดขึ้นด้านบนเล็กน้อย มีฟันที่ขากรรไกรบน และขากรรล่าง มีเกล็ดปกคลุมหัวและลำตัว ความยาวจาก ปลายจงอยถึงโคนหางยาว 2.9 - 3.3 เท่าของความกว้าง ลำตัว และ 3.0-3.3 เท่าของความยาวหัว จุดเริ่มต้นของครีบหลังอยู่ค่อนไปทางด้านหาง หลังจุดเริ่ม ต้นของครีบก้น ครีบหลังมีก้านครีบเดี่ยว 1-2 ก้าน ก้านครีบแขนง 7-9 ก้าน ครีบก้นมีฐานครีบยาว มาก เริ่มจากครีบท้องไปสุดที่โคนครีบ หาง มีก้านครีบเดี่ยว 2-4 ก้าน และก้านครีบแขนง 21-24 ก้าน ครีบอกมีขนาดเล็กกว่าครีบอื่น ๆ ปลากัดไม่มีเส้นข้างตัว กระดูกที่อยู่ด้านหน้าของตา ( Preorbital ) มีขอบเรียบ มีอวัยวะพิเศษช่วยในการหายใจนอกจากเหงือก เรียก Labyrinth organ อยู่ในโพรงอากาศหลังช่องเหงือก มีลักษณะ เป็นเนื้อเยื่อที่มีรอยยักและมีเส้นเลือดฝอยมาหล่อเลี้ยง มากมาย แต่ในปลาวัยอ่อนจะไม่พบอวัยวะช่วยหายใจดังกล่าว จะเริ่มเกิดเมื่อปลามีอายุ 10 วัน จาก การที่ปลากัดต้องใช้อวัยวะช่วยในการหายใจ ทำให้ปลาต้องโพล่ขึ้นมาฮุบอากาศที่ผิวน้ำเสมอ และ จากสาเหตุนี้ทำให้ปลากัดสามารถอยู่ในน้ำที่ไม่มี ออกซิเจนได้ปลากัดมีนิสัยก้าวร้าว ปลาเพศผู้ จะต่อสู้กันและชอบทำร้ายปลาเพศเมียในเวลาผสมพันธุ์ แต่ในปลาวัยอ่อนยังไม่พบว่ามีพฤติกรรม ก้าวร้าว ปลาเริ่มแสดงนิสัยจวบยก้าวร้าวเมื่ออายุได้1.5 - 2 เดือน และจากลักษณะนิสัยนี้เองทำ ให้ประเทศไทยมีประวัติการใช้ปลากัดต่อสู้กันทั้งเพื่อเกมกีฬา และการพนัน จนเป็นที่รู้จักกันทั่วโลก มานับร้อยปีแล้ว ในการเลี้ยงปลากัดเพื่อต่อสู้นั้นมีการคัดเลือกพันธุ์ให้มีคุณสมบัติเฉพาะที่สามารถ ใช้ในการต่อสู้ โดยเริ่มต้นจากการรวบรวมปลาจากแหล่งน้ำธรรมชาติที่เรียกกันว่า ปลากัดป่า หรือ ปลากัดทุ่ง ที่มีลำตัวค่อนข้างเล็กบอบบาง สีน้ำตาลขุ่น หรือเทาแกมเขียว นำมาเพาะเลี้ยงและคัด พันธุ์หลายชั่วอายุ จนได้ปลาที่มีรูปร่างแข็งแรง ลำตัวหนาและใหญ่ขึ้น ว่ายน้ำปราดเปรียว สีสันสวย สด เช่น สีแดงเข้ม น้ำเงินเข้ม น้ำตาลเข้ม หรือสีผสมระหว่างสีดังกล่าว และเรียกปลากัดที่ได้จากการ คัดพันธุ์เพื่อการต่อสู้นี้ว่า ปลากัดหม้อ ปลากัดลูกหม้อ หรือปลากัดไทย มีผู้พยายาม คัดพันธุ์ปลากัด โดยเน้นความสวยงามเพื่อเลี้ยงไว้ดูเล่น โดยคัดพันธุ์เพื่อให้ได้ปลาที่มีครีบยาว สีสวย จนปัจจุบัน ประเทศไทยสามารถผลิตปลากัดที่มีสีสัน สดสวยมากมายหลายสี เช่น เขียว ม่วง แดง น้ำเงิน ฯลฯ กับ ความยาวลำตัวและหัวรวมกัน ซึ่งนิยมเรียกปลากัดลักษระเช่นนี้ว่า ปลากัดจีน หรือปลากัดเขมร ต่าง ประเทศรู้จักปลากัดในนาม " Siamese Fighting Fish " ปัจจุบันปลากัดเป็นปลาที่สามารถส่งขายต่าง ประเทศนำรายได้เข้าประเทศเป็นอันดับหนึ่งของปลาไทยทั้งหมด เพราะนอกจากจะเป็นปลาที่มีสีสัน สดสวย ครีบยาวพริ้วสวยงามแล้วยังมีคุณสมบัติในเชิงต่อสู้เพื่อความตื่นเต้นให้แก่ผู้เลี้ยงอีกด้วยครับ
ที่มา : lonsa9000

Friday, August 15, 2008

ปลากัดป่า หรือ ปลาลูกทุ่ง


ปลากัดป่า หรือ ปลาลูกทุ่ง ที่พบในธรรมชาติ ตามท้องนา หนองบึง ส่วนใหญ่จะเป็นปลาขนาดเล็กที่ไม่เด่นมากนัก ในสภาพปกติสีอาจเป็นสีน้ำตาล เทาหม่น หรือสีเขียว และอาจมีแถบดำจาง ๆ พาดตามความยาวของลำตัว อาศัยหลบซ่อนตัวอยู่ระหว่างพรรณไม้น้ำในที่ตื้น ความพิเศษของปลากัด อยู่ที่ความเป็นนักสู่โดยธรรมชาติเมื่อพบปลาตัวอื่นจะเข้าต่อสู้กันทันที และที่พิเศษยิ่งกว่านั้นคือการที่ปลาตัวผู้สามารถเปลี่ยนสีให้งดงามเมื่อถูก กระตุ้น ในสภาวะตื่นตัวครีบทุกครีบจะแผ่กางออกเต็มที่ แผ่นเยื่อหุ้มเหงือขยายพองตัวออก พร้อมกับสีน้ำเงินหรือแดงที่ปรากฏขึ้นมาชัดเจนในโทน ต่าง ๆ ทำให้ดูสง่าอาจหาญ และสวยงาม ปลาป่าแท้นั้นส่วนมากครีบ หางและกระโดงที่ภาษานักแปลงปลาเรียกรวมว่า "เครื่อง" จะมีสีแดงเกือบตลอดมีประดำบ้างเล็กน้อย บางทีอาจมีเส้น เขียว ๆ แซมบ้าง อย่างที่เรียกว่าเขียวก็มีเพียงแต้มเขียวอ่อน ๆ ที่กระโดงเท่านั้น เวลาถอดสีปกติทั้งตัวและเครื่องเป็นสีน้ำตาลจืด ๆ คล้ายใบหญ้าแห้ง ที่ห้อยแช่น้ำอยู่ ลักษณะพิเศษอีกอย่างหนึ่งของปลากัดก็คือเป็นปลาที่มีอวัยวะช่วยหายใจพิเศษที่อยู่บริเวณเหงือกทำให้ปลาสามารถใช้ออกซิเจน จากการฮุบอากาศได้โดยตรง ปลากัดจึงสามารถทนทานดำรงชีวิตอยู่ได้ในที่ที่มีออกซิเจนต่ำ ตำนานเล่าขานของปลากัดจึงค่อนข้างแปลกประหลาด ไปกว่าสัตว์น้ำชนิดอื่น ๆ บทความ "ธรรมชาติของปลากัดไทย) โดย ม.ล. ยิ่งศักดิ์ อิศรเสนา ที่เขียนไว้เมื่อปี 2496 ได้พูดถึงการขุดหาปลากัดในรูปูนา ตามขอบหนอง ชายบึง ริมคู และรางน้ำ ซึ่งปลากัดเข้าไปอยู่อาศัยปนอยู่กับปูในรูตั้งแต่ต้นฤดูหนาว เมื่อน้ำเริ่มลดไป จนตลอดหน้าแล้งปูก็จะขุดรูลึก ตามระดับน้ำลงไปเรื่อย ๆ ปลากัดจะออกมาแพร่พันธุ์ใหม่ในต้นฝนในเดือนพฤษภาคม กระจายออกไปหากินตามที่มีหญ้ารก ๆ ในเขตน้ำตื้นปลากัด เป็นปลาที่ชอบน้ำตื้น จึงไม่พบตามแม่น้ำลำคลอง หนองบึง ที่มีน้ำลึก อันที่จริงในธรรมชาติการต่อสู่กันของปลากัดไม่จริงจังเท่าไรนัก ส่วนมากมักแผ่พองครีบหางขู่กันเพื่อแย่งถิ่น บางตัวเห็นท่าไม่ดีก็อาจเลี่ยงไปโดยไม่ ต่อสู้กันเลยก็มี แต่บางคู่ก็ต่อสู้กันอย่างถึงพริกถึงขิง ปลาตัวผู้ตัวไหนที่ยึดชัยภูมิเหมาะได้ที่ ก็จะก่อหวอดไว้แล้วพองตัวเบ่งสี เกี้ยวตัวเมียที่ผ่านไปมา เพื่อผสมพันธุ์วางไข่

ปลาทุ่งหรือปลาป่า หรือที่เรียกกันว่า "พันธุ์ลูกทุ่ง" และ "พันธุ์ลูกป่า" เป็นพันธุ์ปลากัดที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ในที่ที่ลุ่มตามท้องนา หนอง บึง ปลากัดที่อยู่ในภูมิประเทศชนิดนี้เรียกว่า "ลูกทุ่ง" ในท้องถิ่นปักษ์ใต้เรียกว่า "ปลาท่ง" ส่วนปลากัดที่อยู่ตามป่าที่มีน้ำท่วมถึงหรือมีน้ำท่วมตลอดปี เช่น ในที่ที่เป็นพรุหรือป่าจากริมน้ำ เช่นนี้เรียกว่าปลาป่า หรือ "ลูกป่า" ปลากัดพันธ์ลูกทุ่ง หรือที่เรียกกันว่า ปลากัดพันธุ์ลูกป่าในภาคใต้จะเริ่ม "ก่อหวอด" หรือ"กัดฟอง" หรือ "บ้วนฟอง" ในราว ๆ เดือน 6-7 หรือบางปีราว ๆ ปลายเดือน 5 ในระยะเวลาดังกล่าวเด็ก ๆ ตามชนบทและนักเลงปลากัดจะเริ่มออกหาปลากัดกันตามท้องทุ่งหรือตามป่าตามพรุที่มีน้ำท่วมถึง เพราะระยะเวลาในขณะนั้นเป็นเวลาที่สิ้นหน้าเก็บเกี่ยวและเกิด "ฝนพรัด" ตก(ฝนที่เกิดจากลมที่พัดมาจากทิศตะวันตก) น้ำฝนดังกล่าวจะขังคึงอยู่ตามที่ลุ่มในท้องนา หนอง บึง ที่ผ่านความแห้งแล้งมานานพอสมควร ในหน้าแล้งปลากัดจะฟักตัวหรือหมกตัวอยู่ที่ชื้น แฉะใต้ดินเรียกว่า "จำศีล" หรือภาษาถิ่นภาคใต้เรียกว่า "ควมตัว" อยู่ใน"หม็อง" หรือ "หมง" (เรียกที่อยู่ของปลากัดในหน้าแล้งมีขนาดเท่ากับกำปั้น หรือผลมะพร้าว อยู่ใต้ดินในท้องนาบริเวณที่ลุ่ม เช่นหนองแห้ง ริมบึง ฯลฯ มีลักษณะเป็นหระปุกหรืออุโมงค์เล็ก ๆ โดยมีตมเลนอยู่ภายใน ในหม็องหนึ่ง ๆ จะมีปลากัดอยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก) ปลากัดที่อยู่ในหน็องก็จะออกมา "ก่อหวอด" หรือ "กัดฟอง" เพื่อเตรียมการผสมพันธุ์ต่อไป เป็นตอนที่ปลากัดกำลังคึกเต็มที่

ที่มา : thaigoodview

ปลากัดป่าบรูไน (Betta macrostoma)



ปลากัดป่าบรูไน (Betta macrostoma) ชนิดนี้เป็นปลากัดป่าที่สวยงามที่สุดบนเกาะบอร์เนียว มันถูกบรรยายลักษณะทางอนุกรมวิธานเมื่อ ปีคศ. 1909 จากแม่น้ำแถบรัฐซาราวัคตอนเหนือใกล้ๆกับบรูไน และถึงแม้ว่าจะเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองของบรูไน แต่ในรัฐซาราวัคที่อยู่ติดกันกลับไม่เป็นเช่นนั้นผมได้รับข้อมูลและหมายมาจากคนที่เคยพบมันก่อนหน้านี้จากทางตอนเหนือของรัฐซาราวัค ชื่อแหล่งและเมืองใกล้เคียงจะไม่ถูกเปิดเผยในบทความชิ้นนี้ เนื่องจากมันเป็นปลาที่หายากในซาราวัคและเป็นปลาสวยงามที่มีราคาแพงชนิดหนึ่งในวงการปลาสวยงามวันที่ 1มิถุนายน พศ. ๒๕๔๘ นั้นเป็นวันเริ่มต้นเทศกาลเก็บเกี่ยวพื้นเมือง หรือที่เรียกกันว่ากาไว เพื่อนของผม ฮัน และแทน ตามผมมาตั้งแต่ขับรถออกจากกุชชิ่งลงมาทางใต้ตลอดทางจนถึงเมืองมิริทางตอนเหนือใกล้กับชายแดนบรูไน รวมแล้วใช้เวลากว่า 11 ชั่วโมงวันที่ 2 มิถุนายน พศ. ๒๕๔๘ พวกเรานั่งเรือด่วนจากปากแม่น้ำซันไก บารัม ไปยังเมืองเล็กๆทางตอนเหนือของแม่น้ำ จากเมืองเล็กๆเมืองนั้น เราสอบถามคนท้องถิ่นให้ใช้รถเก่าๆของเขาขนพวกเราไปรอบๆชายแดนบรูไน เราบอกกับคนขับรถท้องถิ่นให้ส่งพวกเราที่บ้านยาว(longhouse)แห่งหนึ่ง จากการใช้แผนที่และเข็มทิศ เราตัดสินใจจะลุยสำรวจแม่น้ำสายเล็กๆใกล้ๆบ้านยาวที่อยู่ติดกับชายแดนพอสมควร พวกไม่แน่ใจนักว่านี่เป็นแม่น้ำที่ถูกต้องตามข้อมูลที่ได้รับหรือไม่ เพราะว่าชายที่เราพบไม่สามารถจำชื่อของแม่น้ำหรือหมู่บ้านที่อยู่ใกล้กันได้ แต่จากแผนที่ๆมีอยู่ เราเชื่อว่านี่คือน้ำในต้นลำน้ำสาขาของแม่น้ำซันไก บารัม ซึ่งจากประสบการณ์ของผม ปลากัดป่าส่วนมากจะสามารถพบได้ตามต้นลำน้ำเช่นนี้เราตกลงกันว่าจะเดินเลาะลำน้ำขึ้นไปยังต้นทาง มันเป็นแม่น้ำที่เต็มไปด้วยทราย และมีน้ำไหลเอื่อยๆ ผมสามารถจับ Betta akarensis, Rusbora tubbi, และปลาเข็มป่า (Hemirhamphodon sp.) ได้ริมตลิ่ง เราพบปลาสร้อยปากหนา (Osteochilus sp.), Puntius banksi, ตะเพียนพรุ (Puntius johorensis) และปลาซิวสุมาตรา (Rasbora sumatrana) ว่ายอยู่ระเกะระกะเรื่อยไปในแม่น้ำหลังจากนั้นไม่กีชั่วโมง เราก็เดินทางมาถึงน้ำตกแห่งแรก อุณหภูมิน้ำที่นี่นั้นเย็นจัด และมีค่า PH ราว5.5 ผมเจอปลาเลียหิน (Osteochilus sp.) ซึ่งน่าจะเป็นชนิด O. hasseltii และ O. waandersii กำลังแทะสาหร่ายที่โตอยู่บนขอนไม้ที่จมน้ำอยู่อย่างเพลิดเพลิน ปลาซิว (Rasbora tubbi) นั้นสามารถพบได้เยอะมากที่นี่ ผมไม่เคยพบปลาชนิดนี้ทางตอนกลางและตอนใต้ของซาราวัคมาก่อน แต่ว่ามันกลับมีอยู่ดาษดื่นทางตอนเหนือของซาราวัคแต่เราก็ยังหาเจ้า Big Mac ที่ตั้งใจไม่เจอที่นี่ ฮันกับผมตัดสินใจจะไต่ขึ้นไปบนภูเขาเพื่อจะหาปลาทางต้นน้ำ ส่วนแทนขอพักอยู่ริมน้ำตกเพราะหมดแรงที่จะเดินทางต่อบนต้นทางมีน้ำตกอยู่หลายแห่ง ริมน้ำหลายที่นั้นค่อนข้างชันพอสมควร ในการที่เราจะข้ามไปยังอีกฝั่งของแม่น้ำเพื่อจะหาเส้นทางเดินนั้น เราจะต้องไต่ และเกาะไปตามหินชื้นๆในน้ำตก นี่เป็นการมาจับปลาที่อันตรายที่สุดในชีวิตของผม ถ้าเกิดว่าไต่พลาดขึ้นมาเมื่อไหร่ก็เป็นอันจบชีวิตโดยการตกลงไปยังน้ำตกเบื้องล่างได้เลย ป่าแห่งนี้ทึบพอสมควร เราใช้เวลาตามหาทางเดินอยู่นาน กว่าเราจะถึงน้ำตกแห่งที่ห้า ผมก็หมดแรงพอดี ซึ่งก็ไม่ประสพความสำเร็จในการตามหาปลากัดใดๆบนนี้ สิ่งน่าสนใจที่ผมเจอมีเพียงปลาช่อนขนาดเล็กที่คาดว่าน่าจะเป็น Channa baramensis แต่ก็ทราบในภายหลังว่าเป็น Channa gachuaเราจึงตัดสินใจกลับเนื่องจากนี่ก็เย็นลงทุกทีระหว่างทางกลับ ผมเห็นกองใบไม้แห้งใกล้กันกับริมฝั่งน้ำตกแห่งที่สาม ผมเลยลองช้อนกองใบไม้พวกนั้นขึ้นมาเล่นๆ ผมตกตะลึงเมื่อเห็นปลาสีส้มสดกระโดดไปมาอยู่ในกระชอน ใช่แล้ววววววววว มันคือ Big Mac!!!! ผมตะโกนเสียงดังที่สุดเท่าที่ทำได้ หลังจากนั้นก็หันไปขอให้ฮันช่วยถือกระชอนให้ผมสักครู่ เพื่อที่ผมจะสามารถหยิบกล้องออกมาถ่ายรูปปลากัดป่าบรูไนตัวแรกของผมได้นี่เป็นการหาปลาที่ลำบากที่สุดครั้งหนึ่งในชีวิตของผม ช่วงที่ผมจับมันขึ้นมาได้นั้น ผมคิดว่าความลำบากและความเหนื่อยทั้งหลายที่ทำลงไปนั้นแสนจะคุ้มค่าทีเดียว
ที่มา : ninekaow

การเลี้ยงปลากัดเพื่อการแข่งขัน


เมื่อปลาโตหรืออายุได้ 7-8 เดือน จะนำปลาขึ้นจากบ่อซีเมนต์ สักประมาณ 6-7 ตัว มาเลี้ยงในขวดโหลหมักใบตองแห้ง โดยใช้ใบตองของกล้วยน้ำ ทั้งนี้เพื่อให้เกล็ดของปลาแข็งมากขึ้น ซึ่งเขาจะหมักปลาไว้ประมาณ 7 วัน จากนั้นนำมาเลี้ยงไว้ในขวดโหลอีกใบหนึ่ง โดยเลี้ยงน้ำสะอาด และไม่ต้องใส่วัชพืชลงไป ยกเว้นช่วงกลางคืนเขาจะหาต้นอะเมซอน หรือพรรณไม้น้ำขนาดเล็ก ๆ ใส่ลงในขวด เพื่อให้ปลากัดได้นอนพัก"หลังจากเราหมักปลาได้ 7 วันแล้ว และจะเลี้ยงต่อไปอีกสัก 7-8 วัน ก่อนนำไปกัดเพื่อการแข่งขัน ซึ่งทุก ๆ วัน ช่วงเช้า นำปลาจากขวดโหล มาใส่ในถุงพลาสติกขนาดใหญ่ เราเรียกว่า โหลพาน ภายในถุงจะมีปลาตัวเมีย 1 ตัว เมื่อเราปล่อยปลาลงไป ปลาตัวเมียจะไล่ปลาตัวผู้ ทำให้ปลาได้ออกกำลังกาย โดยปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 10 นาที จากนั้นนำมาใส่ในถุงพลาสติกขนาดใหญ่อีกใบหนึ่ง มีปลาตัวเมียอาศัยอยู่ 5 ตัว ซึ่งเราเรียกกันว่า โหลไล่ ปลาตัวผู้ก็จะเป็นฝ่ายไล่กัดปลาตัวเมียทั้ง 5 ตัว เพราะปกป้องตัวเอง เข้าใจว่า หากไม่ไล่กัด ปลาตัวเมียก็รุมกัด จำเป็นต้องต่อสู้ และไล่กัดตัวเมียทุกตัว ผมจะปล่อยทิ้งสัก 20 นาที ก็ช้อนหรือจับขึ้นมาเลี้ยงไว้ในขวดโหลใบเดิม และในช่วงเย็นจะหาลูกน้ำมาให้ปลากินเป็นอาหารวันละ 7 ตัว"

ก่อนนำไปแข่งขันเราจะพักปลาไว้ 1 วัน โดยไม่ให้อาหารและหยุดกิจกรรมออกกำลังกาย ยกเว้นให้ตัวเมียไล่หรือใส่ในโหลพาน 10 นาที เท่านั้น ทั้งนี้ เพื่อให้ปลาขับถ่ายของเสียออกจากร่างกาย

"วิธีเลี้ยงปลากัด และวิธีการผสมพันธุ์ปลากัด พ่อตาสอนให้ผมทั้งนั้น และเมื่อนำปลาไปกัดเพื่อแข่งขันกัน ส่วนใหญ่ปลาของผมจะชนะคู่ต่อสู้ เมื่อปลาเราชนะ นักเลงปลากัดก็เข้ามาขอซื้อถึงบ้านเลย" คุณกิมไล้ ไม่ชอบกัดปลา เหตุที่เข้าบ่อนกัดปลา ก็เพื่อให้คนในวงการปลากัดได้รับทราบว่า มีปลาเก่ง ซึ่งส่งผลดีด้านการตลาดในเวลาต่อมา

เตรียมปลาก่อนเข้าแข่งขัน

หลังจากเขาคัดเลือกปลากัดได้ตามที่ต้องการแล้ว ก็นำปลามาหมักน้ำใบหูกวาง โดยใช้ระยะเวลาหมักประมาณ 7 วัน แต่ถ้าเป็นปลาที่รูปร่างอ้วนต้องใช้เวลา 15 วัน หรือหมักจนกว่าเกล็ดของปลาเรียบและแววมันเขาบอกว่า ใบหูกวางที่นำมาใช้นั้นต้องตากแดดให้แห้งสนิท แล้วนำมาแช่น้ำ จากนั้นนำน้ำดังกล่าวมาเลี้ยงปลา ซึ่งทำให้หนังของปลาแข็งและเหนียวในช่วงหมักนี้เขาจะให้ปลากินลูกน้ำวันละ 2-3 วัน แต่ถ้าเป็นปลาที่มีรูปร่างอ้วนให้กินอาหาร 3 วัน ต่อครั้ง เพราะว่าให้อาหารมาก ปลาจะอ้วน เมื่อนำไปแข่งขันเสียเปรียบคู่ต่อสู้ได้"หลังจากหมักปลาจนเกล็ดหรือรูปร่างดีแล้ว ก็นำมาเลี้ยงไว้ในขวดโหลอีก พร้อมกับใส่น้ำหมักใบหูกวางลงไปผสมเล็กน้อย หรือให้สีน้ำออกเหลืองนิด ๆ พร้อมกับใส่ปลาตัวเมียลงไปด้วย เพื่อต้องการให้ปลากัดตัวผู้คึก เมื่อเห็นว่าจะกัดปลาตัวเมีย ก็ให้ช้อนปลาตัวเมียขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่ทิ้งไว้ประมาณ 2-3 นาที ก็ช้อนขึ้นแล้ว"เขาจะปล่อยปลาตัวเมียลงไปให้ปลาตัวผู้ไล่วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็นดำ เล่าว่า ช่วงเช้าหลังจากจับปลาตัวเมียขึ้นแล้ว จะนำปลาตัวผู้ไปปล่อยถุงพลาสติกขนาดใหญ่ หรือถุงไล่ โดยปล่อยปลาตัวเมีย 4-5 ตัว ลงไปด้วย ทั้งนี้เพื่อให้ปลากัดตัวผู้ไล่กัด ซึ่งเป็นการออกกำลังกายที่ได้ผลดีเขาปล่อยให้ปลาตัวผู้ออกกำลังกาย ประมาณ 10 นาที จากนั้นช้อนปลาขึ้นมาเลี้ยงไว้ในขวดโหลเหมือนเดิม โดยใช้ผ้าหรือกระดาษคลุมขวดอย่างมิดชิด ทั้งนี้เพื่อให้ปลาพักผ่อนอย่างเต็มที่ และป้องกันไม่ให้แมลงหรือมดมาเกาะที่บริเวณขวด ไม่เช่นนั้นปากของปลาบาดเจ็บได้ ด้วยการว่ายน้ำชนขวด เพื่องับเหยื่อช่วงเย็นหลังจากปล่อยปลาตัวเมียและช้อนขึ้นแล้ว ก็ให้อาหารปลา โดยใส่ลูกน้ำลงในขวดประมาณ 7-10 ตัวเขาจะเลี้ยงปลาในลักษณะดังกล่าว ประมาณ 7 วัน"เราเลี้ยง 7 วัน โดยให้ออกกำลังกายทุกวัน ให้อาหารกินพอประมาณ และพักผ่อนเต็มที่ ปลาก็จะแข็งแรงสมบูรณ์ พร้อมแข่งขัน" "อย่างไรก็ตาม ก่อนนำปลาไปกัด ต้องพักผ่อนให้เต็มที่ ประมาณ 2-3 วัน โดยหยุดกิจกรรมออกกำลังกายและอื่น ๆ ออกไป ยกเว้นอาหารยังจำเป็นต้องให้กิน แต่ต้องควบคุมปริมาณคือ หลังจากหยุดออกกำลังเย็นวันแรกให้กินลูกน้ำเต็มที่หรือประมาณ 10 ตัว เย็นวันที่สอง ลดลงเหลือประมาณ 5-6 ตัว เช้าวันที่สาม นำไปแข่งขันได้เลย" ดำ กล่าวเขาบอกว่า อย่างไรก็ตาม ก่อนนำปลาไปประลองหรือแข่งขันเราจะปล่อยปลาตัวเมียลงไปเพื่อให้ปลาตัวผู้ไล่ ประมาณ 1-2 นาที เพื่อออกกำลังกาย ซึ่งจะทำให้ปลาขับถ่ายของเสียออกจากร่างกาย"เมื่อปลาขับถ่ายของเสียออกจากร่างกายหมดแล้ว เราก็ช้อนปลากัดขึ้นมาใส่ในขวดใหม่ โดยส่วนใหญ่จะใช้ขวดขาวกลม (ขวดน้ำปลา) แทนขวดโหลเดิม ทั้งนี้เพื่อสะดวกในการเดินทาง เพราะว่ามีขนาดเล็กกะทัดรัดกว่า""เมื่อเปลี่ยนขวดใหม่ เราก็เปลี่ยนถ่ายน้ำส่วนหนึ่งด้วย โดยคงสภาพน้ำเก่าไว้ ประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ เติมน้ำใหม่ 50 เปอร์เซ็นต์"ก่อนออกเดินทางเขาจะใช้กระดาษห่อหุ้มอย่างมิดชิด เพื่อให้ปลาพักผ่อนเต็มที่ระหว่างเดินทาง

รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะเกือบทุกครั้ง

เมื่อถึงสนามประลองหรือแข่งขัน จะมีนักเลงปลากัดเจ้าถิ่น คอยต้อนรับผู้มาเยือนอยู่แล้ว ซึ่งบางสนามมีปลาเป็นร้อยตัวทีเดียว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสนามเล็กหรือสนามใหญ่"ปัจจุบันนี้มีคนสนใจเรื่องปลากัดกันมาก และต่างคนพยายามเสาะหาปลากัดเก่ง ๆ ทั่วประเทศ รวมทั้งประเทศเพื่อนบ้านด้วย ใครตาถึงหรือมีเส้นสายดีก็มีปลาเก่ง ๆ ไว้ประดับบารมี"อย่างไรก็ตาม ในการประลองนั้น ชัยชนะมิใช่มาจากสายพันธุ์ปลาเท่านั้น ยังมีปัจจัยอื่น ๆ อีกหลายประการ อาทิ น้ำเลี้ยงหรือขั้นตอนการเลี้ยง (ซึ่งได้กล่าวไปแล้ว) และวิธีการเปรียบเทียบคู่ต่อสู้ เป็นต้นเขาบอกว่า ในการเปรียบเทียบปลากัด เพื่อแข่งขันกันนั้น ต้องดูลักษณะผิว หรือเกล็ดคู่ต่อสู้ หากเป็นผิวเรียบหรือเกล็ดมัน แสดงว่า ปลาสมบูรณ์ และแข็งแรงด้วย ตรงกันข้ามถ้าปลาตัวไหนผิวหรือเกล็ดไม่เรียบ และเวลาพองครีบและหางจะกางไม่เต็มที่ แสดงว่าปลาไม่สมบูรณ์นอกจากนี้ เขาจะดูลักษณะปากและสี รวมทั้งท้องของปลาคู่ต่อสู้ด้วย หากปากใหญ่และสีดำเกินไป ก็แสดงว่า มีสายเลือดปลาหม้อสูง ไม่ควรกัด ควรให้ปากและสีคล้าย ๆ กัน แต่ถ้าพบว่า ท้องใหญ่ อ้วน ก็แสดงว่า ปลายังไม่สมบูรณ์ แม้ว่าปากจะใหญ่ ก็ไม่สามารถสู้ปลาที่เลี้ยงมาสมบูรณ์ได้"เราจะใช้วิธีการสังเกตตามลักษณะดังกล่าว ถ้าดูแล้ว คู่ต่อสู้ไม่สมบูรณ์ แม้ว่าขนาดลำตัวจะโตกว่าก็ตาม เราก็ไม่กลัว สามารถแข่งขันประลองฝีมือกันได้เลย รับรองว่า โอกาสแพ้แทบไม่ค่อยมีให้เห็น" ดำ กล่าว

ข้อควรระวัง

ดำ บอกว่า เมื่อนำปลาเข้าสู่สนามประลองควรหากระดาษหรือถุงพลาสติกปิดปากขวดด้วย ทั้งนี้ เพื่อเป็นการป้องกันการวางยา"วงการปลากัดก็เหมือนกับวงการไก่ชน และวัวชน มีการเล่นกันสกปรก คือพยายามเสาะหายาดีหรือสมุนไพร มาใช้ทำลายคู่ต่อสู้กัน เพื่อให้ปลาหรือสัตว์ที่เลี้ยงไว้เป็นฝ่ายชนะ ซึ่งที่ผ่านมามีการใช้กันมาก ดังนั้น ทางที่ดีเราต้องรู้จักป้องกันไว้ก่อนดีกว่า ถ้าแพ้หรือชนะก็ให้อยู่ในเกมแข่งขัน ซึ่งผมมีความภาคภูมิใจมาก"เมื่อผ่านขั้นตอนเทียบคู่ต่อสู้เสร็จแล้ว และถึงเวลาประลอง ดำ บอกว่า ควรมีความระวังเป็นเป็นพิเศษ ไม่ว่าน้ำ หรือภาชนะที่ใช้ ต้องมาจากส่วนกลาง ไม่เช่นนั้นมีสิทธิ์วางยาได้เหมือนกัน ซึ่งส่วนใหญ่มักใช้น้ำกลางกัน กล่าวคือ ซื้อน้ำขวดหรือโพลาริสมาใส่ในขวดโหลที่ทางเจ้าของสนามจัดไว้ให้ จากนั้นช้อนปลาทั้งคู่ลงในสวิง ล้างในน้ำสะอาด แล้วนำใส่ลงในขวดโหลที่เตรียมไว้ต่อสู้ดังกล่าว โดยไม่ให้น้ำเดิมหรือน้ำเก่าปะปนลงในขวดโหลเป็นอันขาด ทั้งนี้เพื่อเป็นการป้องกันยาหรือสิ่งไม่พึงประสงค์เขาบอกว่า ที่ผ่านมาเขาเคยมีประสบการณ์ปลาถูกวางยามาแล้ว 2-3 ครั้ง ซึ่งสังเกตได้จากมีลักษณะผิวหนังหรือเนื้อหลุดออกได้ง่าย นอกจากนี้ตาจะบอดทั้ง 2 ข้างด้วย ทั้ง ๆ ที่ไม่ถูกกัดบริเวณตาเลย"หากเราชอบด้านนี้ก็ต้องรู้จักระวัง ป้องกันไว้ดีกว่า ไม่เช่นนั้นจะเสียเปรียบคู่ต่อสู้ได้" ดำ กล่าว

ที่มา : เทคโนโลยีชาวบ้าน

มุมมองตลาดปลากัดยักษ์

มุมมองตลาดปลากัดยักษ์...ที่กำลังเติบโต
เหตุผลสำคัญที่ทำให้คนไทยหันมาเลี้ยงปลากัดเป็นปลาสวยงามกันมากขึ้น เนื่องจากเป็นปลาที่เลี้ยงง่ายไม่ต้องให้ออกซิเจน ใช้เนื้อที่น้อยและที่สำคัญเป็นปลาที่มีศักยภาพในการพัฒนาสายพันธุ์ให้มีสีสันที่หลากหลายไปได้เรื่อย ๆ “ปลากัด” จัดเป็นปลาพื้นเมืองของบ้านเรา พบการแพร่กระจายไปทั่วทุกภาคของประเทศจะอาศัยบริเวณผิวน้ำ ไม่ว่าจะเป็นหนอง, บึง, แอ่งน้ำ, ลำคลอง ฯลฯ สำหรับต่างประเทศจะพบในประเทศมาเลเซีย, พม่า, ลาว, กัมพูชา และจีน เป็นต้น สำหรับคนไทยแล้วปลากัดถือเป็นกีฬาตามวิถีชาวบ้านที่ได้รับความนิยมทั่วประเทศ โดยเฉพาะในช่วงระหว่างเดือนพฤษภาคม-ตุลาคมของทุกปี คนในพื้นที่ภาคใต้เรื่อยไปจนถึงประเทศมาเลเซียจะนิยมเล่นปลากัดมากกว่าพื้นที่อื่น



วันนี้มีการพัฒนาสายพันธุ์ปลากัดยักษ์จนมีขนาดใหญ่อย่างเห็นได้ชัด จนได้สายพันธุ์ปลากัดยักษ์ที่นิ่งจริงๆ อีกทั้งยังมีสีสันสวยงามมากกว่าเดิม ปลากัดยักษ์ในยุคแรกๆเฉดสีออกมาในลักษณะของปลากัดหม้อธรรมดาปนกันระหว่าง สีเขียว น้ำเงินและแดงซึ่งเป็นสีพื้นฐานของปลากัดหม้อธรรมดาทั่วไป เดี๋ยวนี้เริ่มมีปลากัดยักษ์สีเดี่ยวสวยสด แม้ว่าสีอาจจะยังไม่สวยเท่ากับปลากัดหม้อสี่เดี๋ยวก็ตาม ภูมิประเทศที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ ทำให้มีแหล่งอาหาร แหล่งน้ำ สภาพอากาศที่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิตของปลากัด ด้วยปัจจัยต่างๆเหล่านี้ทำให้สามารถพัฒนาสายพันธุ์ปลากัดยักษ์ให้มีลักษณะที่ดีขึ้นไปอีก ปลากัดไทยสร้างความคึกคักในตลาดปลากัดทั้งในและต่างประเทศ ประเทศไทยเป็นตลาดที่ส่งออกปลากัดสวยงามที่ใหญ่ที่สุดในโลกมาแล้ว จุดนี้ทำให้เราสามารถเพิ่มมูลค่าปลากัดได้ ยังเป็นการนำรายได้เข้าสู่ประเทศไม่น้อยเลยทีเดียว


การพัฒนาสายพันธุ์ในปัจจุบันจะเห็นได้ว่ามีสายพันธุ์และสีใหม่ๆมากมาย ร่วมมือกันพัฒนาสายพันธุ์ มีการแลกสายพันธุ์การพัฒนา เพื่อช่วยกันพัฒนาสายพันธุ์ปลาให้มีความสวยงามและแปลกใหม่ยิ่งขึ้น มีปลาใหม่ออกสู่ตลาดเสมอ ผู้ซื้อมีปลาให้เลือกหลากหลายตามความชอบ ตลาดมีความคึกคักตลอดเวลา ตลาดปลามีความคึกคักเพียงช่วงหนึ่ง เมื่อหมดความนิยมหรือมีปลาออกมาจำนวนมาก ตลาดการซื้อขายปลากลับมาเงียบเหงาซบเซา จนกว่าจะมีปลาสายพันธุ์ใหม่ สีใหม่ออกมาทำความฮือฮาอีกครั้ง การเลือกซื้อปลากัดยักษ์นั้น ต้องมีความรู้พื้นฐาน มีวิธีการดูลักษณะปลาเบื้องต้น มิเช่นนั้นจะได้ปลากัดยักษ์เทียมมาเลี้ยงก็เป็นได้
ปลากัดยักษ์ใหญ่แท้...หรือยักษ์เทียมดูอย่างไร? ในเมื่อตัวใหญ่เหมือนกัน
มีวิธีการดูลักษณะเบื้องต้นดังนี้
1. ลักษณะตัวปลา ปลากัดธรรมดาขนาดใหญ่ที่ขุนด้วยอาหารเม็ด จะมีลักษณะลำตัวออกหนาทางด้านกว้างไม่ได้สัดส่วนเมื่อมองด้านข้าง (SIDE VIEW) มองจากด้านบน (TOP VIEW)
ความกว้างของลำตัวจะแบนไม่สวย เปรียบเทียบกับปลากัดยักษ์แท้ จะมีลักษณะที่ใหญ่และได้รูปสมสัดส่วน คอจะมีลักษณะหนา ลำตัวโค้งมนตามลักษณะสัดส่วนและลาดต่ำไปถึงหางตามลักษณะของปลากัดทั่วไป ข้อหาง ครีบ กระโดง ชายน้ำ จะมีขนาดใหญ่สมดุลกับตัวปลา
2. พฤติกรรมและสุขภาพปลา ปลากัดยักษ์ที่อายุน้อยประมาณ 4 เดือน ความแตกต่างที่เห็นได้ชัดคือ เมื่อเปิดให้ปลาพองใส่กัน ปลาจะมีความปราดเปรียวและคึกคัก บ่งบอกถึงสุขภาพปลาที่ดีและไม่เป็นโรค ผิดกับปลากัดขนาดปกติแต่มีขนาดใหญ่ที่มีอายุมากขึ้น ความคล่องแคล่ว ความปราดเปรียวจะไม่เท่าปลากัดอายุน้อย ซึ่งตรงนี้เป็นข้อสังเกตที่ชัดเจน
3. ร้านขายปลา นับเป็นข้อที่สำคัญมากเลยทีเดียว นอกเหนือจากการสังเกตลักษณะภายนอกด้วยตัวเอง ความเชื่อใจและความซื่อสัตย์ของร้านเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้เราได้ปลาที่มีลักษณะที่ดีตรงตามความต้องการ
จะพิสูจน์ได้อย่างไรว่าท่านได้ปลากัดยักษ์หรือเทียมก็ต่อเมื่อปลาแหวกว่ายอยู่ในตู้ เมื่อให้อาหารตามโครงสร้างตามวัยที่ถูกต้อง ปลาต้องเจริญเติบโต ขึ้นจนเป็นปลากัดยักษ์เต็มวัย มิใช่โตขึ้นเล็กน้อยแล้วหยุดการโตหรือมีลักษณะเนื้อหนา แต่โครงสร้างไม่ได้ขยายขึ้นเลย

ที่มา : nicaonline

สายพันธุ์ปลากัดในประเทศไทย







ที่มา : nicaonline

Thursday, August 14, 2008

ปลากัดกระบี่ (Betta simplex)




ปลากัดกระบี่ (Betta simplex) จัดเป็นปลากัดในกลุ่มอมไข่ที่ค่อนข้างใหม่สำหรับนัก เลี้ยงปลาทั่วไปเพราะเป็นปลาที่เพิ่งถูกค้นพบเมื่อปี 1994 ซึ่งปลากัดกระบี่นั่นจะพบอาศัยอยู่ใน เขตจังหวัดกระบี่และจังหวัดใกล้เคียงเท่านั้น ไม่พบที่ไหนในโลกอีก ทำให้ปลากัดกระบี่มีจำนวน ประชากรในธรรมชาติน้อยและอยู่ในสถานะภาพที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์เพราะถึงแม้ว่าจะยังพบ อยู่มากในถิ่นที่อาศัยแต่ก็มีถิ่นกระจายพันธุ์ที่แคบ เป็นที่น่ายินดีว่าถิ่นอาศัยบางส่วนของปลากัด กระบี่อยู่ในเขตอนุรักษ์ทำให้สบายใจไปได้เปราะหนึ่งว่ายังไงปลาชนิดนี้ก็ได้รับการคุ้มครองตาม สมควร
อย่างไรก็ดีเนื่องจากความสวยงามของปลากัดกระบี่ทำให้มีการจับปลากัดกระบี่เพื่อมา เลี้ยงเป็นปลาสวยงามพอสมควรโดยส่วนใหญ่แล้วปลาจะตายในระยะเวลาอันสั้นเพราะผู้เลี้ยงขาดความรู้และความเข้าใจในการเลี้ยงปลากัดชนิดนี้ ซึ่งถ้าจะเลี้ยงให้ได้ดีนั้นเราควรจะย้อนกลับไป ดูว่าในธรรมชาตินั้นปลากัดกระบี่มีชีวิตความเป็นอยู่อย่างไร
ในธรรมชาติเราสามารถที่จะพบปลากัดกระบี่ได้ในกอหญ้าริมลำธารที่น้ำไหลเอื่อยๆ และรายงานที่ได้รับมานั้นจะเป็นลำธารที่ไหลมาจากภูเขาหินปูนทำให้น้ำมีความกระด้างและมีค่าเป็นด่าง (pH ประมาณ 7.5 – 8.5) ซึ่งจากการสำรวจนั้นไม่พบปลากัดกระบี่ในแหล่งน้ำลักษณะ อื่นโดยมีรายงานว่ามีลำธารบางส่วนที่มีเขตติดต่อกับบึงน้ำที่มีค่าน้ำเป็นกรดก็ไม่พบว่ามีปลากัด กระบี่เข้าไปอาศัยอยู่แต่กลับพบปลากัดทุ่งภาคใต้แทน โดยในทางกลับกัน ก็ไม่พบว่าปลากัดทุ่ง ภาคใต้มาอาศัยอยู่ในลำธารที่น้ำเป็นด่าง ในธรรมชาติมีรายงานพบปลากำลังผสมพันธุ์และอม ไข่ในช่วงปลายฤดูฝนประมาณเดือนตุลาคม
ในที่เลี้ยง
ผมพบว่าปลากัดกระบี่เป็นปลาที่เลี้ยงไม่ยากนักโดยเฉพาะน้ำประปาที่บ้านผมนั้นมีค่า เป็นด่างแถวๆ 7 แก่ๆ และมีความกระด้างพอสมควรตามหลักของน้ำประปาที่ดีทั่วไปทำให้เป็นน้ำ ที่เหมาะกับการเลี้ยงปลากัดกระบี่เป็นอย่างมาก อย่างไรก็ดีสำหรับท่านที่ต้องการให้แน่ใจว่าน้ำ มีความกระด้างเพียงพอก็สามารถที่จะหาหินปูนหรือใช้เศษปะการังมาลองพื้นตู้หรือใส่ลงไปในระบบกรองก็ได้และต้องไม่ลืมว่าปลากัดในกลุ่มอมไข่นั้นไม่ได้มีอวัยวะหายใจอากาศดีเหมือนกับ พวกกลุ่มก่อหวอดดังนั้นพวกเค้าจึงต้องการสถานที่เลี้ยงที่กว้างพอสมควร ผมพบว่าปลาหนึ่งตัวต่อน้ำประมาณ 7-10 ลิตรเป็นอัตราส่วนที่เหมาะสม ซึ่งถ้าเราเลี้ยงในที่กว้าง แบบนี้แล้วอ๊อกซิเจนจากหัวทรายหรือเครื่องกรองก็ไม่มีความจำเป็น แต่ว่าถ้ามีให้ปลาก็จะชอบ มากกว่า ปลากัดกระบี่จะไม่ก้าวร้าวถึงขนาดไล่กัดกันเป็นเรื่องเป็นราว แต่ปลาตัวผู้ก็จะมีการ กระทบกระทั่งกันบ้าง ดังนั้นถ้าเราจะเลี้ยงปลาตัวผู้หลายตัวในตู้เดียวกันก็ควรจะมีที่หลบ เช่น ขอนไม้ ต้นไม้น้ำ กระถาง หรือ ท่อพลาสติก ไว้ให้ต่างตัวต่างอยู่บ้างจะได้ไม่กระทบกระทั่งกัน มากนัก อย่างไรก็ดีถ้าเห็นว่ามีตัวผู้ตัวใดตัวหนึ่งมีความก้าวร้าวผิดปกติก็ควรจะแยกปลาตัวผู้ ตัวอื่นๆ ออก เพราะตัวที่แพ้นั้นจะมีอาการเครียดและอาจจะตายได้ ข้อสำคัญคือตู้ต้องมีฝาปิดให้มิดชิดเพราะปลากัดป่าทุกชนิดกระโดดเก่งมาก โดยเฉพาะช่วงที่มาอยู่แรกๆ
อาหารที่ใช้เลี้ยงปลากัดกระบี่ก็เหมือนกับปลากัดทั่วๆไปคือพวกลูกน้ำ ลูกไร ไส้เดือนน้ำ หนอนแดง และ ไรทะเล นอกจากนั้นผมยังพบว่าปลากัดกระบี่สามารถหัดให้กินอาหารเม็ดได้ด้วย แต่ก็ไม่ควรที่จะให้อาหารเม็ดเป็นอาหารหลัก โดยเฉพาะถ้าต้องการที่จะให้ปลาผสมพันธุ์
การผสมพันธุ์ในที่เลี้ยง
เป้าหมายการเลี้ยงสัตว์ โดยเฉพาะสัตว์ที่มีความเสี่ยงในการสูญพันธุ์นั้นคือการเพาะ พันธุ์ในที่เลี้ยงให้ได้ สำหรับปลากัดกระบี่ซึ่งมีการแพร่กระจายพันธุ์แคบๆ นั้น ทุกท่านที่เลี้ยงอยู่ ควรจะเพาะพันธุ์ให้ได้เพื่อแจกจ่ายหรือจำหน่ายให้กับเพื่อนๆที่อยากเลี้ยงต่อไป ซึ่งการเพาะพันธุ์ ในที่เลี้ยงจะทำให้เราไม่ต้องไปจับปลามาจากธรรมชาติอีกและยังเป็นการช่วยให้แน่ใจว่าจะยังมีปลากัดกระบี่อยู่บนโลกใบนี้ถึงแม้ว่ามันจะสูญเสียที่อยู่ในธรรมชาติไปหมดแล้ว
ในการเพาะพันธุ์สัตว์นั้นเริ่มแรกเลยคือเราต้องพยายามเลียนแบบธรรมชาติที่เค้าเคยอยู่ให้มากที่สุด ซึ่งผมก็ได้กล่าวไปแล้วว่าปลากัดกระบี่ในธรรมชาตินั้นอยู่อย่างไร การเพาะพันธุ์ในที่เลี้ยงควร เริ่มจากการแยกเลี้ยงปลาตัวผู้และเมียไว้ต่างหาก ให้อาหารปลาให้สม่ำเสมอ เมื่อสังเกตุว่าปลา ตัวผู้มีความสมบูรณ์แล้วและปลาตัวเมียก็ท้องแก่มีไข่เต็มที่ เราก็นำปลาทั้งสองมาอยู่ในตู้เดียวกัน โดยในตู้หรือที่เพาะนี่ก็ควรจะมีกระถางขนาดเส้นผ่าสูญกลางประมาณสัก 10 ซม. วางไว้สักกระ ถางเพื่อให้ปลาเข้าไปผสมพันธุ์กัน ซึ่งการกระตุ้นให้ปลาผสมพันธุ์ก็เป็นการเรียนแบบธรรมชาติอีก เช่นการเปลี่ยนน้ำที่ละมากๆโดยทำให้น้ำที่เปลี่ยนใหม่นั้นมีความเย็นกว่าน้ำเดิมสักนิด และเร่ง อ๊อกซิเจนให้แรงขึ้นเพื่อเพิ่มกระแสน้ำ ให้อาหารเพิ่มมากขึ้นกว่าปกติ เพื่อเป็นการเลียนแบบฤดู ฝนที่ปลาผสมพันธุ์ในธรรมชาติ ถ้าทุกอย่างเป็นไปด้วยดี ปลาก็จะจับคู่ผสมพันธุ์กัน โดยการผสม นั้นตัวผู้จะป้อจนตัวเมียยอมเข้าไปในถ่ำที่เตรียมไว้จากนั้นตัวผู้ก็จะทำการรัดให้ไข่ตกลงมา จาก นั้นตัวเมียก็จะเก็บไข่มาอมไว้ และนำมาพ่นให้ตัวผู้ไปอมไว้ แล้วการรัดก็จะเริ่มต้นอีกครั้ง ซึ่งพิธี การที่ผมเขียนมาไม่กี่ประโยคนี้จริงๆแล้วอาจจะนานหลายชั่วโมง เพราะทุกกระบวนการขั้นตอน นั้นชักช้าและลีลามากเหลือเกิน จะให้เปรียบก็คงเหมือนการดู ภราดรแข่งกับฮีวิต เป็นภาพ สโลโมชั่น ตื่นเต้นที่จะได้ดูแต่ก็อึดอัดน่าเบื่อเหลือหลาย ผมเองเคยนอนดูจนหลับคาหน้าตู้มาแล้ว
หลังจากเสร็จสิ้นพิธีการแล้วรอดูสักวันสองวันก็ตักตัวเมียแยกออกมา แล้วถ้าไม่มีอะไร ผิดพลาดปลาตัวผู้จะอมไข่ไว้ประมาณ 12-15 วัน ตัวผู้ก็จะคายลูกปลาตัวใหญ่ๆออกมา ถ้าพลาด เช่น ปลาทั้งคู่ยังเด็กเกินไปทำให้ไข่ฟ่อ, ถ้าตัวผู้เกิดอารมณ์ไม่ดีขึ้นมาเพราะมีคนมากวน หรือ เพราะเกิดนิสัยไม่ดีขึ้นมา ตัวผู้ก็จะกินไข่ไป ซึ่งพฤติกรรมนี่อาจจะเกิดกับปลาหนุ่มหลายครั้งสัก หน่อย อย่างปลาของผมก็กินไข่ไปสัก 6-7 ครั้งได้กว่าจะอมไข่สำเร็จเป็นครอกแรก เท่าที่ผมเคย เพาะมานั้น ครอกแรกได้ลูกเลี้ยงจนโตเต็มที่มาทั้งหมด สิบเก้าตัว และครอกที่สองซึ่งเป็นรุ่นลูกก็ ได้จำนวนประมาณนี้เหมือนกัน ซึ่งก็มีความรู้สึกว่าเยอะแล้ว และก็ยังไม่เข้าใจว่าอัดกันอยู่ในปาก พ่อได้ยังไงกันตั้งนานขนาดนั้น
พอพ่อปลาคายลูกออกมาแล้ว อย่าเพิ่งปล่อยตัวเมียลงไปเพราะถึงตอนนี้ก็ไม่ได้กิน อาหารมาเป็นสิบวันแล้ว ค่อยๆ ขุนให้สมบูรณ์อีกสักเดือนสองเดือนจึงค่อยปล่อยตัวเมียลงผสม พันธุ์อีกครั้งแล้วก็พักยาวสัก 2-3 เดือน อมบ่อยๆเดี๋ยวปลาโทรมครับ
สำหรับลูกปลากัดกระบี่ที่ออกมาจากปากพ่อสามารถที่จะให้ไรทะเลที่เพิ่งฟักใหม่หรือลูกไรกรอง ได้เลย ผมพบว่าหนอนจิ๋วจะเล็กไปสักหน่อยสำหรับลูกปลากัดกระบี่แต่ถ้ามีใครหัดให้กินได้ก็ ง่ายดีเหมือนกัน ลูกปลาจะใช้เวลาสัก 5-7 เดือนถึงจะโตพอที่จะเริ่มผสมพันธุ์ได้ครับ
ขอให้ทุกท่านโชคดีกับปลากัดกระบี่แล้วถ้าใครเพาะได้แล้วอย่าลืมมาโม้ที่เว็บบอร์ดกันบ้างนะครับ
ที่มา : siamensis

ปลากัดหัวโม่ง (Betta prima)

การเพาะพันธ์ ปลากัดหัวโม่ง (Betta prima)

รูปที่ 1

รูปที่ 2

รูปด้านบนนี้เป็นลูกปลาอายุได้ประมาณ 4-5 วันแล้ว


ปลากัดหัวโม่งวัยรุ่น

ถิ่นอาศัยของปลากัดหัวโม่งในธรรมชาติ ถ่ายจากจังหวัดจันทบุรี


ตู้ที่ใช้ในการเพาะพันธุ์นั้นเป็นตู้เลี้ยงพรรณไม้น้ำซึ่งใช้ระบบกรองข้างธรรมดา ระบบใน การเลี้ยงพรรณไม้น้ำค่อนข้างเต็มรูปแบบ มีไฟฟลูออเรสเซนต์ 4 หลอด พร้อมระบบให้คาร์บอนได ออกไซด์ มีพัดลมเป่าลดความร้อนอุณหภูมิในตู้จึงอยู่ที่ประมาณ 28-29 องศาเซลเซียส โดยตลอด ค่าความเป็นกรด-ด่าง(pH)นั้นอยู่ที่ประมาณ 7-7.5 ระบบการทำงานของตู้นั้นระบบไฟและระบบ คาร์บอนไดออกไซด์จะเปิดตั้งแต่ 08.00-18.00 น. ในส่วนของกรองข้างนั้นจะทำงานหลังจากที่ ระบบไฟและคาร์บอนไดออกไซด์ดับแล้วเท่านั้น ตอนกลางวันน้ำจึงนิ่ง ส่วนกลางคืนนั้นน้ำจะไหล เอื่อยๆ เนื่องจากใช้ปั้มน้ำขนาดเล็กเท่านั้น
จากในรูปที่ 1 จะเห็นได้ว่าค่อนข้างจะมีพรรณไม้น้ำจำนวมากในตู้ ซึ่งเป็นสภาพแวด ล้อมที่มีมุมในการหลบหลีกได้ค่อนข้างมาก ทำให้ไม่มีปัญหาในการกัดกันรุนแรงมากนัก นอก จากนั้นยังมีมุมที่จะให้ปลาได้จับคู่กันได้หลายมุมอีกด้วย พรรณไม้น้ำที่เลี้ยงในตู้ก็เป็นพรรณไม้ น้ำโดยทั่วไปเช่น อนูเบียส, มายาก้า, คาบอมบ้าเขียว,คาดามายด์,เทเนลุส ฯลฯ โดยมีการจัดวาง เถาวัลย์ไม้และขอนไม้ที่ใช้ในการแต่งตู้เป็นหลักก่อน ส่วนปลาชนิดอื่นๆ ที่อยู่ร่วมด้วยนั้นก็มีปลา ตระกูล Catfish และ Dwarf cichlid ด้วย ซึ่งจากที่สังเกตปลากัดอมไข่หัวโม่ง ไม่มีปัญหาในการ เลี้ยงรวมกับปลาเหล่านี้เลย การกัดกันจะมีเฉพาะในกลุ่มปลากัดด้วยกันเองเท่านั้น
อาหารที่เลี้ยงนั้นใช้ไส้เดือนน้ำสดให้ทุกวันเช้า-เย็น โดยให้ในปริมาณที่พยายามไม่ให้ เหลือตกค้างในตู้โดยเด็ดขาด เนื่องจากอาจทำให้น้ำเน่าเสียได้ อาหารสดอาจเป็นปัจจัยสำคัญ ที่ทำให้ปลามีความสมบูรณ์พร้อมในการผสมพันธ์ด้วย
การสังเกตความแตกต่างระหว่างปลาตัวผู้และตัวเมียนั้น ในวัยเพาะพันธ์ได้แล้วนั้นจะ ค่อน ข้างสังเกตได้ง่าย โดยปลาตัวผู้จะมีครีบบริเวณกระโดงหลัง หาง และชายน้ำล่าง แหลมออก มา ส่วนปลาตัวเมียนั้นครีบต่างๆจะมีลักษณะกลม มน และบริเวณท้องจะค่อนข้างใหญ่ แต่จะไม่ มีจุดไข่นำเหมือนปลากัดในกลุ่มก่อหวอด
หลังจากปลาอยู่ในตู้ได้ประมาณสามวัน ก็เริ่มสังเกตได้ว่าปลาตัวผู้และตัวเมียจับคู่กัน ในมุมต่างๆกัน ในช่วงระยะนี้ปลาทั้งคู่จะว่ายอยู่ใกล้ๆกันและรัดกันบ่อยครั้ง โดยหลังจากรัดกัน แล้วจะเป็นฝ่ายตัวเมียที่อมไข่ไว้ก่อน หลังจากนั้นตัวเมียจะพ่นไข่ออกมา และจะเป็นตัวผู้ที่คอย รับไข่ไป แต่จากการสังเกตแล้วเหมือนจะเป็นการแย่งกันระหว่างตัวเมียและตัวผู้ เนื่องจากพฤติ กรรมที่เห็นปลาตัวเมียจะพ่นไข่ออกมา หลังจากนั้นก็จะฮุบไข่กลับถ้าตัวผู้ฮุบไข่ไปไม่ทัน แต่หลัง จากนั้นไม่นานก็จะพ่นไข่ออกมาใหม่และจะเป็นตัวผู้ที่ต้องคอยแย่งฮุบไข่ที่พ่นออกมาให้ทัน ขั้น ตอนจะเป็นเช่นนี้ไปจนตัวผู้รับไข่ทั้งหมดไปไว้ในปาก ในช่วงเวลานี้นั้นปลาตัวเมียจะมีนิสัยก้าว ร้าวหวงถิ่นมาก โดยจะคอยว่ายมาไล่ปลาทุกชนิดให้ออกไปจากบริเวณรังโดยตลอด ส่วนปลา ตัวผู้นั้นจะคอยอยู่ในรังเท่านั้น หลังจากตัวผู้ได้รับไข่ทั้งหมดไปแล้ว ลักษณะแก้มของปลาตัวผู้ จะป่องอย่างเห็นได้ชัดตามรูปที่ 2
ในช่วงระยะเวลาที่ปลาตัวผู้อมไข่อยู่นั้น ปลาตัวเมียจะกลับมาอยู่อย่างปรกติจะไม่คอย เฝ้ารังอีก ส่วนปลาตัวผู้จะอยู่แต่ในรังและไม่กินอาหารเลยจนกระทั่งได้คายลูกปลาออกมาทั้งหมด แล้ว ระยะเวลาในการอมไข่จนคายลูกปลาออกมานั้นจะอยู่ในช่วง 7-10 วัน ลูกปลาที่คายออกมา นั้นลักษณะและขนาดจะเหมือนลูกปลาหางนกยูงโดยทั่วไป จากที่เคยทราบมานั้นลูกปลาที่ออก มาอาจจะโดนกินไปจากปลาที่ใหญ่กว่าได้ แต่เนื่องจากเลี้ยงในตู้พรรณไม้น้ำจึงทำให้ลูกปลามี โอกาสหลบตามต้นไม้ต่างๆได้ จากการนับครั้งหลังสุดตอนแยกลูกปลาออกมาอนุบาลอีกตู้นั้น มี ลูกปลาทั้งสิ้น 50 ตัวจากปลาตัวผู้อมไข่ 3 ตัว
ปลากัดหัวโม่ง (Betta prima) เป็นหนึ่งในปลากัดอมไข่ที่พบในประเทศไทยมีถิ่นอาศัย อยู่ตามลำธารน้ำไหลในเขตจังหวัดภาคตะวันออกตอนล่างและเข้าใจว่ามีการกระจายพันธุ์อยู่ในประเทศเขมรด้วย


ที่มา : siamensis

โรคของปลากัด และวิธีรักษา

โรคปลาตัวสั่น - โรคนี้มีสาเหตุไม่แน่นอนเนื่องจากน้ำที่เลี้ยงสกปรกเกินไปหรือเกิดจากในน้ำมีสารพิษ เช่น คลอรีนมากเกินไปก็ได้ ดังนั้นปลาจึงมีอาการตัวสั่น
การรักษา - ต้องรีบเปลี่ยนน้ำที่มีคุณสมบัติเหมาะแก่การเจริญเติบโตให้ใหม่
-----------------------

โรคปรสิต (พยาธิใบไม้และหนอนสมอ) - มักพบตามตัว เหงือก ครีบ มีลักษณะคล้ายเส้นด้ายสั้นๆ ส่วนหนอนสมอ จะเห็นเป็นเส้นด้ายสั้นเกาะอยู่ตามผิวตัว ทำให้ปลาแคระแกรนและอาจตายในที่สุด
การรักษา
1.ใช้ด่างทับทิมละลายในน้ำให้มีความเข้มข้น 2 ppm. / น้ำ 1 ลิตร
2.ใช้กรดน้ำส้มเข้มข้น 1 : 500 แช่ปลานาน 20 วินาที และจะทำซ้ำหลังจากนั้น 3 วันก็ได้
3.ใช้ฟอร์มาลิน 20 หยด / น้ำ 4.5 ลิตร แช่ปลานาน 5-10 นาที
-----------------------

โรคสีลำตัวซีด - โรคนี้เกิดจากมีสัตว์เซลล์เดียวมาเกาะ ทำให้ปลามีการขับเมือกออกจากตัวมากผิดปรกติ ปลาจะมีสีซีด
การรักษา
1.ใช้เมททีลีน บลู หยดลงในน้ำจำนวน 5 หยด / น้ำ 4.5 ลิตร ทำซ้ำเป็นเวลา 1-2 วัน
2.ใช้ยาแอนตีไบโอติค 50 มิลิกรัม / น้ำ 4.5 ลิตร
3.ใช้มาลาไคร์กรีน โดยใช้สารละลายยา 1-2 ซีซี. / น้ำ 1 ลิตร นำปลามาแช่ 3 วันจึงเปลี่ยนน้ำ
-----------------------

โรคกระเพาะลม - โรคนี้จะทำให้ปลาเสียการทรงตัว ปลาที่มีการทรงตัวไม่ดีอาจจะท้องหงายขึ้นลอยตามผิวน้ำ หรือจมอยู่ที่พื้นราบ
การรักษา - สำหรับโรคนี้ไม่สามารถทำการรักษาได้ ตายสถานเดียว
-----------------------

โรคเชื้อแบคทีเรีย - โรคนี้มีอาการปรากฏคือ มีอาการท้องบวมและมีของเหลวในช่องท้องมาก แต่ไม่มีอาการเกล็ดตั้งขึ้น
การรักษา - แช่ไว้ในยาปฏิชีวนะ เช่น ออกซิเทตราไซคลินหรือคลอแรมฟินิคัล ที่มีความเข้มข้น 10-20 ส่วนในล้านส่วนและต้องเปลี่ยน น้ำยาแช่ใหม่ทุกวันและเติมยาให้มีความเข้มข้นเท่าเดิมทุกครั้ง โดยแช่ติดต่อกัน 3-5 วัน
-----------------------

โรคตาโปน - เกิดจากแบคทีเรีย หรือหลังจากการได้รับบาดแผลเป็นรอยถลอกบริเวณใกล้ๆ นัยน์ตา ตาจะปูดปวมขึ้นมาและโปนกว่า ปกติมาก
การรักษา - โดยการจับปลาไปแช่ไว้ในน้ำที่มีใบหูกวาง 2-3 วัน อาการตาปูดก็จะหายไป อนื่งยางของใบหูกวางที่ละลายอยู่ในน้ำจะช่วยรักษาแผลต่างๆ ได้เป็นอย่างดีเช่นกัน
-----------------------

โรคท้องมาร - โรคนี้เนื่องมาจากเชื้อไวรัส ปลาที่เป็นโรคท้องมารเกล็ดจะชี้ตั้งขึ้น ส่วนท้องจะบวมเนื่องจากมีของเหลวภายในช่องท้อง
การรักษา
1.ใช้ Chloromycetin ใส่ในน้ำ 50-100 mg. / น้ำ 4.5 ลิตร
2.ใช้ Para-chlorophenoxethol เข้มข้น 1.20 มิลลิลิตร / น้ำ 4.5 ลิตร ค่อยๆใส่จนถึง 24 ช.ม.
3.โดยการเจาะลำตัวปลาบริเวณเหนือช่วงเปิด แต่การรัษาโดยวิธีนี้ต้องอาศัยความชำนาญเป็นพิเศษ อย่าให้ถูกอวัยวะ ภายในเป็นอันขาด
-----------------------

โรคครีบเปื่อยหางเปื่อย - โรคนี้จะแสดงอาการได้ชัด คือเห็นว่าครีบและหางขาดและอาจลามถึงโคน ทำลายเนื้อเยื่อบริเวณโคนหาง
การรักษา - โดยให้ปลาได้รับ acration ร่วมกับการใช้ยาเพนนิซิลิน 15,000 หน่วย / น้ำ 1 แกลลอน
-----------------------

โรคราที่ปาก - โรคนี้เกิดจากแบคทีเรียบริเวณปากและกระจายไปอย่างรวดเร็ว ลักษณะเป็นเส้นสีขาวและดำรอบริมฝีปาก ทำให้ปลาไม่ยอมกินอาหาร เนื่องจากปลาเจ็บปาก และเป็นไข้
การรักษา
1.ใช้ยาเพนนิซิลิน 100,000 หน่วย / น้ำ 4.5 ลิตร
2.ใช้ยา Antibiotic ทีใช้กับโรคจุดขาวก็ใช้ได้
3.ใช้ยาเพนนิซิลิน ยานี้จะไม่เป็นอันตรายต่อปลาและสะดวกต่อการใช้ ถ้ายังไม่หายให้เพิ่มอัตตราการใช้เป็น 200,000 หน่วย / น้ำ 4.5 ลิตร ปลาจะหายภายในไม่กี่วัน
-----------------------

โรคเชื้อรา - โรคนี้เกิดต่อเมื่อปลาได้รับบาดเจ็บหรืออ่อนแอ ปลาจะมีลักษณะผิวเป็นปุยสีขาว คล้ายสำลีตามลำตัว หรืออาจมีเส้นราเกิดขึ้น ถ้าไม่ได้รับการรักษาทันที ราจะกระจายและทำอันตรายเนื้อเยื่อของปลาและอาจถึงตายได้
การรักษา
1.ใช้ "มาลาไคท์ กรีน" เข้มข้น 60 ppm. หรือ 1:15,000 และนำปลาแช่ 30 นาที ถ้าไม่หายก็ทำซ้ำอีก
2.ใช้เกลือแกง ค่อยๆใส่ลงในน้ำ ปลาจะทนความเข้มข้นได้ 0.5 % โดยเติมสารละลายเกลือ 1 ช้อนชา / น้ำ 4.5 ลิตร ทุก 2-3 ช.ม. จนครบ 5 ช้อนพอดี จึงหยุดเพิ่มความเข้มข้นของเกลือแกง ในน้ำนี้ ใช้เวลา 1-2 วัน
-----------------------

โรคสนิม - โรคนี้จะมีละอองสีเหลืองคล้ายกำมะหยี่ เกาะตามผิวหนัง ลำตัวและเหงือกของปลา จนทั่วตัว ต่างกับโรคจุดขาวคือ มีสีเหลืองเล็กและเข้มกว่า
การรักษา
1.ใช้เกลือแกงเข้มข้น 1% แช่ปลาไว้นาน 24 ช.ม. ควรทำซ้ำทุก 2 วัน
2.ใช้เมททีลีน บูล อัตตรา 10 หยด / น้ำ 4.5 ลิตร ประมาณ 2 สัปดาห์
3.ใช้ยาเหลือง (Acriflavine) 4 มิลิลิตร / น้ำ 4.5 ลิตร และทำซ้ำจากครั้งแรก 1 สัปดาห์
4.ยา Antibiotic ใช้เหมือนกับโรคจุดขาว
-----------------------

โรคจุดขาว - จะเห็นเป็นจุดขาวๆบริเวณตัวปลาและติดต่อกันได้ด้วย
การรักษา
1.ใช้เมททีลีน บลู หยดลงในน้ำจำนวน 5 หยด / น้ำ 4.5 ลิตร ทำซ้ำเป็นเวลา 1-2 วัน
2.ใช้ยาแอนตีไบโอติค 50 มิลิกรัม / น้ำ 4.5 ลิตร
3.ใช้มาลาไคร์กรีน โดยใช้สารละลายยา 1-2 ซีซี. / น้ำ 1 ลิตร นำปลามาแช่ 3 วันจึงเปลี่ยนน้ำ
-----------------------


ที่มา : koratbetta