ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี

Wednesday, August 5, 2009

ไรน้ำนางฟ้า


ไรน้ำนางฟ้าเพศผู้

ไรน้ำนางฟ้าเพศเมีย
ไรน้ำนางฟ้าสิรินธร


ไรน้ำนางฟ้าไทย




บ่อที่ใช้เลี้ยงไรน้ำนางฟ้า



ตัวอ่อนไรน้ำนางฟ้า


ไข่ของไรน้ำนางฟ้า

ชุดเพาะเลี้ยงไรน้ำนางฟ้า


ชุดเพาะเลี้ยงไรน้ำนางฟ้า 1 ชุด ประกอบไปด้วย

1.ไข่ไรน้ำนางฟ้าพันธ์ไทย 20,000 ฟอง (ราคาท้องตลาด 10,000 ฟอง/200 บาท)

2.หัวเชื้อน้ำเขียว และปุ๋ยสำหรับใช้ทำอาหารไรน้ำนางฟ้า

3.เชื้อจุลินทรีย์ เพื่อควบคุมคุณภาพน้ำ
ไรน้ำนางฟ้าเป็นสัตว์น้ำจืดชนิดหนึ่งคล้ายกุ้ง คนพื้นบ้านเรียก แมงอ่อนช้อย แมงแงว แมงหางแดง และแมงน้ำฝน จัดอยู่ใน ไฟลัมอาร์โทรโปดา ไฟลัมย่อยครัสเตเซีย คลาสแบรงคิโอโปดา อันดับอะนอสตราคา แต่ไม่มีเปลือกแข็งหุ้ม จัดอยู่ในประเภท สัตว์โบราณ เนื่องจากมีขาว่ายน้ำจำนวน 11 คู่ และมีพฤติกรรมว่ายน้ำแบบหงายท้องโดยใช้ขาช่วยกรรเชียงนำโบกพัดอาหารเข้าปาก ตัวผู้มีขนาดใหญ่ กว่าตัวเมียเล็กน้อย ลำตัวยาวโดยเฉลี่ย 2 เซนติเมตร ส่วนหางแยกเป็นสองแฉกมีสีแดงส้ม บริเวณหัวมีตาขนาดใหญ่ มีก้านตายาว 1 คู่ มีหนวด 2 คู่ หนวดคู่ที่ 2 ของตัวผู้เปลี่ยนแปลงไปใช้สำหรับการจับตัวเมีย เวลาผสมพันธุ์และใช้เพื่อการจำแนกชนิด ตัวเมียมีถุงไข่ 1 ถุง อยู่บริเวณกลางลำตัวด้านท้อง ไข่ที่ตัวเมียสร้างขึ้นจะพัฒนาให้มีเปลือกหนา เป็นการปรับตัวเพื่อที่จะอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำชั่วคราว เช่น คลองข้างถนน นาข้าว และปลักควายที่มีน้ำขังเฉพาะหน้าฝนเท่านั้น สำหรับอาหารของไรน้ำนางฟ้า ได้แก่ แพลงก์ตอนสัตว์ โปรโตซัว อินทรียสารและแพลงก์ตอนพืช

ในประเทศไทยพบไรน้ำนางฟ้าชนิดใหม่ของโลก 3 ชนิด คือ

1. ไรน้ำนางฟ้าสิรินธร (Streptocephalus sirindhornae Sanoamuang, Murugan, Weekers & Dumont, 2000) ลำตัวใสหรือสีฟ้า หางแดง ลำตัวยาวประมาณ 1.5-3.0 เซนติเมตร ไข่เป็นรูปวงกลมคล้ายตะกร้า เป็นชนิดที่แพร่หลายกว่าชนิดอื่น

2. ไรน้ำนางฟ้าไทย (Branchinella thailandensis Sanoamuang, Saengphan & Murugan, 2002) มีลำตัวสีส้มแดงตลอดทั้งตัว ตัวยาวประมาณ 1.7-4.0 เซนติเมตร ไข่เป็นรูปวงกลมคล้ายตะกร้อแต่มีขนาดใหญ่กว่าไรน้ำนางฟ้าสิรินธร


3. ไรน้ำนางฟ้าสยาม (Streptocephalus siamensis Saengphan & Sanoamuang) ลำตัวใสหรือสีฟ้าอ่อน คล้ายไรน้ำนางฟ้า สิรินธร แต่มีขนาดเล็กกว่า โดยมีตัวยาวประมาณ 1.1-2.0 เซนติเมตร ไข่มีลักษณะเป็นสามเหลี่ยมคล้ายปิระมิด และเป็นชนิดที่หายากมาก

คุณค่าทางโภชนาการของไรน้ำนางฟ้า มีโปรตีน 64.94 % ไขมัน 5.07 % คาร์โบไฮเดรต 17.96 % มีความเข้มข้นของสารกลุ่มแคโรทีนอยด์สูงถึง 1,143 ไมโครกรัมต่อน้ำหนักแห้ง 1 กรัม จึงเหมาะที่จะนำมาเป็นอาหารของปลาสวยงาม เพื่อเร่งสีสันทำให้ปลามีความสวยงามมากยิ่งขึ้น

จากการสำรวจของ ศ.ดร.ละออศรี เสนาะเมือง คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งเป็นท่านแรกที่ค้นพบไรน้ำ นางฟ้าชนิดใหม่ของโลก ซึ่งได้เดินทางไปสำรวจและเก็บตัวอย่างสัตว์น้ำขนาดเล็กจำพวกแพลงก์ตอนในแหล่งน้ำจืดเขตร้อนทางภาคตะวัน ออกเฉียงเหนือไปจนถึงภาคตะวันออกและภาคใต้ จนกระทั่งปลายฤดูฝนในปี พ.ศ. 2536 ได้พบไรน้ำนางฟ้าเพศเมียแต่ไม่พบไรน้ำนางฟ้า เพศผู้ ต่อมาปี พ.ศ. 2541 ได้สำรวจพบไรน้ำนางฟ้าทั้งเพศผู้และเพศเมีย ซึ่งเป็นตัวเต็มวัย ทั้งยังได้จำแนกชนิดจากที่ในโลกมี 50-60 ชนิด สำหรับไรน้ำนางฟ้าชนิดแรกที่พบในจังหวัดหนองบัวลำภู มีลักษณะแตกต่างกับที่พบในแหล่งอื่น ๆ ของโลก โดยได้รับพระราชทานชื่อว่า ไรน้ำนางฟ้าสิรินธร หลังจากนั้นได้พบไรน้ำนางฟ้าชนิดที่ 2 จึงให้ชื่อว่า ไรน้ำนางฟ้าไทย ในขณะเดียวกันได้ทำการเก็บตัวอย่างเพิ่มเติม พบไรน้ำนางฟ้าชนิดใหม่อีกให้ชื่อว่า ไรน้ำนางฟ้าสยาม โดยพบที่จังหวัดสุพรรณบุรีและกาญจนบุรี ไรน้ำนางฟ้าสองชนิดเป็นสัตว์น้ำประจำถิ่น ของไทย ลักษณะลำตัวใส ๆ หางมีสีแดงหรือสีส้ม แต่ไรน้ำนางฟ้าสยามยังพบที่ประเทศลาว ซึ่งช่วงหนึ่งของชีวิตไรน้ำนางฟ้าต้องการอยู่ใน พื้นที่น้ำแห้ง ไข่มีเปลือกหนา เป็นซีส อยู่ในพื้นดินเมื่อฝนตกไข่ไรน้ำนางฟ้าได้รับน้ำฝนก็จะพัฒนาฟักเป็นตัวโดยจะพบในบ่อเล็กบ่อน้อย ส่วนบ่อหรือบึงขนาดใหญ่จะไม่พบไรน้ำนางฟ้า

ทั่วทุกภาคของประเทศไทยสามารถเพาะพันธุ์ไรน้ำนางฟ้าได้ โดยปัจจัยที่สำคัญที่สุด คือ น้ำสะอาด ในธรรมชาติภายหลังจาก ฝนตก 1 เดือนมีน้ำขัง ก็จะพบไรน้ำนางฟ้าในแหล่งน้ำ โดยเฉพาะทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

วัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นในการใช้เพาะพันธุ์ไรน้ำนางฟ้า มีดังนี้

1. ภาชนะ
1.1 บ่อซีเมนต์ทรงกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เมตร ลึก 50-100 เซนติเมตร ซึ่งสะดวกในการใช้เป็นอย่างมาก
1.2 กะละมัง ขนาดขึ้นอยู่กับความต้องการใช้เลี้ยงไรน้ำนางฟ้า
1.3 ถังพลาสติกสีดำ
1.4 บ่อดิน ขนาดที่เกษตรกรนิยมใช้ คือ 0.5-1 ไร่ บ่อดินดีที่สุดเพราะไม่ต้องเติมอากาศ เป็นแบบธรรมชาติ ไม่ต้องให้ อาหารเสริม ไรน้ำนางฟ้าสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ สภาพการเติมอากาศเป็นแบบ Air Water Link คือ ให้น้ำข้างล่างขึ้นมาข้างบน หรือใช้ หัวทรายหรือระบบกรองที่ใช้ในการเลี้ยงปลาสวยงาม

2. แสงแดด ไรน้ำนางฟ้าต้องการแสงแดดด้วย เพื่อช่วยในการสังเคราะห์อาหารของไรน้ำนางฟ้า สำหรับบ่อดินเป็นบ่อเปิดรับ แสงแดดได้ทั่วทั้งบ่อ หากสร้างโรงเรือนต้องให้ได้รับแสงอาทิตย์ด้วย โรงเรือนแบบเปิดในช่วงฤดูร้อน ควรทำหลังคามีสแลนคลุมบังพื้นที่ 50 % หากเป็นช่วงฤดูหนาวไม่ค่อยมีแสงแดดจะเปิดสแลนออกให้ได้รับแสงแดด 100%


3. น้ำ มีน้ำสะอาดเพื่อใช้ในการเลี้ยงเหมือนสัตว์น้ำทั่วไป เช่น น้ำประปา และน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติ ไรน้ำนางฟ้าไม่จำเป็น ต้องใช้อุปกรณ์ราคารแพง น้ำประปาเหมาะสมที่สุด แต่ต้องเป็นน้ำที่ปราศจากคลอรีน โดยเปิดน้ำประปาทิ้งไว้อย่างน้อย 24 ชั่วโมง เพื่อให้คลอรีนเจือจางลง เพราะคลอรีนจะมีผลกระทบภายหลังการฟักตัวของไรน้ำนางฟ้า จากนั้นใช้ระยะเวลา 24 ชั่วโมง ไข่จะฟักเป็นตัว เมื่อลูกไรน้ำนางฟ้ามีอายุ 10-12 ชั่วโมงต้องให้อาหาร มิฉะนั้นตัวอ่อนจะตาย

ไรน้ำนางฟ้ากินอาหารจำพวกสาหร่าย อินทรียสาร แบคทีเรีย และอาหารที่ให้กินก็หาได้ง่าย เช่น น้ำเขียว การทำน้ำเขียว โดยหาหัวเชื้อน้ำเขียวได้จากสถานีประมงซึ่งตั้งอยู่เกือบทุกจังหวัด แล้วนำมาขยายปริมาณ ส่วนผสมการทำน้ำเขียวประกอบด้วย ปุ๋ยยูเรีย ปุ๋ยสูตร 16-20-0 รำข้าว ปูนขาว การเพาะน้ำเขียวต้องอาศัยแสงแดด ในกรณีที่เป็นบ่อซีเมนต์ทรงกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เมตร ต้องมีจำนวน 3-4 บ่อ เพื่อสำรองผลิตน้ำเขียวให้มีปริมาณเพียงพอต่อการขยายพันธุ์ไรน้ำนางฟ้า


การให้อาหารจะให้วันละ 2 ครั้ง คือ ตอนเช้าและตอนเย็น แต่ที่ศูนย์วิจัยอนุกรมวิธานประยุกต์จะใช้ระบบน้ำหยด โดยน้ำเขียว ค่อย ๆ หยดผ่านท่อแอสรอนครั้งละ 1-2 หยดเติมครั้งเดียวใช้ได้ 1-2 วัน ถ้าเลี้ยงไรน้ำนางฟ้าอัตราความหนาแน่นเกิน 30 ตัวต่อลิตร ต้องให้ อาหารมากสักหน่อย การสังเกตุความสมบูรณ์ของไรน้ำนางฟ้าตัวอ่อนสมบูรณ์จาก ทางเดินอาหารมีสีเขียว ท่อลำไส้จะยาว ถ้าใส่อาหารเยอะ น้ำเขียวมากจะเป็นที่สะสมของของเสียซึ่งไม่เป็นผลดีต่อการดำรงชีวิตของไรน้ำนางฟ้า


วงจรชีวิตของไรน้ำนางฟ้า ไข่ไรน้ำนางฟ้าใช้เวลาฟักเป็นตัวประมาณ 24 ชั่วโมง เมื่อมีอายุ 8-9 วันจะเจริญเติบโตมีไข่และ พัฒนาขยายพันธุ์ได้อีกทุก ๆ วัน โดยเฉลี่ยวางไข่วันละ 1 ครั้ง ครอกละ 500 ฟอง หากเป็นบ่อดิน ไข่จะไปกองบริเวณพื้นบ่อทำให้ไม่สามารถ เก็บไข่ได้ ถ้าเป็นกะละมังหรือบ่อซีเมนต์จะเก็บไข่ได้ง่ายกว่า การป้องกันไข่ไรน้ำนางฟ้าติดไปกับน้ำที่ระบายทิ้ง ขอแนะนำให้ใช้ผ้ากรองปิดที่ ปลายท่อระบายน้ำทิ้ง นำไข่มาแช่น้ำ 2 สัปดาห์ แล้วนำมาทำให้แห้งเพื่อเก็บไว้ขยายพันธุ์ในครั้งต่อไป ซึ่งถือเป็นเคล็ดลับ มิฉะนั้นจะทำให้ การเพาะพันธุ์ไรน้ำนางฟ้าไม่ประสบผลสัมฤทธิ์ หากไข่ที่ผ่านการแช่น้ำแล้ว เปอร์เซ็นต์การฟักจะสูงถึงร้อยละ 90 ไข่ไรน้ำนางฟ้ามีขนาด เล็กกว่าไข่อาร์ทีเมียและเป็นไข่จมน้ำ ส่วนไข่อาร์ทีเมียจะลอยน้ำ ไรน้ำนางฟ้าไทยมีอายุขัย 25-30 วัน ไรน้ำนางฟ้าสยายมีอายุขัย 69-119 วัน


ประโยชน์ของไรน้ำนางฟ้า

1. ใช้ในวงการเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ เช่น การเพาะพันธุ์กุ้งกุลาดำ กุ้งขาว กุ้งก้ามกราม

2. ใช้ในการเลี้ยงปลาสวยงาม เช่น ปลาหมอสี


3. ใช้ในการปรุงอาหาร เช่น แกง หมก


4. ใช้ทดแทนการนำเข้าอาร์ทีเมียที่ต้องสั่งซื้อจากต่างประเทศ ช่วยลดภาวะการขาดดุลของประเทศ


5. สามารถเสริมสร้างอาชีพและรายได้ให้ผู้ประกอบการ