ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี

Friday, December 28, 2012

ปลากัดหางมงกุฎ หรือปลากัดคราวน์เทล

ปลากัดหางมงกุฎ หรือปลากัดคราวน์เทล
เป็นปลากัดที่ได้รับการพัฒนาสายพันธุ์ขึ้นใน พ.ศ. ๒๕๔๓ โดยนักเพาะเลี้ยงปลากัดชาวสิงคโปร์ เป็นปลากัดสายพันธุ์ใหม่ที่มีหางจักเป็นหนามเหมือนมงกุฎ และเป็นสายพันธุ์หนึ่งที่ได้รับความนิยมเลี้ยงกันมากในปัจจุบัน ลักษณะสำคัญของปลากัดชนิดนี้คือ ก้านครีบจะโผล่ยาวออกไปจากปลายหาง ลักษณะดูเหมือนหนาม ซึ่งอาจยาวหรือสั้นแตกต่างกันออกไป เช่นเดียวกับลักษณะการแยกของปลายหนาม และการแยกการเว้าโคนหนามก็มีหลายรูปแบบ ปลากัดหางมงกุฎที่สมบูรณ์จะมีครีบหางแผ่เต็มซ้อนทับได้แนวกับครีบอื่นๆ และส่วนของหนามมีการจัดเรียงในรูปแบบที่สวยงามสม่ำเสมอ 

วิธีทำปลากัดคราวน์เทลยักษ์



พ่อพันธุ์ คัดเลือกพ่อพันธุ์ที่เป็นปลากัดหม้อยักษ์โดยเลือกพ่อพันธุ์ที่มีขนาดตั้งแต่ 3 นิ้วขึ้นไป (วัดตั้งแต่หัวถึงโคนหาง) ข้อสำคัญพ่อพันธุ์ต้องอายุไม่เกิน 6 เดือน เพราะช่วงอายุดังกล่าวถือเป็นช่วงวัยฉกรรจ์ ทำผลผลิตได้ดีนักแล ในเรื่องของสีสันขึ้นอยู่กับความชอบของผู้ทำ

แม่พันธุ์ เลือกตัวเมียที่เป็นคราวเทลชนิดที่มีหนามสวย ๆ และต้องตัวใหญ่มีความสมบูรณ์ เป็นตัวที่ใหญ่กว่าตัวอื่น ๆ ในครอกเดียวกันได้ยิ่งดี และควรมีอายุไม่เกิน 5 เดือน 

     เมื่อได้พ่อแม่พันธุ์แล้วทำการผสมพันธุ์กันได้เลย ซึ่งจะได้ลูกปลาในรุ่นที่ 1 เลือกเอาเฉพาะหัวปลาที่โตเร็วแยกออกมาขุนเลี้ยงต่างหาก โดยเริ่มทำการคัดแยกเมื่อลูกปลาอายุได้ประมาณ 1 เดือน จะทำให้ได้ลูกปลาที่โตเร็วประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ เลี้ยงลูกปลาที่คัดแยกแล้วในรุ่นที่ 1 จนเห็นฟอร์มปลา เพื่อจะนำมาคัดเป็นพ่อแม่พันธุ์ในรุ่นต่อไป ทำไปเรื่อย ๆ อย่าท้อเด็ดขาด ที่สำคัญส่วนที่เหลือจากการคัดให้ตัดใจปล่อยทำบุญทำทานไปเสียอย่าเสียดาย ทำการคัดแยก และผสมกันไปอย่างต่อเนื่องสัก 4 รุ่น ก็จะได้ปลากัดคราวเทลยักษ์ฟอร์มสวย ๆ อย่างที่กล่าว ข้อสำคัญของคราวเทลยักษ์นั้นอยู่ที่หนาม ๆ ปลาต้องสวย การแตกของหนามต้องเป็นระเบียบสิ่งเหล่านี้คือสิ่งที่สำคัญสำหรับผู้ที่คิดทำคราวเทลยักษ์ ขอให้มีความสุขกับการพัฒนาสายพันธุ์ปลากัดกันนะครับ

ปลากัดภูเขา หรือ ปลากัดปีนัง



ปลากัดภูเขา หรือ ปลากัดปีนัง ปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Betta pugnax อยู่ในวงศ์ Macropodinae ซึ่งอยู่ในวงศ์ใหญ่ Osphronemidae รูปร่างและคล้ายปลากัดทั่วไป 

แต่มีลำตัวป้อมใหญ่กว่า หัวโต ครีบหางใหญ่ ตัวผู้มีสีน้ำตาลคล้ำ ข้างแก้มสีฟ้าเหลือบเขียว เกล็ดมีจุดสีฟ้าเหลือบทั้งตัว ครีบสีน้ำตาลอ่อน ครีบหลังและครีบหางมีลายเส้นประสีคล้ำ 

ครีบก้นมีขอบดำ ตัวเมียสีน้ำตาลอ่อน และมีแถบสีคล้ำพาดตามแนวยาวของลำตัว ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 5-7 เซนติเมตร

พฤติกรรมของปลากัดชนิดนี้ ไม่เหมือนปลากัดจำพวกก่อหวอด อย่าง ปลากัดภาคกลาง (B. splendens) หรือ ปลากัดอีสาน (B. smaragdina) เนื่องจากการผสมพันธุ์และวางไข่ ปลาตัวผู้จะไม่ก่อหวอดแต่จะอมไข่ไว้ในปากจนฟักเป็นตัว (Mouthbrooder) 

ทั้งนี้เชื่อว่าเป็นเพราะสภาพแวดล้อม ที่ปลากัดภูเขาอาศัยอยู่ คือ ลำธารที่น้ำไหลเชี่ยวแรงบนภูเขา อีกทั้งปลากัดจำพวกนี้ไม่มีนิสัยดุร้าย ก้าวร้าว เหมือนพวกปลากัดก่อหวอด 

จึงสามารถพบอยู่กันเป็นฝูงได้หลาย ๆ ตัว อีกทั้งอวัยวะที่ช่วยในการหายใจ (Labyrinth) ทำงานได้ไม่สมบูรณ์เท่าปลากัดก่อหวอด

พบกระจายอยู่ทั่วไปในแหล่งน้ำบนภูเขา ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในประเทศไทย พบได้เฉพาะภาคใต้เท่านั้น

จัดเป็นหนึ่งใน 4 ชนิด (Species) ของปลากัดประเภทอมไข่ที่พบในประเทศไทย อีก 3 ชนิดนั้น ได้แก่ ปลากัดหัวโม่ง (B. prima) ปลากัดกระบี่ (B. simplex) และปลากัดน้ำแดง หรือ ปลากัดช้าง (B. pi)