Wednesday, August 20, 2008
ลักษณะของปลากัด
ปลากัดถูกจัดอยู่ในดันดับ (Order) Perciformes ครอบครัว (Family) Belontiidae ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Betta splendens Regan เป็นปลาพื้นเมืองของไทย พบแพร่กระจายทั่วไปทุกภาคของประเทศไทย อาศัยอยู่ในอ่างเก็บน้ำ ทะเลสาบ หนอง บึง แอ่งน้ำ ลำคลอง ฯลฯ ในบริเวณที่มีระดับน้ำตื้น ๆ น้ำค่อยข้างใส น้ำนิ่งหรือ ไหลเอื่อย ๆ มีพันธุ์ไม้น้ำขึ้นประปรายชอบว่ายน้ำช้า ๆ บริเวณผิวน้ำ เป็นปลาที่มีขนาดเล็ก ลำตัว ยาว แบนข้าง หัวเล็ก ปากขนาดเล็กเชิดขึ้นด้านบนเล็กน้อย มีฟันที่ขากรรไกรบน และขากรรล่าง มีเกล็ดปกคลุมหัวและลำตัว ความยาวจาก ปลายจงอยถึงโคนหางยาว 2.9 - 3.3 เท่าของความกว้าง ลำตัว และ 3.0-3.3 เท่าของความยาวหัว จุดเริ่มต้นของครีบหลังอยู่ค่อนไปทางด้านหาง หลังจุดเริ่ม ต้นของครีบก้น ครีบหลังมีก้านครีบเดี่ยว 1-2 ก้าน ก้านครีบแขนง 7-9 ก้าน ครีบก้นมีฐานครีบยาว มาก เริ่มจากครีบท้องไปสุดที่โคนครีบ หาง มีก้านครีบเดี่ยว 2-4 ก้าน และก้านครีบแขนง 21-24 ก้าน ครีบอกมีขนาดเล็กกว่าครีบอื่น ๆ ปลากัดไม่มีเส้นข้างตัว กระดูกที่อยู่ด้านหน้าของตา ( Preorbital ) มีขอบเรียบ มีอวัยวะพิเศษช่วยในการหายใจนอกจากเหงือก เรียก Labyrinth organ อยู่ในโพรงอากาศหลังช่องเหงือก มีลักษณะ เป็นเนื้อเยื่อที่มีรอยยักและมีเส้นเลือดฝอยมาหล่อเลี้ยง มากมาย แต่ในปลาวัยอ่อนจะไม่พบอวัยวะช่วยหายใจดังกล่าว จะเริ่มเกิดเมื่อปลามีอายุ 10 วัน จาก การที่ปลากัดต้องใช้อวัยวะช่วยในการหายใจ ทำให้ปลาต้องโพล่ขึ้นมาฮุบอากาศที่ผิวน้ำเสมอ และ จากสาเหตุนี้ทำให้ปลากัดสามารถอยู่ในน้ำที่ไม่มี ออกซิเจนได้ปลากัดมีนิสัยก้าวร้าว ปลาเพศผู้ จะต่อสู้กันและชอบทำร้ายปลาเพศเมียในเวลาผสมพันธุ์ แต่ในปลาวัยอ่อนยังไม่พบว่ามีพฤติกรรม ก้าวร้าว ปลาเริ่มแสดงนิสัยจวบยก้าวร้าวเมื่ออายุได้1.5 - 2 เดือน และจากลักษณะนิสัยนี้เองทำ ให้ประเทศไทยมีประวัติการใช้ปลากัดต่อสู้กันทั้งเพื่อเกมกีฬา และการพนัน จนเป็นที่รู้จักกันทั่วโลก มานับร้อยปีแล้ว ในการเลี้ยงปลากัดเพื่อต่อสู้นั้นมีการคัดเลือกพันธุ์ให้มีคุณสมบัติเฉพาะที่สามารถ ใช้ในการต่อสู้ โดยเริ่มต้นจากการรวบรวมปลาจากแหล่งน้ำธรรมชาติที่เรียกกันว่า ปลากัดป่า หรือ ปลากัดทุ่ง ที่มีลำตัวค่อนข้างเล็กบอบบาง สีน้ำตาลขุ่น หรือเทาแกมเขียว นำมาเพาะเลี้ยงและคัด พันธุ์หลายชั่วอายุ จนได้ปลาที่มีรูปร่างแข็งแรง ลำตัวหนาและใหญ่ขึ้น ว่ายน้ำปราดเปรียว สีสันสวย สด เช่น สีแดงเข้ม น้ำเงินเข้ม น้ำตาลเข้ม หรือสีผสมระหว่างสีดังกล่าว และเรียกปลากัดที่ได้จากการ คัดพันธุ์เพื่อการต่อสู้นี้ว่า ปลากัดหม้อ ปลากัดลูกหม้อ หรือปลากัดไทย มีผู้พยายาม คัดพันธุ์ปลากัด โดยเน้นความสวยงามเพื่อเลี้ยงไว้ดูเล่น โดยคัดพันธุ์เพื่อให้ได้ปลาที่มีครีบยาว สีสวย จนปัจจุบัน ประเทศไทยสามารถผลิตปลากัดที่มีสีสัน สดสวยมากมายหลายสี เช่น เขียว ม่วง แดง น้ำเงิน ฯลฯ กับ ความยาวลำตัวและหัวรวมกัน ซึ่งนิยมเรียกปลากัดลักษระเช่นนี้ว่า ปลากัดจีน หรือปลากัดเขมร ต่าง ประเทศรู้จักปลากัดในนาม " Siamese Fighting Fish " ปัจจุบันปลากัดเป็นปลาที่สามารถส่งขายต่าง ประเทศนำรายได้เข้าประเทศเป็นอันดับหนึ่งของปลาไทยทั้งหมด เพราะนอกจากจะเป็นปลาที่มีสีสัน สดสวย ครีบยาวพริ้วสวยงามแล้วยังมีคุณสมบัติในเชิงต่อสู้เพื่อความตื่นเต้นให้แก่ผู้เลี้ยงอีกด้วยครับ
ที่มา : lonsa9000