หูกวาง ( Terminalia catappa Linn. ) เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ อยู่ในวงศ์ Combretaceae เช่นเดียวกับสมอไทย และ สมอพิเภก มีชื่อสามัญคือ Tropical Almond, Singapore Almond, Bengal Almond, Umbrella Tree และมีชื่ออื่นๆ ที่เรียกกันตามจังหวัดต่างๆ เช่น โคน ( นราธิวาส ) ดัดมือ ตัดมือ ( ตรัง ) ตาป่ง ( พิษณุโลก และ สตูล ) ตาแป่ห์ ( มาเลย์ - นราธิวาส ) หลุมปัง ( สุราษฎร์ธานี ) และ จัดเป็นพันธ์ไม้ชายหาด พบกระจัดกระจายตามชายฝั่ง ปลูกได้ทั่วไป ตั้งแต่ ประเทศอินเดีย ถึง ตอนเหนือของทวีปออสเตรเลีย ปัจจุบัน ได้มีการนำต้นหูกวางมาปลูกทั่วไปในพื้นที่เขตร้อนโดยเฉพาะ ทวีปเอเชีย
ประเทศไทยสามารถพบต้นหูกวางได้ทั่วไป ตามชายฝั่งทะเลตะวันออกเฉียงใต้ โดยพบมากที่จังหวัดตราดและชลบุรี ภาคตะวันตกเฉียงใต้ พบมากที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และกาญจนบุรี ส่วนภาคใต้พบมากที่จังหวัดนราธิวาส ตรัง และ สุราษฎ์ธานี หูกวางเป็นต้นไม้ขนาดกลางสูง 8-28 เมตร เรือนยอดค่อนข้างกลมหรือทรงรูปพีรามิดหนาทึบ เปลือกต้นสีเทาแตกเป็นร่องตื้น แตกกิ่งในแนวราบเป็นชั้นๆ เมื่อโตเต็มที่ กิ่งปลายจะลู่ลง โตเร็ว ชอบแดดจัด ทนน้ำท่วมขัง ระบบรากแข้งแรง ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเวียนสลับถี่ตอนปลายกิ่ง โคนใบสอบแคบ แผ่นใบหนา มีขนปุย ขอบใบเรียบ หูกวางจะผลัดใบในฤดูหนาว ตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายน
ดอกออกเป็นช่อแบบติดดอกสลับตามซอกใบ ดอกสีขาวนวลมีขนาดเล็ก ออกดอกเดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายน และเดือนสิงหาคมถึงตุลาคม ผลเป็นผลเดี่ยวรูปไข่ หรือ รูปรีป้อมและแบนเล็กน้อย สีเขียว ในแต่ละผลจะมี 1 เมล็ด ผลแก่จะมีสีเหลืองหรือสีเหลืองอมเขียว มีกลิ่นหอม เมื่อแห้งจะมีสีดำคล้ำ ผลจะแก่ในเดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายน และประมาณเดือน พฤษภาคมถึงมิถุนายน
องค์ประกอบของใบหูกวาง มีทั้งพวกที่เป็นสารให้สีและแทนนิน ซึ่งเป็นสารที่มีรสฝาด และมีองค์ประกอบทางเคมีที่ค่อนข้างซับซ้อน ละลายน้ำได้ มักเป็นของเหลวที่ขับออกมาจากเปลือก ลำต้นและส่วนอื่นๆ ใบหูกวางมีสารแทนนินที่สลายตัวในน้ำ รวมทั้งสิ้น 12 ชนิด และ มีกรดต่างๆ หลาบชนิด ซึ่งแทนนินเป็นสารชนิดหนึ่งที่น่าสนใจ เนื่องจากบางชนิดสามารถลดอาการหอบหืด ลดความดันโลหิตสูง ต่อต้านอนุมูลอิสระ ทำให้เกิดฤทธิ์สมานและยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียได้
ต้นหูกวางยังจัดเป็นไม้เอนกประสงค์ เปลือกไม้สามารถนำมาทำเป็นยาฝาดสมานแผล แก้ท้องเสียและแก้ซางในเด็ก ใบมีคุณสมบัติช่วยขับเหงื่อ ใช้รักษาอาการปวดตามข้อ ต้มเคี่ยว รับประทานเป็นยาถ่ายพยาธิ และผลิตสีย้อมผ้า ซึ่งช่วยให้สีติดแน่นทนทาน เนื่องจากมีคุณสมบัติในการช่วยให้โปรตีนตกตะกอน และสามารถจับกับไอออนของโลหะได้ดี รวมทั้งรากและผลดิบใช้ในการฟอกย้อมหนัง และผลิตสีดำ เพื่อใช้ในการย้อมผ้าฝ้าย เสื่อและทำหมึก เนื้อไม้มีคุณภาพดี ใช้ก่อสร้างบ้านเรือนและต่อเรือ เมล็ดกินได้มีรสชาติดี ในเมล็ดมีน้ำมันใส ไม่มีกลิ่น มีลักษณะคล้ายน้ำมันจากอัลมอนด์ เมื่อนำไปผสมกับใบหูกวางสามารถใช้รักษาโรคเรื้อน โรคผิวหนัง และโรคติดต่อทางผิวหนังอื่นๆ เนื้อของผลกินได้ แต่มีใยค่อนข้างมาก มีกลิ่นหอมน่ารับประทาน นอกจากนี้ใบหูกวางยังสามารถใช้ในการเลี้ยงปลากัด เมื่อปลากัดเป็นแผลหรือแสดงอาการผิดปกติ แทนการใช้ยาสังเคราะห์เคมี เพื่อรักษาโรค
อาจารย์ ดร.วัชริยา ภูรีวิโรจน์ จากภาควิชาสัตววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ และ ผศ.ดร.นนทวิทย์ อารีย์ชน จากภาควิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดใบหูกวางพบว่า ใบหูกวางมีคุณสมบัติในการต้านทานแบคทีเรีย เนื่องจากองค์ประกอบของใบหูกวางมีแทนนินและกรดหลายชนิด ดังนั้น เมื่อตรวจสอบคุณภาพของน้ำพบว่าน้ำที่มีสารสกัดใบหูกวางจะมีฤทธิ์เป็นกรดสูงขึ้น การที่น้ำมีสภาพเป็นกรดอาจเป็นสาเหตุส่วนหนึ่งที่ทำให้สารสกัดหูกวางมีผลในการยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย สำหรับอัตราส่วน ของการใช้ใบหูกวางที่เหมาะสม และมีประสิทธิภาพในการต้านทานแบคทีเรียนั้น ควรใช้ใบหูกวางประมาณ 40 ใบ ตากแห้งและบดให้ละเอียด ละลายน้ำ 2 ลิตร หมักทิ้งไว้ในภาชนะ ฝาปิด 1-2 คืน หลังจากนั้นกรองเอาส่วนของน้ำมาผสมกับน้ำเลี้ยงปลา โดยใช้น้ำหมัก 1 ส่วน ต่อ น้ำเลี้ยงปลา 10 ส่วน แต่ถ้าปลามีแผล หรือในน้ำเลี้ยงปลากัดมีแบคทีเรียมาก อาจทำการผสมน้ำหมัก 1 ส่วน ต่อ น้ำเลี้ยงปลา 5 ส่วนแทน ก็จะได้ยารักษาเจ้าปลากัดตัวน้อยๆ ของเรา โดยที่ไม่ต้องพึ่งสารสังเคราะห์เคมี
ประเทศไทยสามารถพบต้นหูกวางได้ทั่วไป ตามชายฝั่งทะเลตะวันออกเฉียงใต้ โดยพบมากที่จังหวัดตราดและชลบุรี ภาคตะวันตกเฉียงใต้ พบมากที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และกาญจนบุรี ส่วนภาคใต้พบมากที่จังหวัดนราธิวาส ตรัง และ สุราษฎ์ธานี หูกวางเป็นต้นไม้ขนาดกลางสูง 8-28 เมตร เรือนยอดค่อนข้างกลมหรือทรงรูปพีรามิดหนาทึบ เปลือกต้นสีเทาแตกเป็นร่องตื้น แตกกิ่งในแนวราบเป็นชั้นๆ เมื่อโตเต็มที่ กิ่งปลายจะลู่ลง โตเร็ว ชอบแดดจัด ทนน้ำท่วมขัง ระบบรากแข้งแรง ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเวียนสลับถี่ตอนปลายกิ่ง โคนใบสอบแคบ แผ่นใบหนา มีขนปุย ขอบใบเรียบ หูกวางจะผลัดใบในฤดูหนาว ตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายน
ดอกออกเป็นช่อแบบติดดอกสลับตามซอกใบ ดอกสีขาวนวลมีขนาดเล็ก ออกดอกเดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายน และเดือนสิงหาคมถึงตุลาคม ผลเป็นผลเดี่ยวรูปไข่ หรือ รูปรีป้อมและแบนเล็กน้อย สีเขียว ในแต่ละผลจะมี 1 เมล็ด ผลแก่จะมีสีเหลืองหรือสีเหลืองอมเขียว มีกลิ่นหอม เมื่อแห้งจะมีสีดำคล้ำ ผลจะแก่ในเดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายน และประมาณเดือน พฤษภาคมถึงมิถุนายน
องค์ประกอบของใบหูกวาง มีทั้งพวกที่เป็นสารให้สีและแทนนิน ซึ่งเป็นสารที่มีรสฝาด และมีองค์ประกอบทางเคมีที่ค่อนข้างซับซ้อน ละลายน้ำได้ มักเป็นของเหลวที่ขับออกมาจากเปลือก ลำต้นและส่วนอื่นๆ ใบหูกวางมีสารแทนนินที่สลายตัวในน้ำ รวมทั้งสิ้น 12 ชนิด และ มีกรดต่างๆ หลาบชนิด ซึ่งแทนนินเป็นสารชนิดหนึ่งที่น่าสนใจ เนื่องจากบางชนิดสามารถลดอาการหอบหืด ลดความดันโลหิตสูง ต่อต้านอนุมูลอิสระ ทำให้เกิดฤทธิ์สมานและยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียได้
ต้นหูกวางยังจัดเป็นไม้เอนกประสงค์ เปลือกไม้สามารถนำมาทำเป็นยาฝาดสมานแผล แก้ท้องเสียและแก้ซางในเด็ก ใบมีคุณสมบัติช่วยขับเหงื่อ ใช้รักษาอาการปวดตามข้อ ต้มเคี่ยว รับประทานเป็นยาถ่ายพยาธิ และผลิตสีย้อมผ้า ซึ่งช่วยให้สีติดแน่นทนทาน เนื่องจากมีคุณสมบัติในการช่วยให้โปรตีนตกตะกอน และสามารถจับกับไอออนของโลหะได้ดี รวมทั้งรากและผลดิบใช้ในการฟอกย้อมหนัง และผลิตสีดำ เพื่อใช้ในการย้อมผ้าฝ้าย เสื่อและทำหมึก เนื้อไม้มีคุณภาพดี ใช้ก่อสร้างบ้านเรือนและต่อเรือ เมล็ดกินได้มีรสชาติดี ในเมล็ดมีน้ำมันใส ไม่มีกลิ่น มีลักษณะคล้ายน้ำมันจากอัลมอนด์ เมื่อนำไปผสมกับใบหูกวางสามารถใช้รักษาโรคเรื้อน โรคผิวหนัง และโรคติดต่อทางผิวหนังอื่นๆ เนื้อของผลกินได้ แต่มีใยค่อนข้างมาก มีกลิ่นหอมน่ารับประทาน นอกจากนี้ใบหูกวางยังสามารถใช้ในการเลี้ยงปลากัด เมื่อปลากัดเป็นแผลหรือแสดงอาการผิดปกติ แทนการใช้ยาสังเคราะห์เคมี เพื่อรักษาโรค
อาจารย์ ดร.วัชริยา ภูรีวิโรจน์ จากภาควิชาสัตววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ และ ผศ.ดร.นนทวิทย์ อารีย์ชน จากภาควิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดใบหูกวางพบว่า ใบหูกวางมีคุณสมบัติในการต้านทานแบคทีเรีย เนื่องจากองค์ประกอบของใบหูกวางมีแทนนินและกรดหลายชนิด ดังนั้น เมื่อตรวจสอบคุณภาพของน้ำพบว่าน้ำที่มีสารสกัดใบหูกวางจะมีฤทธิ์เป็นกรดสูงขึ้น การที่น้ำมีสภาพเป็นกรดอาจเป็นสาเหตุส่วนหนึ่งที่ทำให้สารสกัดหูกวางมีผลในการยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย สำหรับอัตราส่วน ของการใช้ใบหูกวางที่เหมาะสม และมีประสิทธิภาพในการต้านทานแบคทีเรียนั้น ควรใช้ใบหูกวางประมาณ 40 ใบ ตากแห้งและบดให้ละเอียด ละลายน้ำ 2 ลิตร หมักทิ้งไว้ในภาชนะ ฝาปิด 1-2 คืน หลังจากนั้นกรองเอาส่วนของน้ำมาผสมกับน้ำเลี้ยงปลา โดยใช้น้ำหมัก 1 ส่วน ต่อ น้ำเลี้ยงปลา 10 ส่วน แต่ถ้าปลามีแผล หรือในน้ำเลี้ยงปลากัดมีแบคทีเรียมาก อาจทำการผสมน้ำหมัก 1 ส่วน ต่อ น้ำเลี้ยงปลา 5 ส่วนแทน ก็จะได้ยารักษาเจ้าปลากัดตัวน้อยๆ ของเรา โดยที่ไม่ต้องพึ่งสารสังเคราะห์เคมี
ที่มา : ku.ac.th/e-magazine