อาร์ทีเมียหรือไรน้ำสีน้ำตาล หรือไรน้ำเค็ม มีชื่อสามัญภาษาอังกฤษว่า "Artemia" เป็นสัตว์จำพวกครัสเตเซียน (Crustacean) เช่นเดียวกับ กุ้ง กั้ง และปู อาร์ทีเมียเป็นที่นิยมใช้เป็นอาหารในการอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อน เพราะอาร์ทีเมียมีคุณสมบัติที่ดีและเหมาะสม มีคุณค่าทางอาหารสูง ไข่ของอาร์ทีเมียสามารถเก็บไว้ได้นานหลายปี เมื่อต้องการใช้เพียงแต่นำมาเพาะฟักในระยะเวลาอันสั้นก็จะได้ตัวอ่อนอาร์ทีเมีย นำไปเป็นอาหารของสัตว์น้ำวัยอ่อนได้ดี อาร์ทีเมียเป็นแพลงค์ตอนน้ำเค็มที่สามารถปรับตัวให้มีชีวิตอยู่ได้ในช่วงความเค็มที่แตกต่างกันได้กว้างมาก อาร์ทีเมียไม่มีเปลือกแข็งหุ้มลำตัว มีตัวอ่อนนุ่ม และไม่มีระบบป้องกันตัวเองจากสัตว์น้ำอื่น ๆ เลย แต่ด้วยเหตุผลนี้เองเราจึงมักพบอาร์ทีเมียตามธรรมชาติเฉพาะในแหล่งที่มีความเค็มสูงมากเท่านั้น เพื่อป้องกันตัวเองจากศัตรูที่ไม่สามารถอาศัยในน้ำที่เค็มจัดได้ เมื่อแหล่งน้ำที่อาร์ทีเมียอาศัยอยู่มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมก็จะมีการแพร่พันธุ์ได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
ลักษณะของอาร์ทีเมียเป็นสัตว์ที่ไม่มีเปลือกแข็งหุ้มตัว มีเพียงเนื้อเยื่อบาง ๆ เท่านั้นที่หุ้มตัว ว่ายน้ำเคลื่อนที่ในลักษณะหงายท้อง ลำตัวเรียวยาวคล้ายใบไม้แบ่งออกได้เป็น 3 ส่วน คือ ส่วนหัว แบ่งออกได้เป็น 6 ปล้อง ปล้องแรกเป็นที่ตั้งของตาเดียวและตารวม มีก้านตา 1 คู่ ปล้องที่ 2 เป็นที่ตั้งของหนวดคู่แรก ปล้องที่ 3 เป็นที่ตั้งของหนวดคู่ที่ 2 ปล้องที่ 4 เป็นกราม ปล้องที่ 5 เป็นฟันคู่แรก ปล้องที่ 6 เป็นฟันคู่ที่ 2 ส่วนอกแบ่งออกเป็น 11 ปล้อง แต่ละปล้องประกอบด้วยระยางค์ เป็นอวัยวะทำหน้าที่เกี่ยวกับการเคลื่อนที่ การหายใจและการกรองรวบรวมอาหาร ส่วนท้องแบ่งออกได้ 8 ปล้อง ปล้องแรกเป็นที่ตั้งของอวัยวะเพศ ปล้องที่ 2 - 7 ไม่มีระยางค์ ปล้องที่ 8 มีแพนหาง 1 คู่ โดยปกติอาร์ทีเมียเมื่อโตเต็มวัย เพศผู้จะมีขนาดเล็กกว่าเพศเมีย และจะมีหนวดคู่ที่ 2 ขนาดใหญ่กว่ารูปร่างคล้ายตะขอใช้เกาะจับเพศเมีย บริเวณปล้องแรกของส่วนท้องของเพศผู้จะมีอวัยวะเพศผู้อยู่ 1 คู่ ในอาร์ทีเมียเพศเมียตัวเต็มวัย หนวดคู่ที่ 2 จะมีขนาดเล็กลง และเปลี่ยนมาทำหน้าที่รับความรู้สึก บริเวณปล้องแรกของส่วนท้องจะมีอวัยวะเพศเมียทำหน้ที่เก็บตัวอ่อนหรือเก็บไข่
การสืบพันธุ์ของอาร์ทีเมีย อาร์ทีเมียสืบพันธุ์ได้ทั้งอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ อาร์ทีเมียให้ลูกทั้งแบบเป็นตัว โดยจะมีไข่ฟักเป็นตัวภายในมดลูก ไข่ไม่มีเปลือกหนาแข็งหุ้ม สังเกตุได้มดลูกจะมีสีขาว การให้ลูกแบบเป็นไข่นั้น ไข่จะมีเปลือกหนาแข็งห่อหุ้ม เรียกไข่แบบนี้ว่า "ซิสต์" (cysts) ซึ่งโดยทั่วไปมีสีน้ำตาลจึงมองเห็นมดลูกเป็นสีน้ำตาล การจะออกลูกเป็นตัวหรือเป็นไข่ และมีจำนวนมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ แต่ละรอบการสืบพันธุ์ เพศเมียแต่ละตัวจะให้ลูกออกมาเป็นตัวหรือเป็นไข่ที่เรียกว่าซิสต์เพียงอย่างหนึ่งอย่างใดเท่านั้น โดยทั่วไปอาร์ทีเมียจะมีความดกของไข่ประมาณ 50-300 ฟอง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดของตัวแม่และสายพันธุ์ด้วย เมื่ออาร์ทีเมียอยู่ในสภาวะที่เหมาะสมต่อการออกลูกเป็นตัว ไข่อาร์ทีเมียที่เจริญในมดลูกของตัวแม่จะฟักออกมาเป็นตัว ไข่แบบนี้มีเปลือกหุ้มบางและมีสีขาว ซึ่งคงสภาพเป็นไข่อยู่ไม่นานก็ฟักออกเป็นตัว แต่ถ้าอาร์ทีเมียอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมต่อการออกลูกเป็นตัว เช่นมีน้ำเค็มจัด อุณหภูมิของน้ำไม่ปกติ ปริมาณสารแร่ธาตุและอาหารไม่เหมาะสม เป็นต้น อาร์ทีเมียจะวางไข่ที่มีเปลือกหนาแข็ง เรียกว่าซิสต์ ถ้าเกิดซิสต์ขึ้นจะพบลอยอยู่บริเวณผิวน้ำและถูกกระแสลมหรือกระแสน้ำพัดพาไปรวมกันอยู่บริเวณริมฝั่ง โดยทั่วไป ซิสต์มีขนาดอยู่ระหว่าง 200-300 ไมครอน ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์และสภาพแวดล้อม
ไข่ของสัตว์น้ำทั่วไปนั้นมักจะมีเซลล์เดียว แต่ไข่ของอาร์ทีเมีย นั้นเซลล์จะเจริญเติบโตจนกระทั่งเป็นตัวอ่อน ในระยะที่มีรูปร่างคล้ายถ้วยจึงหยุดการเจริญเติบโตไว้ชั่วคราว แล้วจึงสร้างเปลือกขึ้นมาหุ้มเพื่อป้องกันตัวอ่อน ในระยะดังกล่าวซึ่งทนต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมได้เป็นอย่างดี และเมื่อสภาวะแวดล้อมเหมาะสมแล้วตัวอ่อนในระยะนี้ก็จะเจริญเติบโตต่อไป
(1.) ไข่อาร์ทีเมียหรือซิสต์ (2.) นอเพลียสหรือตัวอ่อน (3.) เปลี่ยนรูปร่างระยะอินสตาร์ต่อ ๆ ไป (4.) ตัวเต็มวัย (5.) จับคู่ผสมพันธุ์ (6.) ไข่ที่เจริญเติบโตในมดลูก ในกรณีสายพันธุ์ที่ไม่อาศัยเพศเมื่อโตเต็มวัยก็ผลิตไข่และขยายพันธุ์ได้โดยไม่ต้องผสมพันธุ์ ถ้าสภาวะแวดล้อมสมบูรณ์อาร์ทีเมียก็สามารถผลิตไข่และฟักเป็นตัวในมดลูกและออกลูกมาเป็นตัวอ่อนได้
อาร์ทีเมียมีอยู่หลายสายพันธุ์ด้วยกัน ทั้งแบบอาศัยเพศ และไม่อาศัยเพศ อาร์ทีเมียที่ออกลูกเป็นตัวหรือออกลูกเป็นไข่แล้วฟักออกเป็นตัว จะให้ตัวอ่อนหรือเรียกอีกอย่างว่า "นอเพลียส"(nauplius) ที่มีลักษณะเหมือนกัน นอเพลียสหรือตัวอ่อนระยะแรกนี้เรียกว่า อินสตาร์ 1 (Instar 1) ซึ่งมีรูปร่างคล้ายลูกแพร์หรือรูปไข่ มีความยาวประมาณ 400-500 ไมครอน มีสีส้มแกมน้ำตาลเนื่องจากมีไข่แดงสะสมอยู่มาก ตัวอ่อนหรือนอเพลียสจะเป็นระยะอินสตาร์ 1 ประมาณ 12 ชั่วโมง มีการลอกคราบและเป็นตัวอ่อนระยะที่ 2 เรียกว่าอินสตาร์ 2 ซึ่งจะเริ่มกินอาหาร เจริญเติบโตและลอกคราบอีกประมาณ 15 ครั้ง ตัวอ่อนจะเปลี่ยนรูปร่างไปจากเดิมเป็นระยะอินสตาร์ต่อ ๆ ไป ใช้ระยะเวลา 7-15 วันก็จะเป็นอาร์ทีเมียตัวเต็มวัย
อาร์ทีเมียมีอยู่หลายสายพันธุ์ด้วยกัน ทั้งแบบอาศัยเพศ และไม่อาศัยเพศ อาร์ทีเมียที่ออกลูกเป็นตัวหรือออกลูกเป็นไข่แล้วฟักออกเป็นตัว จะให้ตัวอ่อนหรือเรียกอีกอย่างว่า "นอเพลียส"(nauplius) ที่มีลักษณะเหมือนกัน นอเพลียสหรือตัวอ่อนระยะแรกนี้เรียกว่า อินสตาร์ 1 (Instar 1) ซึ่งมีรูปร่างคล้ายลูกแพร์หรือรูปไข่ มีความยาวประมาณ 400-500 ไมครอน มีสีส้มแกมน้ำตาลเนื่องจากมีไข่แดงสะสมอยู่มาก ตัวอ่อนหรือนอเพลียสจะเป็นระยะอินสตาร์ 1 ประมาณ 12 ชั่วโมง มีการลอกคราบและเป็นตัวอ่อนระยะที่ 2 เรียกว่าอินสตาร์ 2 ซึ่งจะเริ่มกินอาหาร เจริญเติบโตและลอกคราบอีกประมาณ 15 ครั้ง ตัวอ่อนจะเปลี่ยนรูปร่างไปจากเดิมเป็นระยะอินสตาร์ต่อ ๆ ไป ใช้ระยะเวลา 7-15 วันก็จะเป็นอาร์ทีเมียตัวเต็มวัย
อาหารและการกินอาหาร อาร์ทีเมียเป็นสัตว์ที่กินอาหารโดยวิธีการกรอง อาหารที่กินได้แก่ สารอินทรีย์ขนาดเล็กทุกชนิดที่มีขนาดไม่เกิน 50 ไมครอน โดยทั้งไปอาร์ทีเมียมีขนาดของปากประมาณ 20-60 ไมครอน การกินอาหารโดยการกรองจึงไม่สามารถคัดเลือกอาหารได้ อาหารอาร์ทีเมียจึงมีทั้งประเภทมีชีวิตและไม่มีชีวิต ประเภทมีชีวิตได้แก่ สาหร่ายสีเขียวขนาดเล็กเซลล์เดียว สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน แบคทีเรีย ยีสต์ และพวกสัตว์หน้าดินขนาดเล็ก ๆ เป็นต้น อาหารไมชีวิตได้แก่ มูลสัตว์ชนิดต่าง ๆ รำ กากถั่ว ปลาบ่น เลือดสัตว์ นม และซากพืชซากสัตว์ที่เน่าเปื่อยสลายและมีขนาดเล็กขนาดปากของอาร์ทีเมีย ตัวอ่อนของอาร์ทีเมียในระยะอินสตาร์ 1 จะยังไม่กินอาหาร เนื่องจากทางเดินอาหาร ปาก และรูก้นของตัวอ่อนนี้ยังปิดอยู่ และอยู่ในช่วงใช้อาหารจากไข่แดง ตัวอ่อนระยะอินสตาร์ 2 เป็นระยะที่เริ่มกินอาหารที่มีขนาดเล็กตั้งแต่ 1-40 ไมครอน อาร์ทีเมียสามารถปรับตัวอาศัยในแหล่งน้ำที่มีคุณสมบัติเฉพาะ เช่น ในน้ำที่มีความเค็มสูงมากจนไม่มีศัตรูหรืมีศัตรูอยู่ได้น้อยมาก จึงไม่ถูกแย่งอาหาร
การเพาะฟักไข่อาร์ทีเมีย ไข่อาร์ทีเมียที่ใช้ในการเพาะฟักคือไข่ที่เป็นไข่แห้ง (dry cysts) อาร์ทีเมียจะฟักออกเป็นตัวมากน้อยเพียงใด ช้าหรือเร็ว นั้น ขึ้นอยู่กับขั้นตอนการดึงน้ำออกจากไข่ หรือการตากหรืออบให้แห้งเพื่อเก็บรักษาไว้ ซึ่งอาจทำให้คุณสมบัติบางอย่างเปลี่ยนไป ส่งผลให้การเพาะฟักไข่อาร์ทีเมียไม่ได้ผลเท่าที่ควร
ปัจจัยสำคัญในการเพาะฟักไข่อาร์ทีเมีย คือ ความสะอาดและคุณภาพของไข่ หากไข่อาร์ทีเมียสะอาดและมีการตากหรืออบ จนได้ความชื้นมาตรฐานแล้ว ก็จะช่วยให้การเพาะฟักไข่มีประสิทธิภาพ ซึ่งการทำความสะอาดไข่อาร์ทีเมียที่ได้จากธรรมชาติ บางครั้งมีสิ่งเจือปนอยู่มาก และมีคุณภาพต่ำ ในทางเทคนิคแล้วสามารถแยกสิ่งเจือปนต่าง ๆ แม้กระทั่งไข่ฝ่อและเปลือกไข่ออกได้ การที่ไข่อาร์ทีเมียมีสิ่งเจือปนและมีคุณภาพไม่ดีนั้นอาจเป็นเพราะความรู้เท่าไม่ถึงการณ์หรือความจะใจของผู้ผลิตเอง ด้วยเหตุที่ว่าไข่อาร์ทีเมียนั้นมีราคาแพง ถ้าหากทำให้ไข่สะอาดมากเท่าไร รวมถึงการตากหรืออบความชื้นได้มาตรฐาน น้ำหนักของไข่จะน้อยลงไป และเสียค่าใช้จ่ายที่มากขึ้น กำไรก็น้อยลง ด้วยเหตุนี้ผู้ใช้ควรคำนึงและเลือกใช้ไข่ที่มีความสะอาดและมีคุณภาพดีเท่านั้นเพราะจะให้ผลการเพาะฟักที่ดีและแน่นอน ความเค็มของน้ำทีใช้เพาะฟัก ก็เป็นปัจจัยที่สำคัญอีกประการหนึ่ง ความเค็มของน้ำที่ใช้ในการเพาะฟักทั่วไปจะอยู่ในช่วงระหว่าง 10-35 ส่วนในพัน แต่ไข่อาร์ทีเมียแต่ละสายพันธุ์จะฟักออกเป็นตัวได้ดีที่ระดับความเค็มที่ต่างกัน บางสายพันธุ์ฟักออกเป็นตัวได้ดีที่ความเค็มสูง แต่บางพันธุ์ฟักออกเป็นตัวได้ดีที่ความเค็มต่ำ ไข่อาร์ทีเมียที่มีจำหน่ายส่วนใหญ่จะมีบอกวิธีของการเพาะฟักและระดับความเค็มที่เหมาะสมไว้ที่ภาชนะบรรจุ หากว่าผู้เพาะฟักใช้ไข่ที่ไม่มีฉลาก หรือเมื่ปฏิบัติตามฉลากแล้วยังได้ผลไม่ดีเท่าที่ควร ต้องทำการทดลองเพาะฟักให้ทราบความเค็มที่เหมาะสมในการเพาะฟัก ทั้งนี้เพื่อให้การเพาะฟักที่มีประสิทธิภาพและได้ผลสูงสุด อีกปัจจัยคือ อุณหภูมิของน้ำ โดยทั่วไปแล้ว น้ำที่ใช้เพาะฟักไข่อาร์ทีเมียจะมีอุณหภูมิอยู่ระหว่าง 20-34 องศาเซลเซียด น้ำที่ไช้เพาะฟักมีอุณหภูมิสูง การฟักออกเป็นตัวก็จะเร็วกว่าน้ำที่มีอุณหภูมิที่ต่ำกว่า การเป็นกรด-ด่าง (pH) ควรปรับให้เป็นด่างอ่อน ๆ คือมีค่า pH ระหว่าง 7.5-9 เติมปริมาณออกซิเจนในน้ำที่ใช้เพาะฟักด้วย โดยปกติควรให้อยู่ระหว่าง 4-6 ส่วนในล้าน (ppm) ไม่ควรต่ำจนเกินไป
ไข่อาร์ทีเมียหรือซิสต์ที่บรรจุขายนั้น มีด้วยกันหลายขนาด ควรคำนึงถึงสายพันธุ์และวิธีเพาะฟักในฉลากข้างภาชนะบรรจุด้วย ในที่นี้ขออธิบายถึงการเพาะฟักไข่อาร์ที่เมียที่ได้ทดลองแล้วได้ผลในเชิงปฏิบัติ ดังนั้นควรทำการทดลองและปรับเปลี่ยนวิธีให้ได้ผลมากที่สุดต่อไป การเพาะฟักไข่อาร์ทีเมียเพื่ออนุบาลลูกปลานั้น การใช้ไข่อาร์ทีเมียที่บรรจุกระป๋องมาเมื่อเปิดใช้แล้วถ้าใช้ไม่หมดในครั้งหนึ่ง คุณภาพของไข่อาร์ทีเมียก็จะด้อยลงไปเรื่อย ๆ หรืออาจจะเสียไปเลยถ้าเก็บไม่ถูกวิธี ดังนั้นท่านที่จะเพาะฟักควรคำนึงถึงข้อนี้เป็นหลัก ว่าลูกปลาที่จะเพาะมานั้นมีราคาหรือจำนวนมากน้อยเพียงไร คุ้มต่อการลงทุนด้วยการเพาะฟักไข่อาร์ทีเมียหรือไม่ ก่อนอื่นเมื่อตัดสินใจแล้วก่อนเปิดภาชนะบรรจุไข่อาร์ทีเมีย ควรหาถุงซิปล๊อค (ถุงพลาสติกที่มีพลาสติกแข็งสามารถรีดได้ที่ปากถุงเพื่อปิดหรือเปิด) มาหลาย ๆ ใบ แบ่งไขอาร์ทีเมียด้วยช้อนแห้ง ใส่ถุงแล้วรีดปากถุงให้สนิท นำไปเก็บไว้ในที่แห้ง ๆ และอากาศไม่ร้อน เช่น ตู้เสื้อผ้า เมื่อต้องการใช้ให้ใช้ทีละถุงจนกว่าจะหมดรีดปากถุงให้สนิทนำไปเก็บไว้ที่เดิม ไข่ของอาร์ทีเมียเมื่อโดนอากาศคุณภาพก็จะน้อยลงไปด้วย เมื่อทำการเพาะฟักในแต่ละครั้งควรคำนึงถึงปริมาณอาร์ทีเมียที่ต้องการด้วย เมื่อเปิดถุงในแต่ละครั้งทำให้คุณภาพของไข่อาร์ทีเมียลดลง เมื่อปรากฎว่าปริมาณของอาร์ทีเมียที่ได้นั้นน้อยลงควรเพิ่มไข่อาร์ทีเมียตามไปด้วยเพื่อให้เพียงพอกับปริมาณอาร์ทีเมียที่ต้องการ
การเพาะฟักไข่อาร์ทีเมียนั้นไม่ยุ่งยาก แต่จำเป็นต้องหาอุปกรณ์เพื่อให้สะดวกต่อการเพาะฟักและเก็บเกี่ยวผลผลิตในแต่ละครั้ง ขั้นตอนที่ 1 ควรหาอุปกรณ์ในการเพาะฟักได้แก่ ขวดน้ำพลาสติกที่ใช้แล้วขนาด 1500 ml มาหนึ่งใบ ตัดก้นขวดด้วยคัตเตอร์คม ๆ ให้ขาดออก นำเทปพันสายไฟสีดำมาพันรอบขวดให้สนิทจนเป็นสีดำเกือบทั้งขวดเหลือไว้แต่เพียงคอขวดประมาณ 1.5 นิ้ว เจาะรูขอบก้นขวดสักสามรูไว้ร้อยเชือกหรือลวดแขวนกระถางต้นไม้เพื่อแขวนขวดน้ำขณะเพาะฟัก ถ้าจะให้ดีควรเจาะฝาขวดโดยใช้สว่านไฟฟ้าขนาดดอกสว่าน เพื่อใส่ที่ปรับแรงดันลมท่ออ๊อกซิเจน (มีสีเขียวมีขายตามร้านขายอุปกรณ์ตู้ปลาทั่วไป) ต่อกับสายยางออกซิเจน นำขวดที่ทำเสร็จไปแขวนไว้ในสถานที่ที่จะทำการเพาะฟัก ขั้นตอนที่ 2 การเตรียมน้ำสำหรับเพาะฟัก นำน้ำประปาที่กักไว้มา 1000 ml หรือ 1 ลิตร เติมเกลือทะเลไม่ว่าจะเป็นเกลือเม็ดหรือเกลือป่นก็ได้ อัตราส่วน เกลือ 300 กรัม (3 ขีด):น้ำ 1 ลิตร คนให้ละลายเข้ากัน นำไปเติมใส่ขวดที่เตรียมไว้ เปิดอ๊อกซิเจนเป่าลงไปในน้ำแรง ๆ ทิ้งไว้สัก 15 นาทีให้น้ำเกลือที่ได้เข้ากันดี ขั้นตอนที่ 3 เติมไข่อาร์ทีเมียที่ได้เตรียมไว้ในอัตราส่วน 2-5 กรัม ต่อน้ำ 1 ลิตร (ทั้งนี้ถ้าจะใช้น้อยหรือมากขึ้นอยู่กับความจำเป็นที่จะใช้แต่อัตราส่วนของเกลือและน้ำต้องเป็นดังนี้) เปิดอ๊อกซิเจนทิ้งไว้ตลอดเวลา ปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 24-48 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของอากาศด้วย ไข่อาร์ทีเมียก็จะฟักเป็นตัวนำไปใช้เลี้ยงลูกปลาได้ อาร์ทีเมียที่เพาะฟักออกมาจะมีขนาดเล็กมาก ใช้เลี้ยงลูกปลาได้และมีขนาดเท่า ๆ กันด้วย
ขั้นตอนการเก็บเกี่ยวผลผลิต เมื่อไข่อาร์ทีเมียที่ได้เพาะฟักนั้นเป็นตัวแล้ว เปลือกไข่และตัวอ่อนอาร์ทีเมียที่ได้จะปะปนกันในขวดน้ำที่ใช้เพาะฟัก เมื่อต้องการเก็บเกี่ยวผลผลิต ให้ปิดเครื่องอ๊อกซิเจนและปล่อยทิ้งไว้สักครู่ เปลือกไข่อาร์ทีเมียก็จะลอยขึ้นผิวน้ำ ส่วนตัวอ่อนมีน้ำหนักมากกว่าก็จะจมลง ในขั้นตอนนี้ให้หากระดาษแข็งที่แสงไม่สามารถผ่านได้มาปิดก้นขวดไว้ สังเกตุดูตัวอ่อนอาร์ทีเมียจะว่ายลงมาออกันที่ปากขวดที่ได้เว้นช่องให้แสงผ่าน ยิ่งถ้าใช้ไฟฉายด้วยแล้วก็ยิ่งดี ถ้าได้ติดที่ปรับแรงดันออกซิเจนไว้พร้อมสายยางก็เปิดที่ปรับแรงดันนั้นให้ตัวอ่อนไหลออกมาเอาภาชนะรองรับไว้ หรือถ้าไม่ได้ติดไว้ให้ใช่สายยางทำกาลักน้ำเอาตัวอ่อนก็ได้เป็นอันเสร็จสิ้นวิธีเพาะฟักไข่อาร์ทีเมียแล้ว ให้เริ่มทำการเพาะฟักเช่นนี้ไปจนกว่าลูกปลากินอาหารชนิดอื่นได้ ข้อควรจำ อาร์ทีเมีเป็นแพลงค์ตอนสัตว์น้ำเค็ม จะอาศัยในน้ำจืดได้ไม่นานก็จะตาย ควรให้อาร์ทีเมียเป็นอาหารแต่พอสมควร กะประมาณให้ลูกปลากินแต่ละมื้อ อย่าให้ทีละมาก ๆ เมื่ออาร์ทีเมียตายและสะสมในบ่อจะทำให้น้ำเน่าเสียได้ง่าย
ขั้นตอนการเก็บเกี่ยวผลผลิต เมื่อไข่อาร์ทีเมียที่ได้เพาะฟักนั้นเป็นตัวแล้ว เปลือกไข่และตัวอ่อนอาร์ทีเมียที่ได้จะปะปนกันในขวดน้ำที่ใช้เพาะฟัก เมื่อต้องการเก็บเกี่ยวผลผลิต ให้ปิดเครื่องอ๊อกซิเจนและปล่อยทิ้งไว้สักครู่ เปลือกไข่อาร์ทีเมียก็จะลอยขึ้นผิวน้ำ ส่วนตัวอ่อนมีน้ำหนักมากกว่าก็จะจมลง ในขั้นตอนนี้ให้หากระดาษแข็งที่แสงไม่สามารถผ่านได้มาปิดก้นขวดไว้ สังเกตุดูตัวอ่อนอาร์ทีเมียจะว่ายลงมาออกันที่ปากขวดที่ได้เว้นช่องให้แสงผ่าน ยิ่งถ้าใช้ไฟฉายด้วยแล้วก็ยิ่งดี ถ้าได้ติดที่ปรับแรงดันออกซิเจนไว้พร้อมสายยางก็เปิดที่ปรับแรงดันนั้นให้ตัวอ่อนไหลออกมาเอาภาชนะรองรับไว้ หรือถ้าไม่ได้ติดไว้ให้ใช่สายยางทำกาลักน้ำเอาตัวอ่อนก็ได้เป็นอันเสร็จสิ้นวิธีเพาะฟักไข่อาร์ทีเมียแล้ว ให้เริ่มทำการเพาะฟักเช่นนี้ไปจนกว่าลูกปลากินอาหารชนิดอื่นได้ ข้อควรจำ อาร์ทีเมีเป็นแพลงค์ตอนสัตว์น้ำเค็ม จะอาศัยในน้ำจืดได้ไม่นานก็จะตาย ควรให้อาร์ทีเมียเป็นอาหารแต่พอสมควร กะประมาณให้ลูกปลากินแต่ละมื้อ อย่าให้ทีละมาก ๆ เมื่ออาร์ทีเมียตายและสะสมในบ่อจะทำให้น้ำเน่าเสียได้ง่าย
ที่มา : khonrakpla