Saturday, December 13, 2008
Sunday, October 19, 2008
ประวัติปลากัดของไทย
เป็นปลาพื้นเมืองของไทยที่นิยมเพาะเลี้ยงเป็นเวลาหลายร้อยปีมาแล้ว ทั้งนี้เพื่อไว้ดูเล่นและเพื่อกีฬากัดปลาและเป็นที่รู้จักกันดีในต่างประเทศมานานเช่นกัน ปัจจุบันประเทศไทยมีการเพาะเลี้ยงปลากัดกันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากเป็นปลาที่เลี้ยงและเพาะพันธุ์ได้ง่าย ปีหนึ่ง ๆ ประเทศไทยได้ส่งปลากัดไปขายต่างประเทศคิดเป็นมูลค่าไม่น้อยกว่า 20 ล้านบาทปลากัดพันธุ์ดั้งเดิมในธรรมชาติ มีสีน้ำตาลขุ่นหรือสีเทาแกมเขียว ครีบและหางสั้น ปลาเพศผู้มีครีบและหางยาวกว่าปลาเพศเมียเล็กน้อย จากการเพาะพันธุ์และการคัดพันธุ์ติดต่อกันมานาน ทำให้ได้ปลากัดที่มีสีสวยงามหลายสี อีกทั้งลักษณะครีบก็แผ่กว้างใหญ่สวยงามกว่าพันธุ์ดั้งเดิมมาก และจากสาเหตุนี้ทำให้มีการจำแนกพันธุ์ปลากัดออกไปได้เป็นหลายชนิด เช่น ปลากัดหม้อ ปลากัดทุ่ง ปลากัดจีน ปลากัดเขมร เป็นต้น การแพร่กระจายของปลากัดพบทั่วไปทุกภาคของประเทศไทยอาศัยอยู่ในอ่างเก็บน้ำ ทะเลสาบ หนอง บึง แอ่งน้ำ ลำคลอง ฯลฯในการเลี้ยงปลากัดเพื่อการต่อสู้ มีการคัดเลือกพันธุ์ให้มีคุณสมบัติเฉพาะที่สามารถใช้ในการต่อสู้ โดยเริ่มต้นจากการรวบรวมปลาจากแหล่งน้ำธรรมชาติเรียกกันว่า ปลากัดป่าหรือปลากัดทุ่ง ที่มีลำตัวค่อนข้างเล็กบอบบางสีน้ำตาลขุ่นหรือเทาแกมเขียว นำมาเพาะเลี้ยงและคัดพันธุ์หลายชั่วอายุ จนได้ปลาที่รูปร่างแข็งแรง ลำตัวหนาและใหญ่ขึ้น สีสันสวยสด เช่น สีแดงเข้ม สีน้ำเงินเข้ม น้ำตาลเข้ม หรือสีผสมระหว่างสีดังกล่าว และเรียกปลากัดที่ได้จากการคัดพันธุ์เพื่อการต่อสู้นี้ว่า ปลากัดหม้อ ปลากัดลูกหม้อ หรือปลากัดไทย ต่อมาได้มีผู้พยายามคัดพันธุ์ปลากัดโดยเน้นความสวยงามเพื่อเลี้ยงไว้ดูเล่น โดยคัดพันธุ์เพื่อให้ได้ปลาที่มีครีบยาว สีสวย ซึ่งนิยมเรียกปลากัดลักษณะเช่นนี้ว่าปลากัดจีนหรือปลากัดเขมร ต่างประเทศรู้จักปลากัดในนาม Siamese fighting fish
Thursday, August 21, 2008
ใบหูกวาง
ประเทศไทยสามารถพบต้นหูกวางได้ทั่วไป ตามชายฝั่งทะเลตะวันออกเฉียงใต้ โดยพบมากที่จังหวัดตราดและชลบุรี ภาคตะวันตกเฉียงใต้ พบมากที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และกาญจนบุรี ส่วนภาคใต้พบมากที่จังหวัดนราธิวาส ตรัง และ สุราษฎ์ธานี หูกวางเป็นต้นไม้ขนาดกลางสูง 8-28 เมตร เรือนยอดค่อนข้างกลมหรือทรงรูปพีรามิดหนาทึบ เปลือกต้นสีเทาแตกเป็นร่องตื้น แตกกิ่งในแนวราบเป็นชั้นๆ เมื่อโตเต็มที่ กิ่งปลายจะลู่ลง โตเร็ว ชอบแดดจัด ทนน้ำท่วมขัง ระบบรากแข้งแรง ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเวียนสลับถี่ตอนปลายกิ่ง โคนใบสอบแคบ แผ่นใบหนา มีขนปุย ขอบใบเรียบ หูกวางจะผลัดใบในฤดูหนาว ตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายน
ดอกออกเป็นช่อแบบติดดอกสลับตามซอกใบ ดอกสีขาวนวลมีขนาดเล็ก ออกดอกเดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายน และเดือนสิงหาคมถึงตุลาคม ผลเป็นผลเดี่ยวรูปไข่ หรือ รูปรีป้อมและแบนเล็กน้อย สีเขียว ในแต่ละผลจะมี 1 เมล็ด ผลแก่จะมีสีเหลืองหรือสีเหลืองอมเขียว มีกลิ่นหอม เมื่อแห้งจะมีสีดำคล้ำ ผลจะแก่ในเดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายน และประมาณเดือน พฤษภาคมถึงมิถุนายน
องค์ประกอบของใบหูกวาง มีทั้งพวกที่เป็นสารให้สีและแทนนิน ซึ่งเป็นสารที่มีรสฝาด และมีองค์ประกอบทางเคมีที่ค่อนข้างซับซ้อน ละลายน้ำได้ มักเป็นของเหลวที่ขับออกมาจากเปลือก ลำต้นและส่วนอื่นๆ ใบหูกวางมีสารแทนนินที่สลายตัวในน้ำ รวมทั้งสิ้น 12 ชนิด และ มีกรดต่างๆ หลาบชนิด ซึ่งแทนนินเป็นสารชนิดหนึ่งที่น่าสนใจ เนื่องจากบางชนิดสามารถลดอาการหอบหืด ลดความดันโลหิตสูง ต่อต้านอนุมูลอิสระ ทำให้เกิดฤทธิ์สมานและยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียได้
ต้นหูกวางยังจัดเป็นไม้เอนกประสงค์ เปลือกไม้สามารถนำมาทำเป็นยาฝาดสมานแผล แก้ท้องเสียและแก้ซางในเด็ก ใบมีคุณสมบัติช่วยขับเหงื่อ ใช้รักษาอาการปวดตามข้อ ต้มเคี่ยว รับประทานเป็นยาถ่ายพยาธิ และผลิตสีย้อมผ้า ซึ่งช่วยให้สีติดแน่นทนทาน เนื่องจากมีคุณสมบัติในการช่วยให้โปรตีนตกตะกอน และสามารถจับกับไอออนของโลหะได้ดี รวมทั้งรากและผลดิบใช้ในการฟอกย้อมหนัง และผลิตสีดำ เพื่อใช้ในการย้อมผ้าฝ้าย เสื่อและทำหมึก เนื้อไม้มีคุณภาพดี ใช้ก่อสร้างบ้านเรือนและต่อเรือ เมล็ดกินได้มีรสชาติดี ในเมล็ดมีน้ำมันใส ไม่มีกลิ่น มีลักษณะคล้ายน้ำมันจากอัลมอนด์ เมื่อนำไปผสมกับใบหูกวางสามารถใช้รักษาโรคเรื้อน โรคผิวหนัง และโรคติดต่อทางผิวหนังอื่นๆ เนื้อของผลกินได้ แต่มีใยค่อนข้างมาก มีกลิ่นหอมน่ารับประทาน นอกจากนี้ใบหูกวางยังสามารถใช้ในการเลี้ยงปลากัด เมื่อปลากัดเป็นแผลหรือแสดงอาการผิดปกติ แทนการใช้ยาสังเคราะห์เคมี เพื่อรักษาโรค
อาจารย์ ดร.วัชริยา ภูรีวิโรจน์ จากภาควิชาสัตววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ และ ผศ.ดร.นนทวิทย์ อารีย์ชน จากภาควิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดใบหูกวางพบว่า ใบหูกวางมีคุณสมบัติในการต้านทานแบคทีเรีย เนื่องจากองค์ประกอบของใบหูกวางมีแทนนินและกรดหลายชนิด ดังนั้น เมื่อตรวจสอบคุณภาพของน้ำพบว่าน้ำที่มีสารสกัดใบหูกวางจะมีฤทธิ์เป็นกรดสูงขึ้น การที่น้ำมีสภาพเป็นกรดอาจเป็นสาเหตุส่วนหนึ่งที่ทำให้สารสกัดหูกวางมีผลในการยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย สำหรับอัตราส่วน ของการใช้ใบหูกวางที่เหมาะสม และมีประสิทธิภาพในการต้านทานแบคทีเรียนั้น ควรใช้ใบหูกวางประมาณ 40 ใบ ตากแห้งและบดให้ละเอียด ละลายน้ำ 2 ลิตร หมักทิ้งไว้ในภาชนะ ฝาปิด 1-2 คืน หลังจากนั้นกรองเอาส่วนของน้ำมาผสมกับน้ำเลี้ยงปลา โดยใช้น้ำหมัก 1 ส่วน ต่อ น้ำเลี้ยงปลา 10 ส่วน แต่ถ้าปลามีแผล หรือในน้ำเลี้ยงปลากัดมีแบคทีเรียมาก อาจทำการผสมน้ำหมัก 1 ส่วน ต่อ น้ำเลี้ยงปลา 5 ส่วนแทน ก็จะได้ยารักษาเจ้าปลากัดตัวน้อยๆ ของเรา โดยที่ไม่ต้องพึ่งสารสังเคราะห์เคมี
การเลี้ยงปลากัดในขวด
ปลากัดเมื่อโตได้ขนาด ผู้เลี้ยงจะคัดแยกตัวเมียและตัวผู้ออกจากกัน ตัวผู้จะนำไปเลี้ยงในขวดขวดละ1 ตัว ขวดที่นิยมใช้คือขวดสุราแบน ส่วนตัวเมียหลังจากคัดไว้ทำพันธุ์แล้วจะขายที่เหลือไปในราคาถูก ปลากัดที่เลี้ยงในขวดต้องให้อาหารเช้าเย็น เปลี่ยนน้ำทุก 3 วันจะทำให้ปลาโตเร็ว การเลี้ยงใช้เวลาประมาณ 30-40 วันก็ขายได้ ปลากัดที่เลี้ยงในขวดจะต้องให้อาหารให้อิ่มมิฉะนั้นปลาอาจจะกัดหางตัวเอง โดยเฉพาะปลากัดจีน ทุกๆเดือนหรือสองเดือน ควรล้างขวดที่เลี้ยงให้สะอาดเพื่อป้องกันการเกิดโรคเนื่องจากการสะสมของของเสียต่างๆ โดยย้ายปลากัดไปเลี้ยงในขวดใหม่ที่เตรียมไว้
วิธีการเพาะเลี้ยงลูกน้ำเพื่อธุรกิจ และการส่งออก
ใช้เกลือรักษาโรคปลากัด
1.ฆ่าเชื้อปลาป้องกันการแพร่กระจายโรคว่ากันว่าเกลือสามารถกำจัดปรสิตได้อย่างรวดเร็วถึง 7 : 9 ส่วน เวลาผมไปซื้อปลามาจากที่อื่น พอมาถึงบ้านก็จะจัดการจับปลาแช่น้ำเกลือเข้มข้นก่อนเลย ส่วนเรื่องปริมาณเกลือกับน้ำ พูดตามตรงไม่เคยวัดเลยว่าใช้ปริมาณเท่าไรไม่เท่ากันซักที (ปกติก็น้ำครึ่งขันเกลือซัก5ช้อนโต๊ะ กะๆเอาว่านี่แหละเข้มข้น)แต่ถ้าจะเอาวิชาการจริงๆเดี๋ยวไปดูตอนท้ายสุดเลย พอเราละลายน้ำเกลือแล้วก็จัดการเอาปลาแช่สัก5วินาที (นานกว่านี้กลัวออสโมซิส ปลาตาย) แล้วก็เอาปลามาผ่านน้ำสะอาดซะให้หายเค้ม นี่ก็ประโยชน์อย่างแรก
2.เมื่อปลากัดของเราป่วย ปกติแล้วปลากัดของเราจะขับเมือกออกมาเมื่อรู้สึกไม่สบายตัวหรือเพื่อป้องกันตัวปลากัดจากปรสิตและเชื้อโรคต่าง ๆ เพราะในเมือกปลากัดมีสารฆ่าเชื้อผสมอยู่ เมื่อเราใส่เกลือลงก็จะเป็นการกระตุ้นการขับเมือกของปลากัดด้วย แต่ก็ไม่ใช่ว่าใส่มากๆแล้วขับเมือกซะน้ำในเหลี่ยมปลากัดขุ่นไปเลยนะครับ เอาให้พอเหมาะ สำหรับผมเองปกติถ้าเป็นเหลี่ยมปลากัดขนาด 4x4x8 (กว้างxยาวxสูง) ผมก็ใส่เกลือเม็ดโตๆลงไปซัก4-5เม็ด แถมด้วยใบหูกวางแห้งๆอีกซักใบ ถ้าเหลี่ยมปลากัดใหญ่กว่านั้นก็กะเอาครับ (จริงๆแล้วก็ควรดูว่าใส่ลงไปแล้วปลากัดเราเป็นไง แล้วจะเดาปริมาณถูกว่าจะใส่มากใส่น้อย) ในกรณีที่ใช้เกลือรักษาปลากัด เพื่อนๆก็ต้องควรหยุดใส่เมื่อปลากัดหายเป็นปกติแล้วนะครับ อย่างที่บอกว่าเกลือก็เหมื่อนเป็นยาตัวนึง ถ้าไม่ใช้ยาได้จะดีกว่า แล้วถ้าใช้ต่อไปเรื่อยๆโรคมันก็จะดือยานะครับ คราวหน้าถ้าเราใช้เกลืออีกปลากัดเราอาจจะไม่หายป่วยก็ได้
มาดูกันต่อว่า ที่เค้าเคยพูดกันไว้ว่าเกลือมีประโยชน์ยังไง แบบเกล็ดเล็กเกล็ดน้อยครับ- สามารถควบคุมปริมาณพิษของไนเตรทและไนเตรทฉับพลันในน้ำ โดยประจุที่ได้จากเกลือจะซึมผ่านตัวปลาป้องกันไม่ให้ไนเตรทส่งผลต่อเม็ดเลือดแดงที่ทำให้ปลาฟอกออซิเจนได้น้อยลง- เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะทำให้ปลาเครียด การใช้เกลือเป็นการช่วยลดความเครียดของปลา- เพิ่มพลังงานและภูมิต้านทานต่อโรคต่าง ๆ- ป้องกันการติดเชื้อ และ มีผลในการต่อต้านแบคทีเรีย ทั้งยังมีผลในการยกระดับความสามารถของปลาที่จะต้านทานเชื้อด้วย- ใช้ในการกักโรคปลาปริมาณเกลือที่ใส่ลงในตู้ปลาเพื่อป้องกันเชื้อโรคและปรสิตต่าง ๆ หรือหลังเปลี่ยนน้ำใหม่ขนาดตู้ปลา ตู้ 24" 2 ช้อนโต๊ะไม่พูนขนาดตู้ปลา ตู้ 36" 3 ช้อนโต๊ะไม่พูนขนาดตู้ปลา ตู้ 48" 4 ช้อนโต๊ะไม่พูนปริมาณเกลือตามวัตถุประสงค์วัตถุประสงค์ป้องกันไนเตรท 1 กรัม / ลิตร วัตถุประสงค์สภาพน้ำไนเตรท 3 กรัม / ลิตร วัตถุประสงค์รักษาโรคต่างๆ 9 กรัม / ลิตรหมายเหตุ-น้ำที่มีอุณหภูมิต่ำไม่เหมาะสมกับการเติมเกลือให้ปลา-เกลือทำให้น้ำมีคุณสมบัติกระด้างขึ้น ถ้าน้ำมีความกระด้างอยู่แล้วไม่สมควรเติมเพื่อเพิ่มความเครียดในปลา-ควรใช้เมื่อปลาป่วยหรือน้ำมีคุณภาพผิดปกติ-ควรใส่ปริมาณแต่น้อยไว้ก่อนถ้าใส่มากไปจะเกิดการออสโมซิสย้อนทำลายปลาเอง-ก่อนใส่เกลือลงในน้ำควรจะเอาต้นไม้น้ำออกเสียก่อนเพราะเกลือจะมีผลต่อพืชน้ำพอควร พืชน้ำบางชนิดทนความเค็มไม่ได้แม้เพียงแค่ 0.1 % ก็ตาม และสมควรเปลี่ยนน้ำออก 50%-การใช้เกลือจะต้องระวังเกี่ยวกับความเค็มที่จะเพิ่มขึ้นอย่างทันที เพราะปลาอาจจะปรับตัวไม่ทัน ทั้งนี้เมื่อคำนวณได้ว่าจะต้องใช้เกลือเท่าใดแล้ว ให้แบ่งเกลือนั้นออกเป็น 3 ส่วน แล้วเริ่มใส่เกลือส่วนแรกลงในบ่อหรือตู้ปลา รอดูอาการปลา 1 ชั่วโมง จึงใส่ส่วนที่ 2 และ 3 ตามลำดับ
ไข่ตุ๋น อาหารสำหรับปลากัด
เป็นอาหารสำหรับปลากัดที่เราสามารถทำได้ง่ายๆแถมเรายังเพิ่มสารอาหารให้กับปลากัดของเราได้โดยตรง และถ้าใช้ไข่ตุ๋นให้ปลากัดไม่หมดก็สามารถแช่ตู้เย็นเก็บไว้ใช้ต่อได้อีกซัก3-4วัน แต่ข้อเสียของมันก็คือถ้าเราให้ในปริมาณมากแล้วปลากัดกินไม่หมดจะทำให้น้ำเน่า แล้วก็จะเกิดปัญหาต่างๆตามมา วิธีการทำไข่ตุ๋น : ใช้ส่วนผสมดังนี้ไข่ (ทั้งไข่แดงและไข่ขาว) 1 ฟองเสริมคุณค่าทางอาหารด้วย-นมผงสำหรับเด็กหรือนมสด 1 ช้อนโต๊ะ-สาหร่ายสไปรูลีน่า(ถ้ามี) 1 ช้อนชา-วิตามิน ต่างๆ (ถ้ามี) 1 ช้อนชา-น้ำสะอาด 1/2 แก้วผสมให้เข้ากันดีแล้วก็นึ่งให้สุกจนไข่ตุ๋นสุกและแข็ง ปล่อยทิ้งไว้ให้เย็น แล้วนำไปให้ปลากัดกิน ถ้าเป็นปลากัดตัวเล็กก็บี้ให้มันกิน เท่านี้คนรักปลากัดทุกท่านก็จะได้อาหารคุณภาพดีๆให้ปลากัดกินกันแล้วครับข้อแนะนำ-การเริ่มต้นใช้ไข่ตุ๋น แนะนำว่าให้ใช้ปริมาณน้อย ปลากัดกินหมดแล้วค่อยเอาให้อีกจะดีกว่า-ควรใส่ไข่ตุ๋นลงในถ้วย แล้วเอาทั้งถ้วยลงไปในบ่อปลากัดของเรา เพื่อที่เวลาปลากัดกินไม่หมดจะได้เอา ไข่ตุ๋นที่เหลือขึ้นมาได้ง่ายๆ
พารามีเซียม Paramecium
1 .นำน้ำ 5 ลิตร ต้มกับ เมล็ดถั่วลันเตา 10 เม็ด หรือใบผักบุ้งขยี้ 5 ใบ
2 .ต้มเสร็จปล่อยให้น้ำเย็น
3 .นำนมรสจืดมาหยดลง 3 หยด และยีสต์อีกนิดหน่อย (เน้นว่านมรสจืดนะครับ)
4 .ขั้นตอนที่ 1-3 คือขั้นตอนการเพาะแบคทีเรียที่เป็นอาหารสำหรับพารามีเซียม
5 .เอาหัวเชื้อพารามีเซียมใส่ลงไป
6 .หนึ่งสัปดาห์ผ่านไป(ไวเหมือนโกหก) เมื่อนำมาส่องกับหลอดไฟ ก็จะเห็นพารามีเซียมสีขาว ว่ายเต็มอยู่ในขวดโหล และจะอยู่หนาแน่นบนผิวน้ำ
7 .ให้นมจืดอาทิตย์ละ 3 หยด เพื่อเป็นเชื้อให้กับแบคทีเรียและก็ยีสต์
8 .ตอนให้ลูกปลาก็ดูดจากโหลแล้วก็ใส่ในบ่ออนุบาลลูกปลาแรกเกิดของเราได้เลย อาจจะเอาช้อนตัก หรือจะเอาหลอดมาดูด ก็แล้วแต่คุณล่ะครับ
หนอนจิ๋ว
ไส้เดือนน้ำ
Wednesday, August 20, 2008
ปลากัดยักษ์
สำหรับคนไทยแล้วปลากัดถือเป็นกีฬาตามวิถีชาวบ้านที่ได้รับความนิยมทั่วประเทศ โดยเฉพาะในช่วงระหว่างเดือนพฤษภาคม-ตุลาคมของทุกปี คนในพื้นที่ภาคใต้เรื่อยไปจนถึงประเทศมาเลเซียจะนิยมเล่นปลากัดมากกว่าพื้นที่อื่น วันนี้มีการพัฒนาสายพันธุ์ปลากัดยักษ์จนมีขนาดใหญ่อย่างเห็นได้ชัด จนได้สายพันธุ์ปลากัดยักษ์ที่นิ่งจริง ๆ อีก ทั้งยังมีสีสันสวยงามมากกว่าเดิม ปลากัดยักษ์ในยุคแรก ๆ เฉดสีออกมาในลักษณะของปลากัดหม้อธรรมดาปนกันระหว่างสีเขียว น้ำเงินและแดง ซึ่งเป็นสีพื้นฐานของปลากัดหม้อธรรมดาทั่วไป เดี๋ยวนี้เริ่มมีปลากัดยักษ์สีเดียวสวยสด แม้ว่าสีอาจจะยังไม่สวยเท่ากับปลากัดหม้อสีเดียวก็ตาม ภูมิประเทศที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ ทำให้มีแหล่งอาหาร แหล่งน้ำ สภาพอากาศที่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิตของปลากัด ด้วยปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ทำให้สามารถพัฒนาสายพันธุ์ปลากัดยักษ์ให้มีลักษณะที่ดีขึ้นไปอีก ปลากัดไทยสร้างความคึกคักในตลาดปลากัดทั้งในและต่างประเทศ ประเทศไทยเป็นตลาดที่ส่งออกปลากัดสวยงามที่ใหญ่ที่สุดในโลกมาแล้ว จุดนี้ทำให้เราสามารถเพิ่มมูลค่าปลากัดได้ ยังเป็นการนำรายได้เข้าสู่ประเทศไม่น้อยเลยทีเดียว การพัฒนาสายพันธุ์ในปัจจุบันจะเห็นได้ว่ามีสายพันธุ์และสีใหม่ ๆ มากมาย ร่วมมือกันพัฒนาสายพันธุ์ มีการแลกสายพันธุ์การพัฒนา เพื่อช่วยกันพัฒนาสายพันธุ์ปลาให้มีความสวยงามและแปลกใหม่ยิ่งขึ้น มีปลาใหม่ออกสู่ตลาดเสมอ ผู้ซื้อมีปลาให้เลือกหลากหลายตามความชอบ และการเลือกซื้อปลากัดยักษ์ นั้น ต้องมีความรู้พื้นฐาน มีวิธีการดูลักษณะปลาเบื้องต้น มิเช่นนั้นจะได้ปลากัดยักษ์เทียมมาเลี้ยงก็เป็นได้ เริ่มต้นกันที่ ลักษณะตัวปลา ปลากัดธรรมดาขนาดใหญ่ที่ขุนด้วยอาหารเม็ด จะมีลักษณะลำตัวออกหนาทางด้านกว้างไม่ได้สัดส่วนเมื่อมองด้านข้าง มองจากด้านบน ความกว้างของลำตัวจะแบนไม่สวย เปรียบเทียบกับปลากัดยักษ์แท้ จะมีลักษณะที่ใหญ่และได้รูปสมสัดส่วน คอจะมีลักษณะหนา ลำตัวโค้งมนตามลักษณะสัดส่วนและลาดต่ำไปถึงหางตามลักษณะของปลากัดทั่วไป ข้อหาง ครีบ กระโดง ชายน้ำ จะมีขนาดใหญ่สมดุลกับตัวปลา พฤติกรรมและสุขภาพปลา ปลากัดยักษ์ที่อายุน้อยประมาณ 4 เดือน ความแตกต่างที่เห็นได้ชัดคือ เมื่อเปิดให้ปลาพองใส่กัน ปลาจะมีความปราดเปรียวและคึกคัก บ่งบอกถึงสุขภาพปลาที่ดีและไม่เป็นโรค ผิดกับปลากัดขนาดปกติแต่มีขนาดใหญ่ที่มีอายุมากขึ้น ความคล่องแคล่ว ความปราดเปรียวจะไม่เท่าปลากัดอายุน้อย ซึ่งตรงนี้เป็นข้อสังเกตที่ชัดเจน ร้านขายปลา นับเป็นข้อที่สำคัญมากเลยทีเดียว นอกเหนือจากการสังเกตลักษณะภายนอกด้วยตัวเอง ความเชื่อใจและความซื่อสัตย์ของร้านเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้เราได้ปลาที่มีลักษณะ ที่ดีตรงตามความต้องการ.
ลักษณะของปลากัด
ปลากัดถูกจัดอยู่ในดันดับ (Order) Perciformes ครอบครัว (Family) Belontiidae ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Betta splendens Regan เป็นปลาพื้นเมืองของไทย พบแพร่กระจายทั่วไปทุกภาคของประเทศไทย อาศัยอยู่ในอ่างเก็บน้ำ ทะเลสาบ หนอง บึง แอ่งน้ำ ลำคลอง ฯลฯ ในบริเวณที่มีระดับน้ำตื้น ๆ น้ำค่อยข้างใส น้ำนิ่งหรือ ไหลเอื่อย ๆ มีพันธุ์ไม้น้ำขึ้นประปรายชอบว่ายน้ำช้า ๆ บริเวณผิวน้ำ เป็นปลาที่มีขนาดเล็ก ลำตัว ยาว แบนข้าง หัวเล็ก ปากขนาดเล็กเชิดขึ้นด้านบนเล็กน้อย มีฟันที่ขากรรไกรบน และขากรรล่าง มีเกล็ดปกคลุมหัวและลำตัว ความยาวจาก ปลายจงอยถึงโคนหางยาว 2.9 - 3.3 เท่าของความกว้าง ลำตัว และ 3.0-3.3 เท่าของความยาวหัว จุดเริ่มต้นของครีบหลังอยู่ค่อนไปทางด้านหาง หลังจุดเริ่ม ต้นของครีบก้น ครีบหลังมีก้านครีบเดี่ยว 1-2 ก้าน ก้านครีบแขนง 7-9 ก้าน ครีบก้นมีฐานครีบยาว มาก เริ่มจากครีบท้องไปสุดที่โคนครีบ หาง มีก้านครีบเดี่ยว 2-4 ก้าน และก้านครีบแขนง 21-24 ก้าน ครีบอกมีขนาดเล็กกว่าครีบอื่น ๆ ปลากัดไม่มีเส้นข้างตัว กระดูกที่อยู่ด้านหน้าของตา ( Preorbital ) มีขอบเรียบ มีอวัยวะพิเศษช่วยในการหายใจนอกจากเหงือก เรียก Labyrinth organ อยู่ในโพรงอากาศหลังช่องเหงือก มีลักษณะ เป็นเนื้อเยื่อที่มีรอยยักและมีเส้นเลือดฝอยมาหล่อเลี้ยง มากมาย แต่ในปลาวัยอ่อนจะไม่พบอวัยวะช่วยหายใจดังกล่าว จะเริ่มเกิดเมื่อปลามีอายุ 10 วัน จาก การที่ปลากัดต้องใช้อวัยวะช่วยในการหายใจ ทำให้ปลาต้องโพล่ขึ้นมาฮุบอากาศที่ผิวน้ำเสมอ และ จากสาเหตุนี้ทำให้ปลากัดสามารถอยู่ในน้ำที่ไม่มี ออกซิเจนได้ปลากัดมีนิสัยก้าวร้าว ปลาเพศผู้ จะต่อสู้กันและชอบทำร้ายปลาเพศเมียในเวลาผสมพันธุ์ แต่ในปลาวัยอ่อนยังไม่พบว่ามีพฤติกรรม ก้าวร้าว ปลาเริ่มแสดงนิสัยจวบยก้าวร้าวเมื่ออายุได้1.5 - 2 เดือน และจากลักษณะนิสัยนี้เองทำ ให้ประเทศไทยมีประวัติการใช้ปลากัดต่อสู้กันทั้งเพื่อเกมกีฬา และการพนัน จนเป็นที่รู้จักกันทั่วโลก มานับร้อยปีแล้ว ในการเลี้ยงปลากัดเพื่อต่อสู้นั้นมีการคัดเลือกพันธุ์ให้มีคุณสมบัติเฉพาะที่สามารถ ใช้ในการต่อสู้ โดยเริ่มต้นจากการรวบรวมปลาจากแหล่งน้ำธรรมชาติที่เรียกกันว่า ปลากัดป่า หรือ ปลากัดทุ่ง ที่มีลำตัวค่อนข้างเล็กบอบบาง สีน้ำตาลขุ่น หรือเทาแกมเขียว นำมาเพาะเลี้ยงและคัด พันธุ์หลายชั่วอายุ จนได้ปลาที่มีรูปร่างแข็งแรง ลำตัวหนาและใหญ่ขึ้น ว่ายน้ำปราดเปรียว สีสันสวย สด เช่น สีแดงเข้ม น้ำเงินเข้ม น้ำตาลเข้ม หรือสีผสมระหว่างสีดังกล่าว และเรียกปลากัดที่ได้จากการ คัดพันธุ์เพื่อการต่อสู้นี้ว่า ปลากัดหม้อ ปลากัดลูกหม้อ หรือปลากัดไทย มีผู้พยายาม คัดพันธุ์ปลากัด โดยเน้นความสวยงามเพื่อเลี้ยงไว้ดูเล่น โดยคัดพันธุ์เพื่อให้ได้ปลาที่มีครีบยาว สีสวย จนปัจจุบัน ประเทศไทยสามารถผลิตปลากัดที่มีสีสัน สดสวยมากมายหลายสี เช่น เขียว ม่วง แดง น้ำเงิน ฯลฯ กับ ความยาวลำตัวและหัวรวมกัน ซึ่งนิยมเรียกปลากัดลักษระเช่นนี้ว่า ปลากัดจีน หรือปลากัดเขมร ต่าง ประเทศรู้จักปลากัดในนาม " Siamese Fighting Fish " ปัจจุบันปลากัดเป็นปลาที่สามารถส่งขายต่าง ประเทศนำรายได้เข้าประเทศเป็นอันดับหนึ่งของปลาไทยทั้งหมด เพราะนอกจากจะเป็นปลาที่มีสีสัน สดสวย ครีบยาวพริ้วสวยงามแล้วยังมีคุณสมบัติในเชิงต่อสู้เพื่อความตื่นเต้นให้แก่ผู้เลี้ยงอีกด้วยครับ
ที่มา : lonsa9000
Friday, August 15, 2008
ปลากัดป่า หรือ ปลาลูกทุ่ง
ปลากัดป่า หรือ ปลาลูกทุ่ง ที่พบในธรรมชาติ ตามท้องนา หนองบึง ส่วนใหญ่จะเป็นปลาขนาดเล็กที่ไม่เด่นมากนัก ในสภาพปกติสีอาจเป็นสีน้ำตาล เทาหม่น หรือสีเขียว และอาจมีแถบดำจาง ๆ พาดตามความยาวของลำตัว อาศัยหลบซ่อนตัวอยู่ระหว่างพรรณไม้น้ำในที่ตื้น ความพิเศษของปลากัด อยู่ที่ความเป็นนักสู่โดยธรรมชาติเมื่อพบปลาตัวอื่นจะเข้าต่อสู้กันทันที และที่พิเศษยิ่งกว่านั้นคือการที่ปลาตัวผู้สามารถเปลี่ยนสีให้งดงามเมื่อถูก กระตุ้น ในสภาวะตื่นตัวครีบทุกครีบจะแผ่กางออกเต็มที่ แผ่นเยื่อหุ้มเหงือขยายพองตัวออก พร้อมกับสีน้ำเงินหรือแดงที่ปรากฏขึ้นมาชัดเจนในโทน ต่าง ๆ ทำให้ดูสง่าอาจหาญ และสวยงาม ปลาป่าแท้นั้นส่วนมากครีบ หางและกระโดงที่ภาษานักแปลงปลาเรียกรวมว่า "เครื่อง" จะมีสีแดงเกือบตลอดมีประดำบ้างเล็กน้อย บางทีอาจมีเส้น เขียว ๆ แซมบ้าง อย่างที่เรียกว่าเขียวก็มีเพียงแต้มเขียวอ่อน ๆ ที่กระโดงเท่านั้น เวลาถอดสีปกติทั้งตัวและเครื่องเป็นสีน้ำตาลจืด ๆ คล้ายใบหญ้าแห้ง ที่ห้อยแช่น้ำอยู่ ลักษณะพิเศษอีกอย่างหนึ่งของปลากัดก็คือเป็นปลาที่มีอวัยวะช่วยหายใจพิเศษที่อยู่บริเวณเหงือกทำให้ปลาสามารถใช้ออกซิเจน จากการฮุบอากาศได้โดยตรง ปลากัดจึงสามารถทนทานดำรงชีวิตอยู่ได้ในที่ที่มีออกซิเจนต่ำ ตำนานเล่าขานของปลากัดจึงค่อนข้างแปลกประหลาด ไปกว่าสัตว์น้ำชนิดอื่น ๆ บทความ "ธรรมชาติของปลากัดไทย) โดย ม.ล. ยิ่งศักดิ์ อิศรเสนา ที่เขียนไว้เมื่อปี 2496 ได้พูดถึงการขุดหาปลากัดในรูปูนา ตามขอบหนอง ชายบึง ริมคู และรางน้ำ ซึ่งปลากัดเข้าไปอยู่อาศัยปนอยู่กับปูในรูตั้งแต่ต้นฤดูหนาว เมื่อน้ำเริ่มลดไป จนตลอดหน้าแล้งปูก็จะขุดรูลึก ตามระดับน้ำลงไปเรื่อย ๆ ปลากัดจะออกมาแพร่พันธุ์ใหม่ในต้นฝนในเดือนพฤษภาคม กระจายออกไปหากินตามที่มีหญ้ารก ๆ ในเขตน้ำตื้นปลากัด เป็นปลาที่ชอบน้ำตื้น จึงไม่พบตามแม่น้ำลำคลอง หนองบึง ที่มีน้ำลึก อันที่จริงในธรรมชาติการต่อสู่กันของปลากัดไม่จริงจังเท่าไรนัก ส่วนมากมักแผ่พองครีบหางขู่กันเพื่อแย่งถิ่น บางตัวเห็นท่าไม่ดีก็อาจเลี่ยงไปโดยไม่ ต่อสู้กันเลยก็มี แต่บางคู่ก็ต่อสู้กันอย่างถึงพริกถึงขิง ปลาตัวผู้ตัวไหนที่ยึดชัยภูมิเหมาะได้ที่ ก็จะก่อหวอดไว้แล้วพองตัวเบ่งสี เกี้ยวตัวเมียที่ผ่านไปมา เพื่อผสมพันธุ์วางไข่
ปลากัดป่าบรูไน (Betta macrostoma)
การเลี้ยงปลากัดเพื่อการแข่งขัน
ที่มา : เทคโนโลยีชาวบ้าน
มุมมองตลาดปลากัดยักษ์
เหตุผลสำคัญที่ทำให้คนไทยหันมาเลี้ยงปลากัดเป็นปลาสวยงามกันมากขึ้น เนื่องจากเป็นปลาที่เลี้ยงง่ายไม่ต้องให้ออกซิเจน ใช้เนื้อที่น้อยและที่สำคัญเป็นปลาที่มีศักยภาพในการพัฒนาสายพันธุ์ให้มีสีสันที่หลากหลายไปได้เรื่อย ๆ “ปลากัด” จัดเป็นปลาพื้นเมืองของบ้านเรา พบการแพร่กระจายไปทั่วทุกภาคของประเทศจะอาศัยบริเวณผิวน้ำ ไม่ว่าจะเป็นหนอง, บึง, แอ่งน้ำ, ลำคลอง ฯลฯ สำหรับต่างประเทศจะพบในประเทศมาเลเซีย, พม่า, ลาว, กัมพูชา และจีน เป็นต้น สำหรับคนไทยแล้วปลากัดถือเป็นกีฬาตามวิถีชาวบ้านที่ได้รับความนิยมทั่วประเทศ โดยเฉพาะในช่วงระหว่างเดือนพฤษภาคม-ตุลาคมของทุกปี คนในพื้นที่ภาคใต้เรื่อยไปจนถึงประเทศมาเลเซียจะนิยมเล่นปลากัดมากกว่าพื้นที่อื่น
วันนี้มีการพัฒนาสายพันธุ์ปลากัดยักษ์จนมีขนาดใหญ่อย่างเห็นได้ชัด จนได้สายพันธุ์ปลากัดยักษ์ที่นิ่งจริงๆ อีกทั้งยังมีสีสันสวยงามมากกว่าเดิม ปลากัดยักษ์ในยุคแรกๆเฉดสีออกมาในลักษณะของปลากัดหม้อธรรมดาปนกันระหว่าง สีเขียว น้ำเงินและแดงซึ่งเป็นสีพื้นฐานของปลากัดหม้อธรรมดาทั่วไป เดี๋ยวนี้เริ่มมีปลากัดยักษ์สีเดี่ยวสวยสด แม้ว่าสีอาจจะยังไม่สวยเท่ากับปลากัดหม้อสี่เดี๋ยวก็ตาม ภูมิประเทศที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ ทำให้มีแหล่งอาหาร แหล่งน้ำ สภาพอากาศที่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิตของปลากัด ด้วยปัจจัยต่างๆเหล่านี้ทำให้สามารถพัฒนาสายพันธุ์ปลากัดยักษ์ให้มีลักษณะที่ดีขึ้นไปอีก ปลากัดไทยสร้างความคึกคักในตลาดปลากัดทั้งในและต่างประเทศ ประเทศไทยเป็นตลาดที่ส่งออกปลากัดสวยงามที่ใหญ่ที่สุดในโลกมาแล้ว จุดนี้ทำให้เราสามารถเพิ่มมูลค่าปลากัดได้ ยังเป็นการนำรายได้เข้าสู่ประเทศไม่น้อยเลยทีเดียว
การพัฒนาสายพันธุ์ในปัจจุบันจะเห็นได้ว่ามีสายพันธุ์และสีใหม่ๆมากมาย ร่วมมือกันพัฒนาสายพันธุ์ มีการแลกสายพันธุ์การพัฒนา เพื่อช่วยกันพัฒนาสายพันธุ์ปลาให้มีความสวยงามและแปลกใหม่ยิ่งขึ้น มีปลาใหม่ออกสู่ตลาดเสมอ ผู้ซื้อมีปลาให้เลือกหลากหลายตามความชอบ ตลาดมีความคึกคักตลอดเวลา ตลาดปลามีความคึกคักเพียงช่วงหนึ่ง เมื่อหมดความนิยมหรือมีปลาออกมาจำนวนมาก ตลาดการซื้อขายปลากลับมาเงียบเหงาซบเซา จนกว่าจะมีปลาสายพันธุ์ใหม่ สีใหม่ออกมาทำความฮือฮาอีกครั้ง การเลือกซื้อปลากัดยักษ์นั้น ต้องมีความรู้พื้นฐาน มีวิธีการดูลักษณะปลาเบื้องต้น มิเช่นนั้นจะได้ปลากัดยักษ์เทียมมาเลี้ยงก็เป็นได้
ปลากัดยักษ์ใหญ่แท้...หรือยักษ์เทียมดูอย่างไร? ในเมื่อตัวใหญ่เหมือนกัน
มีวิธีการดูลักษณะเบื้องต้นดังนี้
1. ลักษณะตัวปลา ปลากัดธรรมดาขนาดใหญ่ที่ขุนด้วยอาหารเม็ด จะมีลักษณะลำตัวออกหนาทางด้านกว้างไม่ได้สัดส่วนเมื่อมองด้านข้าง (SIDE VIEW) มองจากด้านบน (TOP VIEW)
ความกว้างของลำตัวจะแบนไม่สวย เปรียบเทียบกับปลากัดยักษ์แท้ จะมีลักษณะที่ใหญ่และได้รูปสมสัดส่วน คอจะมีลักษณะหนา ลำตัวโค้งมนตามลักษณะสัดส่วนและลาดต่ำไปถึงหางตามลักษณะของปลากัดทั่วไป ข้อหาง ครีบ กระโดง ชายน้ำ จะมีขนาดใหญ่สมดุลกับตัวปลา
2. พฤติกรรมและสุขภาพปลา ปลากัดยักษ์ที่อายุน้อยประมาณ 4 เดือน ความแตกต่างที่เห็นได้ชัดคือ เมื่อเปิดให้ปลาพองใส่กัน ปลาจะมีความปราดเปรียวและคึกคัก บ่งบอกถึงสุขภาพปลาที่ดีและไม่เป็นโรค ผิดกับปลากัดขนาดปกติแต่มีขนาดใหญ่ที่มีอายุมากขึ้น ความคล่องแคล่ว ความปราดเปรียวจะไม่เท่าปลากัดอายุน้อย ซึ่งตรงนี้เป็นข้อสังเกตที่ชัดเจน
3. ร้านขายปลา นับเป็นข้อที่สำคัญมากเลยทีเดียว นอกเหนือจากการสังเกตลักษณะภายนอกด้วยตัวเอง ความเชื่อใจและความซื่อสัตย์ของร้านเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้เราได้ปลาที่มีลักษณะที่ดีตรงตามความต้องการ
จะพิสูจน์ได้อย่างไรว่าท่านได้ปลากัดยักษ์หรือเทียมก็ต่อเมื่อปลาแหวกว่ายอยู่ในตู้ เมื่อให้อาหารตามโครงสร้างตามวัยที่ถูกต้อง ปลาต้องเจริญเติบโต ขึ้นจนเป็นปลากัดยักษ์เต็มวัย มิใช่โตขึ้นเล็กน้อยแล้วหยุดการโตหรือมีลักษณะเนื้อหนา แต่โครงสร้างไม่ได้ขยายขึ้นเลย
ที่มา : nicaonline
Thursday, August 14, 2008
ปลากัดกระบี่ (Betta simplex)
อย่างไรก็ดีเนื่องจากความสวยงามของปลากัดกระบี่ทำให้มีการจับปลากัดกระบี่เพื่อมา เลี้ยงเป็นปลาสวยงามพอสมควรโดยส่วนใหญ่แล้วปลาจะตายในระยะเวลาอันสั้นเพราะผู้เลี้ยงขาดความรู้และความเข้าใจในการเลี้ยงปลากัดชนิดนี้ ซึ่งถ้าจะเลี้ยงให้ได้ดีนั้นเราควรจะย้อนกลับไป ดูว่าในธรรมชาตินั้นปลากัดกระบี่มีชีวิตความเป็นอยู่อย่างไร
ในธรรมชาติเราสามารถที่จะพบปลากัดกระบี่ได้ในกอหญ้าริมลำธารที่น้ำไหลเอื่อยๆ และรายงานที่ได้รับมานั้นจะเป็นลำธารที่ไหลมาจากภูเขาหินปูนทำให้น้ำมีความกระด้างและมีค่าเป็นด่าง (pH ประมาณ 7.5 – 8.5) ซึ่งจากการสำรวจนั้นไม่พบปลากัดกระบี่ในแหล่งน้ำลักษณะ อื่นโดยมีรายงานว่ามีลำธารบางส่วนที่มีเขตติดต่อกับบึงน้ำที่มีค่าน้ำเป็นกรดก็ไม่พบว่ามีปลากัด กระบี่เข้าไปอาศัยอยู่แต่กลับพบปลากัดทุ่งภาคใต้แทน โดยในทางกลับกัน ก็ไม่พบว่าปลากัดทุ่ง ภาคใต้มาอาศัยอยู่ในลำธารที่น้ำเป็นด่าง ในธรรมชาติมีรายงานพบปลากำลังผสมพันธุ์และอม ไข่ในช่วงปลายฤดูฝนประมาณเดือนตุลาคม
ในที่เลี้ยง
ผมพบว่าปลากัดกระบี่เป็นปลาที่เลี้ยงไม่ยากนักโดยเฉพาะน้ำประปาที่บ้านผมนั้นมีค่า เป็นด่างแถวๆ 7 แก่ๆ และมีความกระด้างพอสมควรตามหลักของน้ำประปาที่ดีทั่วไปทำให้เป็นน้ำ ที่เหมาะกับการเลี้ยงปลากัดกระบี่เป็นอย่างมาก อย่างไรก็ดีสำหรับท่านที่ต้องการให้แน่ใจว่าน้ำ มีความกระด้างเพียงพอก็สามารถที่จะหาหินปูนหรือใช้เศษปะการังมาลองพื้นตู้หรือใส่ลงไปในระบบกรองก็ได้และต้องไม่ลืมว่าปลากัดในกลุ่มอมไข่นั้นไม่ได้มีอวัยวะหายใจอากาศดีเหมือนกับ พวกกลุ่มก่อหวอดดังนั้นพวกเค้าจึงต้องการสถานที่เลี้ยงที่กว้างพอสมควร ผมพบว่าปลาหนึ่งตัวต่อน้ำประมาณ 7-10 ลิตรเป็นอัตราส่วนที่เหมาะสม ซึ่งถ้าเราเลี้ยงในที่กว้าง แบบนี้แล้วอ๊อกซิเจนจากหัวทรายหรือเครื่องกรองก็ไม่มีความจำเป็น แต่ว่าถ้ามีให้ปลาก็จะชอบ มากกว่า ปลากัดกระบี่จะไม่ก้าวร้าวถึงขนาดไล่กัดกันเป็นเรื่องเป็นราว แต่ปลาตัวผู้ก็จะมีการ กระทบกระทั่งกันบ้าง ดังนั้นถ้าเราจะเลี้ยงปลาตัวผู้หลายตัวในตู้เดียวกันก็ควรจะมีที่หลบ เช่น ขอนไม้ ต้นไม้น้ำ กระถาง หรือ ท่อพลาสติก ไว้ให้ต่างตัวต่างอยู่บ้างจะได้ไม่กระทบกระทั่งกัน มากนัก อย่างไรก็ดีถ้าเห็นว่ามีตัวผู้ตัวใดตัวหนึ่งมีความก้าวร้าวผิดปกติก็ควรจะแยกปลาตัวผู้ ตัวอื่นๆ ออก เพราะตัวที่แพ้นั้นจะมีอาการเครียดและอาจจะตายได้ ข้อสำคัญคือตู้ต้องมีฝาปิดให้มิดชิดเพราะปลากัดป่าทุกชนิดกระโดดเก่งมาก โดยเฉพาะช่วงที่มาอยู่แรกๆ
อาหารที่ใช้เลี้ยงปลากัดกระบี่ก็เหมือนกับปลากัดทั่วๆไปคือพวกลูกน้ำ ลูกไร ไส้เดือนน้ำ หนอนแดง และ ไรทะเล นอกจากนั้นผมยังพบว่าปลากัดกระบี่สามารถหัดให้กินอาหารเม็ดได้ด้วย แต่ก็ไม่ควรที่จะให้อาหารเม็ดเป็นอาหารหลัก โดยเฉพาะถ้าต้องการที่จะให้ปลาผสมพันธุ์
การผสมพันธุ์ในที่เลี้ยง
เป้าหมายการเลี้ยงสัตว์ โดยเฉพาะสัตว์ที่มีความเสี่ยงในการสูญพันธุ์นั้นคือการเพาะ พันธุ์ในที่เลี้ยงให้ได้ สำหรับปลากัดกระบี่ซึ่งมีการแพร่กระจายพันธุ์แคบๆ นั้น ทุกท่านที่เลี้ยงอยู่ ควรจะเพาะพันธุ์ให้ได้เพื่อแจกจ่ายหรือจำหน่ายให้กับเพื่อนๆที่อยากเลี้ยงต่อไป ซึ่งการเพาะพันธุ์ ในที่เลี้ยงจะทำให้เราไม่ต้องไปจับปลามาจากธรรมชาติอีกและยังเป็นการช่วยให้แน่ใจว่าจะยังมีปลากัดกระบี่อยู่บนโลกใบนี้ถึงแม้ว่ามันจะสูญเสียที่อยู่ในธรรมชาติไปหมดแล้ว
ในการเพาะพันธุ์สัตว์นั้นเริ่มแรกเลยคือเราต้องพยายามเลียนแบบธรรมชาติที่เค้าเคยอยู่ให้มากที่สุด ซึ่งผมก็ได้กล่าวไปแล้วว่าปลากัดกระบี่ในธรรมชาตินั้นอยู่อย่างไร การเพาะพันธุ์ในที่เลี้ยงควร เริ่มจากการแยกเลี้ยงปลาตัวผู้และเมียไว้ต่างหาก ให้อาหารปลาให้สม่ำเสมอ เมื่อสังเกตุว่าปลา ตัวผู้มีความสมบูรณ์แล้วและปลาตัวเมียก็ท้องแก่มีไข่เต็มที่ เราก็นำปลาทั้งสองมาอยู่ในตู้เดียวกัน โดยในตู้หรือที่เพาะนี่ก็ควรจะมีกระถางขนาดเส้นผ่าสูญกลางประมาณสัก 10 ซม. วางไว้สักกระ ถางเพื่อให้ปลาเข้าไปผสมพันธุ์กัน ซึ่งการกระตุ้นให้ปลาผสมพันธุ์ก็เป็นการเรียนแบบธรรมชาติอีก เช่นการเปลี่ยนน้ำที่ละมากๆโดยทำให้น้ำที่เปลี่ยนใหม่นั้นมีความเย็นกว่าน้ำเดิมสักนิด และเร่ง อ๊อกซิเจนให้แรงขึ้นเพื่อเพิ่มกระแสน้ำ ให้อาหารเพิ่มมากขึ้นกว่าปกติ เพื่อเป็นการเลียนแบบฤดู ฝนที่ปลาผสมพันธุ์ในธรรมชาติ ถ้าทุกอย่างเป็นไปด้วยดี ปลาก็จะจับคู่ผสมพันธุ์กัน โดยการผสม นั้นตัวผู้จะป้อจนตัวเมียยอมเข้าไปในถ่ำที่เตรียมไว้จากนั้นตัวผู้ก็จะทำการรัดให้ไข่ตกลงมา จาก นั้นตัวเมียก็จะเก็บไข่มาอมไว้ และนำมาพ่นให้ตัวผู้ไปอมไว้ แล้วการรัดก็จะเริ่มต้นอีกครั้ง ซึ่งพิธี การที่ผมเขียนมาไม่กี่ประโยคนี้จริงๆแล้วอาจจะนานหลายชั่วโมง เพราะทุกกระบวนการขั้นตอน นั้นชักช้าและลีลามากเหลือเกิน จะให้เปรียบก็คงเหมือนการดู ภราดรแข่งกับฮีวิต เป็นภาพ สโลโมชั่น ตื่นเต้นที่จะได้ดูแต่ก็อึดอัดน่าเบื่อเหลือหลาย ผมเองเคยนอนดูจนหลับคาหน้าตู้มาแล้ว
หลังจากเสร็จสิ้นพิธีการแล้วรอดูสักวันสองวันก็ตักตัวเมียแยกออกมา แล้วถ้าไม่มีอะไร ผิดพลาดปลาตัวผู้จะอมไข่ไว้ประมาณ 12-15 วัน ตัวผู้ก็จะคายลูกปลาตัวใหญ่ๆออกมา ถ้าพลาด เช่น ปลาทั้งคู่ยังเด็กเกินไปทำให้ไข่ฟ่อ, ถ้าตัวผู้เกิดอารมณ์ไม่ดีขึ้นมาเพราะมีคนมากวน หรือ เพราะเกิดนิสัยไม่ดีขึ้นมา ตัวผู้ก็จะกินไข่ไป ซึ่งพฤติกรรมนี่อาจจะเกิดกับปลาหนุ่มหลายครั้งสัก หน่อย อย่างปลาของผมก็กินไข่ไปสัก 6-7 ครั้งได้กว่าจะอมไข่สำเร็จเป็นครอกแรก เท่าที่ผมเคย เพาะมานั้น ครอกแรกได้ลูกเลี้ยงจนโตเต็มที่มาทั้งหมด สิบเก้าตัว และครอกที่สองซึ่งเป็นรุ่นลูกก็ ได้จำนวนประมาณนี้เหมือนกัน ซึ่งก็มีความรู้สึกว่าเยอะแล้ว และก็ยังไม่เข้าใจว่าอัดกันอยู่ในปาก พ่อได้ยังไงกันตั้งนานขนาดนั้น
พอพ่อปลาคายลูกออกมาแล้ว อย่าเพิ่งปล่อยตัวเมียลงไปเพราะถึงตอนนี้ก็ไม่ได้กิน อาหารมาเป็นสิบวันแล้ว ค่อยๆ ขุนให้สมบูรณ์อีกสักเดือนสองเดือนจึงค่อยปล่อยตัวเมียลงผสม พันธุ์อีกครั้งแล้วก็พักยาวสัก 2-3 เดือน อมบ่อยๆเดี๋ยวปลาโทรมครับ
สำหรับลูกปลากัดกระบี่ที่ออกมาจากปากพ่อสามารถที่จะให้ไรทะเลที่เพิ่งฟักใหม่หรือลูกไรกรอง ได้เลย ผมพบว่าหนอนจิ๋วจะเล็กไปสักหน่อยสำหรับลูกปลากัดกระบี่แต่ถ้ามีใครหัดให้กินได้ก็ ง่ายดีเหมือนกัน ลูกปลาจะใช้เวลาสัก 5-7 เดือนถึงจะโตพอที่จะเริ่มผสมพันธุ์ได้ครับ
ขอให้ทุกท่านโชคดีกับปลากัดกระบี่แล้วถ้าใครเพาะได้แล้วอย่าลืมมาโม้ที่เว็บบอร์ดกันบ้างนะครับ
ปลากัดหัวโม่ง (Betta prima)
รูปที่ 2
รูปด้านบนนี้เป็นลูกปลาอายุได้ประมาณ 4-5 วันแล้ว
ถิ่นอาศัยของปลากัดหัวโม่งในธรรมชาติ ถ่ายจากจังหวัดจันทบุรี
ตู้ที่ใช้ในการเพาะพันธุ์นั้นเป็นตู้เลี้ยงพรรณไม้น้ำซึ่งใช้ระบบกรองข้างธรรมดา ระบบใน การเลี้ยงพรรณไม้น้ำค่อนข้างเต็มรูปแบบ มีไฟฟลูออเรสเซนต์ 4 หลอด พร้อมระบบให้คาร์บอนได ออกไซด์ มีพัดลมเป่าลดความร้อนอุณหภูมิในตู้จึงอยู่ที่ประมาณ 28-29 องศาเซลเซียส โดยตลอด ค่าความเป็นกรด-ด่าง(pH)นั้นอยู่ที่ประมาณ 7-7.5 ระบบการทำงานของตู้นั้นระบบไฟและระบบ คาร์บอนไดออกไซด์จะเปิดตั้งแต่ 08.00-18.00 น. ในส่วนของกรองข้างนั้นจะทำงานหลังจากที่ ระบบไฟและคาร์บอนไดออกไซด์ดับแล้วเท่านั้น ตอนกลางวันน้ำจึงนิ่ง ส่วนกลางคืนนั้นน้ำจะไหล เอื่อยๆ เนื่องจากใช้ปั้มน้ำขนาดเล็กเท่านั้น
จากในรูปที่ 1 จะเห็นได้ว่าค่อนข้างจะมีพรรณไม้น้ำจำนวมากในตู้ ซึ่งเป็นสภาพแวด ล้อมที่มีมุมในการหลบหลีกได้ค่อนข้างมาก ทำให้ไม่มีปัญหาในการกัดกันรุนแรงมากนัก นอก จากนั้นยังมีมุมที่จะให้ปลาได้จับคู่กันได้หลายมุมอีกด้วย พรรณไม้น้ำที่เลี้ยงในตู้ก็เป็นพรรณไม้ น้ำโดยทั่วไปเช่น อนูเบียส, มายาก้า, คาบอมบ้าเขียว,คาดามายด์,เทเนลุส ฯลฯ โดยมีการจัดวาง เถาวัลย์ไม้และขอนไม้ที่ใช้ในการแต่งตู้เป็นหลักก่อน ส่วนปลาชนิดอื่นๆ ที่อยู่ร่วมด้วยนั้นก็มีปลา ตระกูล Catfish และ Dwarf cichlid ด้วย ซึ่งจากที่สังเกตปลากัดอมไข่หัวโม่ง ไม่มีปัญหาในการ เลี้ยงรวมกับปลาเหล่านี้เลย การกัดกันจะมีเฉพาะในกลุ่มปลากัดด้วยกันเองเท่านั้น
อาหารที่เลี้ยงนั้นใช้ไส้เดือนน้ำสดให้ทุกวันเช้า-เย็น โดยให้ในปริมาณที่พยายามไม่ให้ เหลือตกค้างในตู้โดยเด็ดขาด เนื่องจากอาจทำให้น้ำเน่าเสียได้ อาหารสดอาจเป็นปัจจัยสำคัญ ที่ทำให้ปลามีความสมบูรณ์พร้อมในการผสมพันธ์ด้วย
การสังเกตความแตกต่างระหว่างปลาตัวผู้และตัวเมียนั้น ในวัยเพาะพันธ์ได้แล้วนั้นจะ ค่อน ข้างสังเกตได้ง่าย โดยปลาตัวผู้จะมีครีบบริเวณกระโดงหลัง หาง และชายน้ำล่าง แหลมออก มา ส่วนปลาตัวเมียนั้นครีบต่างๆจะมีลักษณะกลม มน และบริเวณท้องจะค่อนข้างใหญ่ แต่จะไม่ มีจุดไข่นำเหมือนปลากัดในกลุ่มก่อหวอด
หลังจากปลาอยู่ในตู้ได้ประมาณสามวัน ก็เริ่มสังเกตได้ว่าปลาตัวผู้และตัวเมียจับคู่กัน ในมุมต่างๆกัน ในช่วงระยะนี้ปลาทั้งคู่จะว่ายอยู่ใกล้ๆกันและรัดกันบ่อยครั้ง โดยหลังจากรัดกัน แล้วจะเป็นฝ่ายตัวเมียที่อมไข่ไว้ก่อน หลังจากนั้นตัวเมียจะพ่นไข่ออกมา และจะเป็นตัวผู้ที่คอย รับไข่ไป แต่จากการสังเกตแล้วเหมือนจะเป็นการแย่งกันระหว่างตัวเมียและตัวผู้ เนื่องจากพฤติ กรรมที่เห็นปลาตัวเมียจะพ่นไข่ออกมา หลังจากนั้นก็จะฮุบไข่กลับถ้าตัวผู้ฮุบไข่ไปไม่ทัน แต่หลัง จากนั้นไม่นานก็จะพ่นไข่ออกมาใหม่และจะเป็นตัวผู้ที่ต้องคอยแย่งฮุบไข่ที่พ่นออกมาให้ทัน ขั้น ตอนจะเป็นเช่นนี้ไปจนตัวผู้รับไข่ทั้งหมดไปไว้ในปาก ในช่วงเวลานี้นั้นปลาตัวเมียจะมีนิสัยก้าว ร้าวหวงถิ่นมาก โดยจะคอยว่ายมาไล่ปลาทุกชนิดให้ออกไปจากบริเวณรังโดยตลอด ส่วนปลา ตัวผู้นั้นจะคอยอยู่ในรังเท่านั้น หลังจากตัวผู้ได้รับไข่ทั้งหมดไปแล้ว ลักษณะแก้มของปลาตัวผู้ จะป่องอย่างเห็นได้ชัดตามรูปที่ 2
ในช่วงระยะเวลาที่ปลาตัวผู้อมไข่อยู่นั้น ปลาตัวเมียจะกลับมาอยู่อย่างปรกติจะไม่คอย เฝ้ารังอีก ส่วนปลาตัวผู้จะอยู่แต่ในรังและไม่กินอาหารเลยจนกระทั่งได้คายลูกปลาออกมาทั้งหมด แล้ว ระยะเวลาในการอมไข่จนคายลูกปลาออกมานั้นจะอยู่ในช่วง 7-10 วัน ลูกปลาที่คายออกมา นั้นลักษณะและขนาดจะเหมือนลูกปลาหางนกยูงโดยทั่วไป จากที่เคยทราบมานั้นลูกปลาที่ออก มาอาจจะโดนกินไปจากปลาที่ใหญ่กว่าได้ แต่เนื่องจากเลี้ยงในตู้พรรณไม้น้ำจึงทำให้ลูกปลามี โอกาสหลบตามต้นไม้ต่างๆได้ จากการนับครั้งหลังสุดตอนแยกลูกปลาออกมาอนุบาลอีกตู้นั้น มี ลูกปลาทั้งสิ้น 50 ตัวจากปลาตัวผู้อมไข่ 3 ตัว
ปลากัดหัวโม่ง (Betta prima) เป็นหนึ่งในปลากัดอมไข่ที่พบในประเทศไทยมีถิ่นอาศัย อยู่ตามลำธารน้ำไหลในเขตจังหวัดภาคตะวันออกตอนล่างและเข้าใจว่ามีการกระจายพันธุ์อยู่ในประเทศเขมรด้วย
ที่มา : siamensis
โรคของปลากัด และวิธีรักษา
การรักษา - ต้องรีบเปลี่ยนน้ำที่มีคุณสมบัติเหมาะแก่การเจริญเติบโตให้ใหม่
-----------------------
โรคปรสิต (พยาธิใบไม้และหนอนสมอ) - มักพบตามตัว เหงือก ครีบ มีลักษณะคล้ายเส้นด้ายสั้นๆ ส่วนหนอนสมอ จะเห็นเป็นเส้นด้ายสั้นเกาะอยู่ตามผิวตัว ทำให้ปลาแคระแกรนและอาจตายในที่สุด
การรักษา
1.ใช้ด่างทับทิมละลายในน้ำให้มีความเข้มข้น 2 ppm. / น้ำ 1 ลิตร
2.ใช้กรดน้ำส้มเข้มข้น 1 : 500 แช่ปลานาน 20 วินาที และจะทำซ้ำหลังจากนั้น 3 วันก็ได้
3.ใช้ฟอร์มาลิน 20 หยด / น้ำ 4.5 ลิตร แช่ปลานาน 5-10 นาที
-----------------------
โรคสีลำตัวซีด - โรคนี้เกิดจากมีสัตว์เซลล์เดียวมาเกาะ ทำให้ปลามีการขับเมือกออกจากตัวมากผิดปรกติ ปลาจะมีสีซีด
การรักษา
1.ใช้เมททีลีน บลู หยดลงในน้ำจำนวน 5 หยด / น้ำ 4.5 ลิตร ทำซ้ำเป็นเวลา 1-2 วัน
2.ใช้ยาแอนตีไบโอติค 50 มิลิกรัม / น้ำ 4.5 ลิตร
3.ใช้มาลาไคร์กรีน โดยใช้สารละลายยา 1-2 ซีซี. / น้ำ 1 ลิตร นำปลามาแช่ 3 วันจึงเปลี่ยนน้ำ
-----------------------
โรคกระเพาะลม - โรคนี้จะทำให้ปลาเสียการทรงตัว ปลาที่มีการทรงตัวไม่ดีอาจจะท้องหงายขึ้นลอยตามผิวน้ำ หรือจมอยู่ที่พื้นราบ
การรักษา - สำหรับโรคนี้ไม่สามารถทำการรักษาได้ ตายสถานเดียว
-----------------------
โรคเชื้อแบคทีเรีย - โรคนี้มีอาการปรากฏคือ มีอาการท้องบวมและมีของเหลวในช่องท้องมาก แต่ไม่มีอาการเกล็ดตั้งขึ้น
การรักษา - แช่ไว้ในยาปฏิชีวนะ เช่น ออกซิเทตราไซคลินหรือคลอแรมฟินิคัล ที่มีความเข้มข้น 10-20 ส่วนในล้านส่วนและต้องเปลี่ยน น้ำยาแช่ใหม่ทุกวันและเติมยาให้มีความเข้มข้นเท่าเดิมทุกครั้ง โดยแช่ติดต่อกัน 3-5 วัน
-----------------------
โรคตาโปน - เกิดจากแบคทีเรีย หรือหลังจากการได้รับบาดแผลเป็นรอยถลอกบริเวณใกล้ๆ นัยน์ตา ตาจะปูดปวมขึ้นมาและโปนกว่า ปกติมาก
การรักษา - โดยการจับปลาไปแช่ไว้ในน้ำที่มีใบหูกวาง 2-3 วัน อาการตาปูดก็จะหายไป อนื่งยางของใบหูกวางที่ละลายอยู่ในน้ำจะช่วยรักษาแผลต่างๆ ได้เป็นอย่างดีเช่นกัน
-----------------------
โรคท้องมาร - โรคนี้เนื่องมาจากเชื้อไวรัส ปลาที่เป็นโรคท้องมารเกล็ดจะชี้ตั้งขึ้น ส่วนท้องจะบวมเนื่องจากมีของเหลวภายในช่องท้อง
การรักษา
1.ใช้ Chloromycetin ใส่ในน้ำ 50-100 mg. / น้ำ 4.5 ลิตร
2.ใช้ Para-chlorophenoxethol เข้มข้น 1.20 มิลลิลิตร / น้ำ 4.5 ลิตร ค่อยๆใส่จนถึง 24 ช.ม.
3.โดยการเจาะลำตัวปลาบริเวณเหนือช่วงเปิด แต่การรัษาโดยวิธีนี้ต้องอาศัยความชำนาญเป็นพิเศษ อย่าให้ถูกอวัยวะ ภายในเป็นอันขาด
-----------------------
โรคครีบเปื่อยหางเปื่อย - โรคนี้จะแสดงอาการได้ชัด คือเห็นว่าครีบและหางขาดและอาจลามถึงโคน ทำลายเนื้อเยื่อบริเวณโคนหาง
การรักษา - โดยให้ปลาได้รับ acration ร่วมกับการใช้ยาเพนนิซิลิน 15,000 หน่วย / น้ำ 1 แกลลอน
-----------------------
โรคราที่ปาก - โรคนี้เกิดจากแบคทีเรียบริเวณปากและกระจายไปอย่างรวดเร็ว ลักษณะเป็นเส้นสีขาวและดำรอบริมฝีปาก ทำให้ปลาไม่ยอมกินอาหาร เนื่องจากปลาเจ็บปาก และเป็นไข้
การรักษา
1.ใช้ยาเพนนิซิลิน 100,000 หน่วย / น้ำ 4.5 ลิตร
2.ใช้ยา Antibiotic ทีใช้กับโรคจุดขาวก็ใช้ได้
3.ใช้ยาเพนนิซิลิน ยานี้จะไม่เป็นอันตรายต่อปลาและสะดวกต่อการใช้ ถ้ายังไม่หายให้เพิ่มอัตตราการใช้เป็น 200,000 หน่วย / น้ำ 4.5 ลิตร ปลาจะหายภายในไม่กี่วัน
-----------------------
โรคเชื้อรา - โรคนี้เกิดต่อเมื่อปลาได้รับบาดเจ็บหรืออ่อนแอ ปลาจะมีลักษณะผิวเป็นปุยสีขาว คล้ายสำลีตามลำตัว หรืออาจมีเส้นราเกิดขึ้น ถ้าไม่ได้รับการรักษาทันที ราจะกระจายและทำอันตรายเนื้อเยื่อของปลาและอาจถึงตายได้
การรักษา
1.ใช้ "มาลาไคท์ กรีน" เข้มข้น 60 ppm. หรือ 1:15,000 และนำปลาแช่ 30 นาที ถ้าไม่หายก็ทำซ้ำอีก
2.ใช้เกลือแกง ค่อยๆใส่ลงในน้ำ ปลาจะทนความเข้มข้นได้ 0.5 % โดยเติมสารละลายเกลือ 1 ช้อนชา / น้ำ 4.5 ลิตร ทุก 2-3 ช.ม. จนครบ 5 ช้อนพอดี จึงหยุดเพิ่มความเข้มข้นของเกลือแกง ในน้ำนี้ ใช้เวลา 1-2 วัน
-----------------------
โรคสนิม - โรคนี้จะมีละอองสีเหลืองคล้ายกำมะหยี่ เกาะตามผิวหนัง ลำตัวและเหงือกของปลา จนทั่วตัว ต่างกับโรคจุดขาวคือ มีสีเหลืองเล็กและเข้มกว่า
การรักษา
1.ใช้เกลือแกงเข้มข้น 1% แช่ปลาไว้นาน 24 ช.ม. ควรทำซ้ำทุก 2 วัน
2.ใช้เมททีลีน บูล อัตตรา 10 หยด / น้ำ 4.5 ลิตร ประมาณ 2 สัปดาห์
3.ใช้ยาเหลือง (Acriflavine) 4 มิลิลิตร / น้ำ 4.5 ลิตร และทำซ้ำจากครั้งแรก 1 สัปดาห์
4.ยา Antibiotic ใช้เหมือนกับโรคจุดขาว
-----------------------
โรคจุดขาว - จะเห็นเป็นจุดขาวๆบริเวณตัวปลาและติดต่อกันได้ด้วย
การรักษา
1.ใช้เมททีลีน บลู หยดลงในน้ำจำนวน 5 หยด / น้ำ 4.5 ลิตร ทำซ้ำเป็นเวลา 1-2 วัน
2.ใช้ยาแอนตีไบโอติค 50 มิลิกรัม / น้ำ 4.5 ลิตร
3.ใช้มาลาไคร์กรีน โดยใช้สารละลายยา 1-2 ซีซี. / น้ำ 1 ลิตร นำปลามาแช่ 3 วันจึงเปลี่ยนน้ำ
-----------------------
ที่มา : koratbetta
Monday, July 21, 2008
การเลี้ยงปลาก่อนออกกัด
การเลี้ยงปลา
เมื่อได้ปลาที่ถูกใจ เขี้ยวดี หนังดี แล้วก็มาถึงขั้นตอนการเลี้ยงเพื่อออกกัด ส่วนใหญ่จะมีสูตรสำเร็จ หมัก(ทง) 7 เลี้ยง 7 แล้วแต่จะถนัดสูตรที่ผมนะนำเสนอเป็นการเลี้ยงที่ผมใช้อยู่ ลองเอามาดัดแปลงไปใช้ได้ตามความเหมาะสม
การเพาะปลากัด
ปลากัด ปลานักรักผู้ยิ่งใหญ่ เป็นปลาที่เพาะพันธุ์ง่ายไม่ยุ่งยาก จึงเหมาะสมสำหรับผู้ที่คิดจะเพาะเลี้ยงปลชนิดที่ออกเป็นไข่ เพื่อฝึกฝนการเลี้ยงและอนุบาลลูกปลา เอาไว้เป็นทุนในการเพาะเลี้ยงปลาชนิดอื่นที่มีราคาแพงต่อไป หรือจะเพาะเลี้ยงปลากัดเพื่อเป็นอาชืพเสริมก็ยังได้ ปลากัดเป็นปลาที่ไม่ต้องอาศัยการดูแลเอาใจใส่มากนัก มีความเป็นธรรมชาติสูง ราคาไม่แพงและเป็นปลาที่เพาะได้ตลอดปี ปลากัดเป็นปลาที่มีอวัยวะที่ช่วยหายใจพิเศษที่เรียกว่า Labyrinth เราจึงเห็นปลากัดชอบขึ้นมาหุบอากาศเพื่อหายใจ ดังนั้นปลากัดจึงสามารถอาศัยอยู่ในน้ำที่ไม่สะอาดและไม่มีอากาศได้นาน ๆปัจจุบันการพัฒนาสายพันธุ์ปลากัดเป็นที่แพร่หลายในหมู่ผู้เพาะเลี้ยงเป็นอาชีพ การพัฒนาดังกล่าวนี้ทำให้ปลากัดมีสีสันมากมาย เรียกได้ว่าเกือบทุกสีแล้วในขณะนี้ บางสีมีราคาแพงมาก ถ้าผู้ที่คิดจะเพาะเลี้ยงปลากัด ขั้นเริ่มต้นขอแนะนำให้เพาะเลี้ยงปลากัดที่มีราคาไม่แพงนักเพื่อฝึกฝนการเพาะไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งมั่นใจแล้วจึงลงทุนใช้พ่อแม่พันธุ์ที่มีราคาต่อไป มีเรื่องอ้างอิงกันมาแต่โบราณว่าปลากัดแค่มองตากันก็ท้องแล้ว ระวังนะสาว ๆ ห้ามมองตาหนุ่มที่ใหน การพบไข่ของปลาทั่วไปนั้น เมื่อปลาตัวเมียสมบูรณ์เพศแล้วรังไข่ก็จะสร้างไข่ขึ้นมาเป็นธรรมชาติ การเทียบปลาตัวผู้และตัวเมียของปลากัดเป็นการเร่งไข่ให้แก่และทำความพร้อมให้กับตัวเมียในการออกไข่ ปลาตัวเมียเองเมื่อไข่แก่เต็มที่แล้วไม่มีตัวผู้มาผสมพันธุ์ก็จะปล่อยไข่ออกมาเอง หรือบางตัวจะก่อหวอดเองและนำไข่ที่ร่วงออกมาไปไว้ในหวอดเหมือนตัวผู้เลย แต่สุดท้ายก็กินไข่เหล่านั้นเข้าไป การผสมพันธุ์ของปลากัด ปลาพ่อและแม่จะช่วยกันจนเสร็จสิ้น สุดท้ายก็กับสู่ภาวะปกติ ตัวผู้ก็จะไล่กัดตัวเมียและเริ่มดุมากขึ้น จึงจำเป็นต้องนำปลาตัวเมียออกจากบ่อเพาะเมื่อจบการผสมพันธุ์ เพื่อป้องกันการสูญเสียแม่พันธุ์ มีคนเคยกล่าวถึงการเทียบคู่ของปลากัดนั้นจะทำให้ลูกปลาที่ได้ออกมานั้นมีลักษณะสีสันเหมือนกับพ่อพันธุ์ ปลากัดที่มีสีสันเช่นนั้นอาจได้มาจากการถ่ายทอดความรู้สึกของปลาแม่พันธุ์ไปยังลูกปลา มีผู้ใช้เทคนิคเหล่านี้มาปรับเปลี่ยนโดยการวาดรูปปลากัดที่มีสีสันตามต้องการ มาตั้งเทียบปลาแม่พันธุ์ไว้ วิธีการนี้มีมานานแล้วถึงแม้ว่าไม่มีบทพิสูจน์ในทางวิชาการก็ตามแต่ก็ได้รับการยืนยันจากนักเพาะปลากัดจำนวนหนึ่งถึงผลที่ได้รับว่า ในครอกหนึ่ง ๆ จะมีลูกปลาที่มีลักษณะเหมือนภาพวาดด้วยเช่นกัน ใครสนใจจะนำไปใช้ก็ไม่มีปัญหา แต่ขอบอกใว้ว่าปลากัดต้องผสมพันธุ์กันระหว่างพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์นะครับ ไม่ใช่มองกันอย่างเดียวก็ได้ลูกปลาแล้วการคัดสรรพ่อแม่พันธุ์ปลากัด ก่อนอื่นที่จะกล่าวถึงเกี่ยวกับการคัดสรรพ่อแม่พันธุ์ปลากัด เราจะต้องนึกอยู่ในใจว่าเหตุผลเช่นไรที่จะเพาะเลี้ยงปลากัด การเพาะเลี้ยงปลากัดเพื่อฝึกฝนก็ไม่จำเป็นอะไรมากนัก มีตัวผู้ 1 ตัว ตัวเมีย 1 ตัวที่สมบูรณ์ก็เพียงพอแล้ว แต่ถ้าหากต้องการเพาะเพื่อจุดประสงค์อื่น เช่นการบีบสี ก็จำเป็นจะต้องหาพ่อแม่พันธุ์ที่มีสีสันตามที่ต้องการทั้งตัวผู้ตัวเมีย หรือไม่มีก็ต้องหาตัวใดตัวหนึ่ง ซึ่งจะกล่าวถึงต่อไป การเพาะเพื่อส่งประกวด ก็จำเป็นจะต้องมีพ่อแม่พันธุ์ตรงตามสายพันธุ์ที่ต้องการ และมีความสวยงาม การเพาะเพื่อการค้า ก็จำเป็นที่จะต้องดูตลาด ว่าความต้องการขณะที่เพาะนั้นตลาดต้องการสายพันธุ์ใหนและต้องการสีอะไรอีกด้วย ดังนั้นการเพาะปลาจึงจำเป็นที่จะต้องคัดสรรพ่อแม่พันธุ์ปลากัดให้ตรงกับจุดประสงค์ที่เพาะด้วย การเลือกพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์สิ่งที่สำคัญเป็นอันดับแรกที่ควรคำนึงถึงคือ ความสมบูรณ์ของปลา จำเป็นอย่างยิ่งที่ปลากัดที่จะนำมาผสมพันธุ์นั้นจะต้องมีความสมบูรณ์ มีสุขภาพที่แข็งแรง บางครั้งมองดูจากภายนอกก็ไม่สามารถทราบถึงความสมบูรณ์ของปลาได้ เมื่อได้ไปหาพ่อแม่พันธุ์มาจากที่ใดก็ตามจะต้องนำมาให้อาหารอย่างอุดม อีกทั้งสภาพแวดล้อมโดยรวมด้วยเช่น น้ำ ภาชนะที่ใส่ บริเวณที่วางภาชนะเลี้ยง ก็ต้องดูแลให้เป็นพิเศษด้วย เป็นต้น การเลือกพ่อแม่พันธุ์ถ้าสามารถเลือกได้ ก็จะต้องเลือกที่มีลักษณะที่แข็งแรง ไม่มีลักษณะทีครีบไม่กาง ผอมหัวโต ไม่ก่อหวอด นอนหวดตลอด และก็อย่าลืมจุดประสงค์หลักที่เพาะเพื่ออะไรด้วย
ไข่นำบริเวณใต้ท้องของแม่พันธุ์ปลากัด
การเพาะปลากัด เมื่อได้เตรียมทุกอย่างเสร็จสิ้นแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการเทียบคู่ การเตรียมภาชนะและบรรยากาศต่าง ๆ ในการเพาะฟัก มาถึงขั้นตอนการการปล่อยพ่อปลาและแม่ปลาลงเพาะ เมื่อมั่นใจแล้วว่าปลาทั้งคู่พร้อมแล้วที่จะทำการผสมพันธุ์ ให้นำพ่อปลากัดปล่อยลงในภาชนะเพาะก่อนแล้วปล่อยให้สำรวจสถานที่ไปจนพ่อปลาแน่ใจและหาที่ก่อหวอดสร้างรังได้ในภาชนะเพาะ หลังจากนั้นช่วงเวลาใกล้ค่ำให้ปล่อยปลาแม่ปลาลงไป ปลาพ่อพันธุ์จะพองเข้าใส่แม่ปลา และไล่กัดบ้างบางครั้ง ไม่ต้องตกใจโดยธรรมชาติของปลากัดเป็นเช่นนั้น ปลาแม่พันธุ์ที่พร้อมที่จะผสมพันธุ์จะไม่หนีและทำหน้าตาน่ารักเป็นเชิงบอกว่า ยอมแล้วจ้าที่รัก อย่าลืมปิดภาชนะที่ใช้เพาะให้มิดชิดเพื่อไม่เป็นการรบกวนคู่บ่าวสาว เมื่อพระอาทิตย์ตกแล้วพ่อปลาก็จะเริ่มก่อหวอดในบริเวณที่ได้สำรวจไว้แล้วตอนหัวค่ำ พอรุ่งเช้าปลาทั้งสองก็จะจูงมือกันเข้าใต้หวอดทำการผสมพันธุ์กัน การผสมพันธุ์ของปลากัดใช้ในลักษณะตัวผู้งอตัวบริเวณท้องของตัวเมียเพื่อปล่อยน้ำเชื้อส่วนตัวเมียก็ปล่อยไข่ออกมาเพื่อทำการผสม เรียกการทำเช่นนี้ว่าการรัดปลา ไข่เมื่อถูกปล่อยออกมาและผสมกับน้ำเชื้อแล้วจะจมลงสู่ก้นภาชนะ พ่อปลาก็จะตามลงไปอมไข่เหล่านั้นแล้วไปพ่นไว้ในหวอด ขั้นตอนนี้บางครั้งเราอาจจะเห็นแม่ปลาช่วยอมไข่ไปพ่นไว้ในหวอดด้วย ในช่วงนี้เรียกว่าช่วงแห่งความรัก จะไม่มีการทำร้ายกัน หรือทำลายไข่แต่อย่างไร ปลาทั้งสองจะทำการผสมพันธุ์กันไปจนกระทั่งเสร็จ ครั้งหนึ่งอาจกินเวลานานขึ้นอยู่กับจำนวนไข่ และน้ำเชื้อของพ่อพันธุ์ อาจใช้เวลาถึง 4 ชั่วโมงเลยทีเดียว เมื่อเสร็จสิ้นขั้นตอนการผสมพันธุ์แล้ว แม่ปลาที่ผ่านการรัดจะรู้สึกหิวและอ่อนเพลีย และในขณะนั้นก็มีแต่เพียงไข่ของตัวเองที่ได้ปล่อยออกมาเท่านั้น แต่ไม่ต้องห่วงครับปลาพ่อปลาคอยดูแลอยู่อย่างใกล้ชิด จะไม่มีผู้ใดมาทำอันตรายกับไข่ได้ พ่อปลาจะทำการไล่แม่ปลาออกไปให้พ้นบริเวณ เราจึงสมควรช้อนแม่ปลาออกจากภาชนะเพาะ โดยสังเกตุง่าย ๆ แม่ปลาจะอยู่ห่างจากบริเวณหวอดเรียกได้ว่าตรงกันข้ามเลยเพราะกลัวพ่อปลาทำร้าย และแล้วขั้นตอนการเพาะปลาก็เสร็จสิ้นลง ให้ปล่อยพ่อปลาดูแลไข่ในภาชนะเพาะต่อไปจนกว่าลูกปลาจะสามารถว่ายน้ำได้แข็งแรง การที่ต้องปล่อยให้พ่อปลาดูแลอยู่นั้นเพราะลูกปลาเมื่อฟักออกจากไข่ยังไม่สามารถว่ายน้ำได้ อาจร่วงลงก้นภาชนะได้ ในที่สุดก็จมน้ำตาย ลูกปลายังคงต้องอาศัยอากาศในหวอดเพื่อหายใจ เมื่อลูกปลาจมลงสู่ก้นภาชนะพ่อปลาก็จะตามลงไปอมและนำกลับไปพ่นไว้ในหวอด อีกทั้งยังคอยเติมหวอดขยายใหญ่ขึ้นตลอดเวลา ด้วยเหตุฉะนี้จึงจำเป็นต้องปล่อยพ่อปลาทิ้งไว้สักระยะหนึ่ง ข้อควรระวังอย่าเอาอะไรไปกวนไข่ในหวอดเด็ดขาด ไม่ว่าจะอยากรู้เพียงใด การกระทำเช่นนี้อาจทำให้ไข่ร่วงลงสู่ก้นภาชนะ หรือเมื่อฟักเป็นตัวแล้วอาจพิการได้ ท่านที่พึ่งเริ่มเพาะควรระวังข้อนี้ไว้ให้ดี
ปลากัดตัวเมียว่ายน้ำเข้าหา ปลากัดตัวผู้เริ่มก่อหวอด
ปลากัดทั้งคู่เข้าใต้หวอดพร้อมผสมพันธุ์ ปลากัดทั้งคู่เริ่มรัดกัน
ปลาตัวผู้อมไข่ที่รัดได้ไปพ่นในหวอด ลูกปลาที่ฟักเป็นตัว
ข้อควรคำนึงสำหรับนักเพาะปลากัด เมื่อจับปลาพ่อแม่พันธุ์ปลากัดลงในอ่างเพาะแล้วให้คอยสังเกตุ ถ้าปลาตัวผู้ไม่แสดงอาการเกี้ยวพาราสีปลาตัวเมีย และไม่ยอมก่อหวอด อาจมีส่าเหตุมาจากหลายด้านด้วยกัน เช่นปลาตัวผู้นั้นมีอายุมากเกินไป หรือมีสุขภาพไม่แข็งแรง ตามความเป็นจริงแล้วปลากัดตัวผู้ที่มีความพร้อมจะก่อหวอดและรู้หน้าที่ของตัวเอง ถ้าไม่เป็นเช่นนั้นควรนำปลาตัวผู้นั้นออก นำไปพักและคอยดูแลเพื่อที่จะนำไปผสมใหม่อีกครั้ง ปลากัดตัวผู้ที่ไม่เคยนำมาผสมพันธุ์เลย ไม่มีประสบการณ์ในการผสมพันธุ์ หรือมีอายุน้อยเกินไป อาจทำให้ปลาตัวผู้นั้นไล่กัดปลาตัวเมีย โดยไม่คิดผสมพันธุ์ เราจึงต้องใช้ปลาตัวเมียที่ได้ผ่านการผสมพันธุ์มาแล้วจับคู่แทน ปลากัดตัวผู้ที่มีนิสัยก้าวร้าวเกินไป ไม่เหมาะสมที่จะนำมาเป็นพ่อพันธุ์ การที่ปลาทั้งสองจะผสมพันธุ์กันได้นั้นจะต้องอาศัยความร่วมมือกันอย่างดี ปลากัดตัวผู้ไล่กัดตัวเมียก่อนผสมพันธุ์เป็นเรื่องปกติ และจะหยุดลงเมื่อปลาตัวผู้ได้ก่อหวอดเสร็จเรียบร้อย และฝ่ายตัวเมียก็จะว่ายน้ำในท่าหัวดิ่งเข้าหาอยู่ใต้หวอด ไม่มีการตอบโต้เมื่อตัวผู้แว้งเข้าใส่ ปลากัดตัวเมียที่ไล่กัดปลาตัวผู้ มีสาเหตุมาจากปลาตัวเมียนั้นมีนิสัยที่ก้าวร้าวไม่เหมาะสมที่จะนำมาเป็นแม่พันธุ์อีกเช่นกัน ปลาตัวเมียที่ตัวใหญ่กว่าตัวผู้ หรือไม่พร้อมที่จะผสมพันธุ์ อาจไม่ยอมผสมพันธุ์และไล่กัดปลาตัวผู้ หรือถูกตัวผู้ไล่กัดเพื่อให้ยอมผสมพันธุ์ เราควรแยกปลาออกจากกัน เพื่อป้องกันการสูญเสีย ถ้าต้องการปลาทั้งคู่นั้นเป็นพ่อแม่พันธ์ควรเทียบคู่ให้นานขึ้น หรือเปลี่ยนจับคู่ให้ใหม่แทน การเพาะพันธุ์ปลากัดจึงควรทำตามขั้นตอน โดยผ่านการเทียบคู่จนกระทั่งสุกงอม ปลากัดที่มีปฏิกริยาต่อกันเวลาเทียบคู่จะสังเกตุได้ว่าปลาทั้งคู่จะว่ายเข้าหากัน ปลาตัวผู้แสดงอาการคึกคักในไม่ช้าก็ก่อหวอด ถ้าไม่ก่อหวอดหรือไม่คึกคักควรเปลี่ยนปลาตัวผู้นั้นเสีย ดังนั้นผู้ที่จะทำการเพาะพันธุ์ปลากัดจึงควรคำนึงถึงพ่อแม่พันธุ์ในด้านความเหมาะสมเป็นข้อหลัก และความพร้อมในการผสมพันธ์ ไม่ต้องรีบร้อนผสมพันธุ์ ปลากัดเป็นปลาที่เพาะพันธุ์ง่ายแค่ข้ามคืนเราก็จะได้ไข่ปลาที่พร้อมจะเป็นลูกปลา นับร้อยนับพัน จึงควรพิถีพิถันในขั้นตอนนี้อย่างจริงจัง เพื่อไม่ไห้ผิดพลาด เพราะเมื่อไม่สำเร็จอาจท้อถอย เสียทั้งเวลาหรืออาจหมดกำลังใจ
ที่มา : khonrakpla.com