ปลากัดหม้อ
ปลาลูกหม้อหรือปลาหม้อนั้นเป็นปลากัดที่ถูกนำมาคัดสายพันธ ุ์โดยนักพันธุศาสตร์สมัครเล่นชาวไทยที่มุ่งหวังจะได้ปลาที่กัดเก่ง จากบันทึกคำบอกเล่า ของนักเลงปลาเก่าอย่าง หลวงอัมรินทร์สมบัติ (ครอบสุวรรณนคร) คาดว่า ปลาลูกหม้อน่าจะถูกพัฒนาขึ้นมาในช่วงประมาณปี 2430 ซึ่งท่านจำได้ว่า ก่อนหน้านั้น ยังต้องจับปลาป่ามากัดพนันกันอยู่ต่อมานักเลงปลาบางคนก็เริ่มใช้วิธีไปขุดล้วงเอาปลาป่าที่อาศัยอยู่ตามรูปูในหน้าแล้งมาขังไว้ในโอ่ง มาเลี้ยงดูให้อาหาร พอถึงฤดูฝนก็นำมากัดพนันกับปลาป่า ซึ่งส่วนใหญ่จะสู้ปลาขุดที่เลี้ยงมาไม่ได้ การเล่นปลาขุดนี้ยังนิยมเล่นกันมาถึงประมาณ ปี 2496 หลังจากนั้นก็มีการเก็บปลาที่กัดเก่งเลี้ยงไว้ข้ามปี และหาปลาป่าตัวเมียมาผสม ลูกปลาที่ได้จากการผสมในชุดแรกจะเรียกว่า "ปลาสังกะสี" ซึ่งสัณนิษฐานว่าน่าจะได้ชื่อมาจากผิวหนังที่หนาแกร่ง ไม่ถูกกัดขาดง่ายเหมือนปลาป่าและปลาขุด ปลาสังกะสีมักจะตัวใหญ่ สีสันลักษณะต่างจากปลาป่าและปลาขุด นักเลงปลาป่าจึงมักไม่ยอมกัดพนันด้วย จึงต้องกัดแข่งขันระหว่างปลาสังกะสีด้วยกันเอง ปลาสังกะสีที่เก่ง อดทน สวยงามก็จะถูกคัดไว้เป็นพ่อแม่พันธุ์ เมื่อผสมออกมา ก็จะได้ปลาลักษณะรูปพรรณสีสันที่สวยงามแปลกออกไปตามอัธยาศัยของผู้ผสมพร้อม ความเก่ง และอดทนในการกัดจะว่าไปแล้วพันธุศาสตร์สัตว์น้ำของเมืองไทยนับได้ว่าเริ่มมาตั้งแต่ยุคนี้
คำว่า "ลูกหม้อ" นั้นมาจากการใช้หม้อดินในการเพาะและอนุบาลปลากัด ในระยะแรก ๆ ปลาลูกหม้อจึงเป็นปลาสายพันธุ์ที่สร้างมาแท้ ๆ กับมือของนักเลงปลาทั้งหลาย เพื่อให้ได้ลักษณะที่ดีสำหรับการต่อสู้และให้มีสีสันที่สวยงามตามความพอใจของเจ้าของ ปลากัดลูกหม้อจึงมีรูปร่าง หนาใหญ่กว่าปลากัดชนิดอื่น สีสันสวยงามดูแล้วน่าเกรงขามกว่าพันธุ์อื่น ๆ สีส่วนมากจะเป็นสีน้ำเงิน แดง เทา เขียว คราม หรือแดงปนน้ำเงิน ใน การเล่นปลากัดในยุคก่อนนั้นปลาลูกหม้อจะมีสองประเภทคือ "ลูกแท้" และ "ลูกสับ" ลูกแท้ หมายถึง ลูกปลาที่เกิดจากพ่อแม่ ่ที่มาจากครอกเดียวกัน และลูกสับหมายถึงลูกปลาที่เกิดจากพ่อแม่ที่มาจากคนละครอก ปลากัดลูกหม้อนี้ถ้าเอาไปผสมกลับกับปลาป่าลูกปลาก็จะ เรียกว่า "สังกะสี" เช่นเดียวกัน ซึ่งปลาสังกะสีซึ่งเกิดจากการผสมกลับแบบนี้ส่วนมากก็จะมีชั้นเชิงและน้ำอดน้ำทนในการกัดสู้ลูกหม้อไม่ได้ "ลูกหม้อ" จึงเป็นสุดยอดของปลากัดสำหรับนักเลงปลาทั้งหลาย ในระยะหลัง ๆ ก็อาจมีการพูดถึงสายพันธุ์ "มาเลย์" หรือ "สิงคโปร์" ซึ่งว่ากันว่ากัดเก่งหนังเหนียวแต่โดยแท้จริงก็คือปลาลูกหม้อ นั่นเอง เพียงแต่ว่าในระยะต่อมามีการประยุกต์ใช้กลวิธีการหมักปลาด้วยสมุนไพร ใบไม้ ว่าน ดินจอมปลวก และอื่น ๆ เพื่อช่วยเคลือบเกล็ดปลา ที่เชื่อกันว่าจะทำให้เกล็ดแข็งกัดเข้าได้ยาก ควบคู่ไปกับการคัดเลือกพันธุ์ ถึงอย่างไร ลูกหม้อก็คือลูกหม้อที่เราชาวไทยพัฒนามาแต่โบราณแม้จะถูกนำไปพัฒนาสายพันธุ์ในที่อื่นก็ยังคงเป็นลูกหม้อไทยตัวเดิมนั่นเอง
ลีลาการต่อสู้ของปลากัด
ปลากัดป่านั้นเมื่อนำมากัดกัน จะมีน้ำอดน้ำทนไม่มากนัก ระยะเวลาการต่อสู้ของปลาพวกนี้ส่วนใหญ่ไม่เกิน 15-20 นาที แต่ลูกหม้อที่มีการคัด สายพันธุ์มาอย่างต่อเนื่องสามารถต่อสู้ได้นานนับชั่วโมง บางคู่อาจกัดกันข้ามวันข้ามคืน แต่โดยเฉลี่ยแล้วใช้เวลาอย่างต่ำประมาณ 3 ชั่วโมง ปลากัด สามารถต่อสู้อย่างต่อเนื่องได้นาน ๆ โดยไม่ต้องพักยก มีคั่นเพียงการโผล่ขึ้นมาฮุบอากาศที่ผิวน้ำในระยะเวลาสั้น ๆ เมื่ออยู่ในสภาพเตรียมต่อสู้ปลา จะมีการแผ่ครีบของเหงือก และเปล่งสีเต็มที่ หันหัวไปในทางเดียวกันโดยตัวใดตัวหนึ่งอยู่เยื้องไปทางด้านหลังเล็กน้อย ปลาจะอยู่ในท่านี้ในระยะ เวลาสั้น ๆ เป็นวินาทีหรือหลายนาที แล้วจะเริ่มเข้าโจมตีกัดอย่างรวดเร็ว อาวุธหลักที่ใช้ทำร้ายศัตรูคือฟัน การโจมตีจะต่อเนื่องรุนแรง โดยมีระยะ เวลาพักที่ปลาแยกตัวออกมาอยู่ในท่าเตรียมพร้อมในระยะเวลาสั้น ๆ แล้วเข้าต่อสู้กันอีก จุดหลักสำหรับการโจมตีคือครีบก้น ครีบหาง และครีบหลัง ส่วนครีบอกและตะเกียบนั้น มักไม่ได้รับความสนใจมากนัก เมื่อการต่อสู้ผ่านไปเรื่อย ๆ ครีบเดี่ยวเหล่านี้จะถูกกัดขาดวิ่นไปเรื่อย ๆ จนบางครั้งเหลือ แต่โคนของก้านครีบ ซึ่งจะทำให้ประสิทธิภาพในการว่ายน้ำและควบคุมทิศทางลดลง จุดอื่นที่เป็นเป้าโจมตีของปลาคือด้านข้างลำตัว การกัดบริเวณ นี้อย่างรวดเร็วอาจทำให้เกล็ดร่วงหลุด แต่ส่วนใหญ่ไม่ค่อยทำให้ถึงกับเป็นแผลบาดเจ็บ ยกเว้นบริเวณเหงือที่บางครั้งอาจถูกกัดขาดเป็นแผล ใน การพัฒนาสายพันธุ์ในระยะหลัง ๆ ทำให้ได้ปลากัดที่ฉลาดรู้จักที่กัดเพื่อเอาชนะคู่ต่อสู้ สามารถกัดเฉพาะที่ที่เป็นจุดสำคัญ ๆ และกัดได้แม่นยำและ หนักหน่วง
เมื่อปลาถูกโจมตีซึ่ง ๆ หน้าไม่สามารถหลบหลีกได้ทัน ปลากัดจะประสานปากเข้ากัดรับ หันส่วนหัวเข้ากัดกันล็อกคขากรรไกรแน่น ท่านี้นักเลงปลา เรียกว่า "ติดบิด" ปลาจะปล่อยตัวตามยาวทำให้ส่วนที่เหลือของลำตัวหมุนบิดเป็นเกลียว จนจมลงพื้นและคงอยู่ท่านี้ประมาณ 10-20 วินาที จึงแยกจากกันเพื่อขึ้นสู่ผิวน้ำเพื่อฮุบอากาศแล้วกลับมาต่อสู้กันใหม่ในท่าเดิม จริยธรรมของนักเลงแสดงให้เห็นในช่วงนี้ที่ไม่เคยมีปลาตัวไหนถูก ลอบกัดขณะขึ้นฮุบอากาศในการต่อสู้บางครั้งอาจจะติดบิดถึง 20 ครั้งจึงจะมีการแพ้การชนะ
การแพ้ชนะของปลากัดส่วนใหญ่เกิดจากการยอมแพ้เพราะเหนื่อยและสูญเสียความอดทนมากกว่าถูกพ่ายแพ้จากการบาดเจ็บ เมื่อปลากัดยอมแพ้ ไม่ต้องการต่อสู้จะว่ายน้ำหนี หรือหันด้านหางเข้าหาเมื่อคู่ต่อสู้เข้าโจมตีก็ถึงเวลาที่จะต้องจ่ายเงินและหิ้วปลากลับบ้าน
ปลาลูกหม้อหรือปลาหม้อนั้นเป็นปลากัดที่ถูกนำมาคัดสายพันธ ุ์โดยนักพันธุศาสตร์สมัครเล่นชาวไทยที่มุ่งหวังจะได้ปลาที่กัดเก่ง จากบันทึกคำบอกเล่า ของนักเลงปลาเก่าอย่าง หลวงอัมรินทร์สมบัติ (ครอบสุวรรณนคร) คาดว่า ปลาลูกหม้อน่าจะถูกพัฒนาขึ้นมาในช่วงประมาณปี 2430 ซึ่งท่านจำได้ว่า ก่อนหน้านั้น ยังต้องจับปลาป่ามากัดพนันกันอยู่ต่อมานักเลงปลาบางคนก็เริ่มใช้วิธีไปขุดล้วงเอาปลาป่าที่อาศัยอยู่ตามรูปูในหน้าแล้งมาขังไว้ในโอ่ง มาเลี้ยงดูให้อาหาร พอถึงฤดูฝนก็นำมากัดพนันกับปลาป่า ซึ่งส่วนใหญ่จะสู้ปลาขุดที่เลี้ยงมาไม่ได้ การเล่นปลาขุดนี้ยังนิยมเล่นกันมาถึงประมาณ ปี 2496 หลังจากนั้นก็มีการเก็บปลาที่กัดเก่งเลี้ยงไว้ข้ามปี และหาปลาป่าตัวเมียมาผสม ลูกปลาที่ได้จากการผสมในชุดแรกจะเรียกว่า "ปลาสังกะสี" ซึ่งสัณนิษฐานว่าน่าจะได้ชื่อมาจากผิวหนังที่หนาแกร่ง ไม่ถูกกัดขาดง่ายเหมือนปลาป่าและปลาขุด ปลาสังกะสีมักจะตัวใหญ่ สีสันลักษณะต่างจากปลาป่าและปลาขุด นักเลงปลาป่าจึงมักไม่ยอมกัดพนันด้วย จึงต้องกัดแข่งขันระหว่างปลาสังกะสีด้วยกันเอง ปลาสังกะสีที่เก่ง อดทน สวยงามก็จะถูกคัดไว้เป็นพ่อแม่พันธุ์ เมื่อผสมออกมา ก็จะได้ปลาลักษณะรูปพรรณสีสันที่สวยงามแปลกออกไปตามอัธยาศัยของผู้ผสมพร้อม ความเก่ง และอดทนในการกัดจะว่าไปแล้วพันธุศาสตร์สัตว์น้ำของเมืองไทยนับได้ว่าเริ่มมาตั้งแต่ยุคนี้
คำว่า "ลูกหม้อ" นั้นมาจากการใช้หม้อดินในการเพาะและอนุบาลปลากัด ในระยะแรก ๆ ปลาลูกหม้อจึงเป็นปลาสายพันธุ์ที่สร้างมาแท้ ๆ กับมือของนักเลงปลาทั้งหลาย เพื่อให้ได้ลักษณะที่ดีสำหรับการต่อสู้และให้มีสีสันที่สวยงามตามความพอใจของเจ้าของ ปลากัดลูกหม้อจึงมีรูปร่าง หนาใหญ่กว่าปลากัดชนิดอื่น สีสันสวยงามดูแล้วน่าเกรงขามกว่าพันธุ์อื่น ๆ สีส่วนมากจะเป็นสีน้ำเงิน แดง เทา เขียว คราม หรือแดงปนน้ำเงิน ใน การเล่นปลากัดในยุคก่อนนั้นปลาลูกหม้อจะมีสองประเภทคือ "ลูกแท้" และ "ลูกสับ" ลูกแท้ หมายถึง ลูกปลาที่เกิดจากพ่อแม่ ่ที่มาจากครอกเดียวกัน และลูกสับหมายถึงลูกปลาที่เกิดจากพ่อแม่ที่มาจากคนละครอก ปลากัดลูกหม้อนี้ถ้าเอาไปผสมกลับกับปลาป่าลูกปลาก็จะ เรียกว่า "สังกะสี" เช่นเดียวกัน ซึ่งปลาสังกะสีซึ่งเกิดจากการผสมกลับแบบนี้ส่วนมากก็จะมีชั้นเชิงและน้ำอดน้ำทนในการกัดสู้ลูกหม้อไม่ได้ "ลูกหม้อ" จึงเป็นสุดยอดของปลากัดสำหรับนักเลงปลาทั้งหลาย ในระยะหลัง ๆ ก็อาจมีการพูดถึงสายพันธุ์ "มาเลย์" หรือ "สิงคโปร์" ซึ่งว่ากันว่ากัดเก่งหนังเหนียวแต่โดยแท้จริงก็คือปลาลูกหม้อ นั่นเอง เพียงแต่ว่าในระยะต่อมามีการประยุกต์ใช้กลวิธีการหมักปลาด้วยสมุนไพร ใบไม้ ว่าน ดินจอมปลวก และอื่น ๆ เพื่อช่วยเคลือบเกล็ดปลา ที่เชื่อกันว่าจะทำให้เกล็ดแข็งกัดเข้าได้ยาก ควบคู่ไปกับการคัดเลือกพันธุ์ ถึงอย่างไร ลูกหม้อก็คือลูกหม้อที่เราชาวไทยพัฒนามาแต่โบราณแม้จะถูกนำไปพัฒนาสายพันธุ์ในที่อื่นก็ยังคงเป็นลูกหม้อไทยตัวเดิมนั่นเอง
ลีลาการต่อสู้ของปลากัด
ปลากัดป่านั้นเมื่อนำมากัดกัน จะมีน้ำอดน้ำทนไม่มากนัก ระยะเวลาการต่อสู้ของปลาพวกนี้ส่วนใหญ่ไม่เกิน 15-20 นาที แต่ลูกหม้อที่มีการคัด สายพันธุ์มาอย่างต่อเนื่องสามารถต่อสู้ได้นานนับชั่วโมง บางคู่อาจกัดกันข้ามวันข้ามคืน แต่โดยเฉลี่ยแล้วใช้เวลาอย่างต่ำประมาณ 3 ชั่วโมง ปลากัด สามารถต่อสู้อย่างต่อเนื่องได้นาน ๆ โดยไม่ต้องพักยก มีคั่นเพียงการโผล่ขึ้นมาฮุบอากาศที่ผิวน้ำในระยะเวลาสั้น ๆ เมื่ออยู่ในสภาพเตรียมต่อสู้ปลา จะมีการแผ่ครีบของเหงือก และเปล่งสีเต็มที่ หันหัวไปในทางเดียวกันโดยตัวใดตัวหนึ่งอยู่เยื้องไปทางด้านหลังเล็กน้อย ปลาจะอยู่ในท่านี้ในระยะ เวลาสั้น ๆ เป็นวินาทีหรือหลายนาที แล้วจะเริ่มเข้าโจมตีกัดอย่างรวดเร็ว อาวุธหลักที่ใช้ทำร้ายศัตรูคือฟัน การโจมตีจะต่อเนื่องรุนแรง โดยมีระยะ เวลาพักที่ปลาแยกตัวออกมาอยู่ในท่าเตรียมพร้อมในระยะเวลาสั้น ๆ แล้วเข้าต่อสู้กันอีก จุดหลักสำหรับการโจมตีคือครีบก้น ครีบหาง และครีบหลัง ส่วนครีบอกและตะเกียบนั้น มักไม่ได้รับความสนใจมากนัก เมื่อการต่อสู้ผ่านไปเรื่อย ๆ ครีบเดี่ยวเหล่านี้จะถูกกัดขาดวิ่นไปเรื่อย ๆ จนบางครั้งเหลือ แต่โคนของก้านครีบ ซึ่งจะทำให้ประสิทธิภาพในการว่ายน้ำและควบคุมทิศทางลดลง จุดอื่นที่เป็นเป้าโจมตีของปลาคือด้านข้างลำตัว การกัดบริเวณ นี้อย่างรวดเร็วอาจทำให้เกล็ดร่วงหลุด แต่ส่วนใหญ่ไม่ค่อยทำให้ถึงกับเป็นแผลบาดเจ็บ ยกเว้นบริเวณเหงือที่บางครั้งอาจถูกกัดขาดเป็นแผล ใน การพัฒนาสายพันธุ์ในระยะหลัง ๆ ทำให้ได้ปลากัดที่ฉลาดรู้จักที่กัดเพื่อเอาชนะคู่ต่อสู้ สามารถกัดเฉพาะที่ที่เป็นจุดสำคัญ ๆ และกัดได้แม่นยำและ หนักหน่วง
เมื่อปลาถูกโจมตีซึ่ง ๆ หน้าไม่สามารถหลบหลีกได้ทัน ปลากัดจะประสานปากเข้ากัดรับ หันส่วนหัวเข้ากัดกันล็อกคขากรรไกรแน่น ท่านี้นักเลงปลา เรียกว่า "ติดบิด" ปลาจะปล่อยตัวตามยาวทำให้ส่วนที่เหลือของลำตัวหมุนบิดเป็นเกลียว จนจมลงพื้นและคงอยู่ท่านี้ประมาณ 10-20 วินาที จึงแยกจากกันเพื่อขึ้นสู่ผิวน้ำเพื่อฮุบอากาศแล้วกลับมาต่อสู้กันใหม่ในท่าเดิม จริยธรรมของนักเลงแสดงให้เห็นในช่วงนี้ที่ไม่เคยมีปลาตัวไหนถูก ลอบกัดขณะขึ้นฮุบอากาศในการต่อสู้บางครั้งอาจจะติดบิดถึง 20 ครั้งจึงจะมีการแพ้การชนะ
การแพ้ชนะของปลากัดส่วนใหญ่เกิดจากการยอมแพ้เพราะเหนื่อยและสูญเสียความอดทนมากกว่าถูกพ่ายแพ้จากการบาดเจ็บ เมื่อปลากัดยอมแพ้ ไม่ต้องการต่อสู้จะว่ายน้ำหนี หรือหันด้านหางเข้าหาเมื่อคู่ต่อสู้เข้าโจมตีก็ถึงเวลาที่จะต้องจ่ายเงินและหิ้วปลากลับบ้าน