มาคุยเรื่องเกลือกันดีกว่า ว่าทำไมถึงใส่เกลือให้ปลากัดแสนรักของเรา เรื่องเกลือต่างๆที่ได้มาก็รวบรวมมาจาก บทความต่างๆในอินเตอร์เน็ต และก็สิ่งที่เคยทดลองกับปลากัดตัวเองผ่านๆมา หวังว่าจะมีประโยชน์กับเพื่อนๆที่รักปลากัดทุกๆคนนะครับ เกลือที่ใช้กันทั่วๆไปสำหรับปลากัด(หรือปลาอื่นๆด้วย) เราจะใช้เกลือทะเล หรือเกลือสมุทร ซึ่งได้มาจากธรรมชาติ ซึ่งเกลือที่ใช้นั้นต้องละลายน้ำได้ง่าย(ปกติก็ง่ายๆกันทั้งนั้น) แล้วถามว่าไอ้เกลือที่ใช้ตามครัวใช้ได้กับปลากัดหรือเปล่า เกลือตามครัวพวกนี้ส่วนใหญ่มีการปรุงแต่งมา อาจทำให้เกิดผลกับน้ำจึงไม่ควรใช้ (เติมไอโอดีน สารฟอกสี) ซึ่งสารที่เติมเข้าไปอาจจะทำปฏิกิริยากับน้ำหรือส่งผลกระทบกับน้ำแล้วส่งผลถึงปลากัดเราได้ ตอนนี้ก็ทราบกันแล้วว่าเกลือแบบไหนที่ใช้กับปลากัดของเรา สำหรับปลากัดเกลือนั้นถือว่าเป็นยารักษาและป้องกันโรคเลยทีเดียวเชียว เรามาดูถึงประโยชน์ของมันก่อน
1.ฆ่าเชื้อปลาป้องกันการแพร่กระจายโรคว่ากันว่าเกลือสามารถกำจัดปรสิตได้อย่างรวดเร็วถึง 7 : 9 ส่วน เวลาผมไปซื้อปลามาจากที่อื่น พอมาถึงบ้านก็จะจัดการจับปลาแช่น้ำเกลือเข้มข้นก่อนเลย ส่วนเรื่องปริมาณเกลือกับน้ำ พูดตามตรงไม่เคยวัดเลยว่าใช้ปริมาณเท่าไรไม่เท่ากันซักที (ปกติก็น้ำครึ่งขันเกลือซัก5ช้อนโต๊ะ กะๆเอาว่านี่แหละเข้มข้น)แต่ถ้าจะเอาวิชาการจริงๆเดี๋ยวไปดูตอนท้ายสุดเลย พอเราละลายน้ำเกลือแล้วก็จัดการเอาปลาแช่สัก5วินาที (นานกว่านี้กลัวออสโมซิส ปลาตาย) แล้วก็เอาปลามาผ่านน้ำสะอาดซะให้หายเค้ม นี่ก็ประโยชน์อย่างแรก
2.เมื่อปลากัดของเราป่วย ปกติแล้วปลากัดของเราจะขับเมือกออกมาเมื่อรู้สึกไม่สบายตัวหรือเพื่อป้องกันตัวปลากัดจากปรสิตและเชื้อโรคต่าง ๆ เพราะในเมือกปลากัดมีสารฆ่าเชื้อผสมอยู่ เมื่อเราใส่เกลือลงก็จะเป็นการกระตุ้นการขับเมือกของปลากัดด้วย แต่ก็ไม่ใช่ว่าใส่มากๆแล้วขับเมือกซะน้ำในเหลี่ยมปลากัดขุ่นไปเลยนะครับ เอาให้พอเหมาะ สำหรับผมเองปกติถ้าเป็นเหลี่ยมปลากัดขนาด 4x4x8 (กว้างxยาวxสูง) ผมก็ใส่เกลือเม็ดโตๆลงไปซัก4-5เม็ด แถมด้วยใบหูกวางแห้งๆอีกซักใบ ถ้าเหลี่ยมปลากัดใหญ่กว่านั้นก็กะเอาครับ (จริงๆแล้วก็ควรดูว่าใส่ลงไปแล้วปลากัดเราเป็นไง แล้วจะเดาปริมาณถูกว่าจะใส่มากใส่น้อย) ในกรณีที่ใช้เกลือรักษาปลากัด เพื่อนๆก็ต้องควรหยุดใส่เมื่อปลากัดหายเป็นปกติแล้วนะครับ อย่างที่บอกว่าเกลือก็เหมื่อนเป็นยาตัวนึง ถ้าไม่ใช้ยาได้จะดีกว่า แล้วถ้าใช้ต่อไปเรื่อยๆโรคมันก็จะดือยานะครับ คราวหน้าถ้าเราใช้เกลืออีกปลากัดเราอาจจะไม่หายป่วยก็ได้
มาดูกันต่อว่า ที่เค้าเคยพูดกันไว้ว่าเกลือมีประโยชน์ยังไง แบบเกล็ดเล็กเกล็ดน้อยครับ- สามารถควบคุมปริมาณพิษของไนเตรทและไนเตรทฉับพลันในน้ำ โดยประจุที่ได้จากเกลือจะซึมผ่านตัวปลาป้องกันไม่ให้ไนเตรทส่งผลต่อเม็ดเลือดแดงที่ทำให้ปลาฟอกออซิเจนได้น้อยลง- เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะทำให้ปลาเครียด การใช้เกลือเป็นการช่วยลดความเครียดของปลา- เพิ่มพลังงานและภูมิต้านทานต่อโรคต่าง ๆ- ป้องกันการติดเชื้อ และ มีผลในการต่อต้านแบคทีเรีย ทั้งยังมีผลในการยกระดับความสามารถของปลาที่จะต้านทานเชื้อด้วย- ใช้ในการกักโรคปลาปริมาณเกลือที่ใส่ลงในตู้ปลาเพื่อป้องกันเชื้อโรคและปรสิตต่าง ๆ หรือหลังเปลี่ยนน้ำใหม่ขนาดตู้ปลา ตู้ 24" 2 ช้อนโต๊ะไม่พูนขนาดตู้ปลา ตู้ 36" 3 ช้อนโต๊ะไม่พูนขนาดตู้ปลา ตู้ 48" 4 ช้อนโต๊ะไม่พูนปริมาณเกลือตามวัตถุประสงค์วัตถุประสงค์ป้องกันไนเตรท 1 กรัม / ลิตร วัตถุประสงค์สภาพน้ำไนเตรท 3 กรัม / ลิตร วัตถุประสงค์รักษาโรคต่างๆ 9 กรัม / ลิตรหมายเหตุ-น้ำที่มีอุณหภูมิต่ำไม่เหมาะสมกับการเติมเกลือให้ปลา-เกลือทำให้น้ำมีคุณสมบัติกระด้างขึ้น ถ้าน้ำมีความกระด้างอยู่แล้วไม่สมควรเติมเพื่อเพิ่มความเครียดในปลา-ควรใช้เมื่อปลาป่วยหรือน้ำมีคุณภาพผิดปกติ-ควรใส่ปริมาณแต่น้อยไว้ก่อนถ้าใส่มากไปจะเกิดการออสโมซิสย้อนทำลายปลาเอง-ก่อนใส่เกลือลงในน้ำควรจะเอาต้นไม้น้ำออกเสียก่อนเพราะเกลือจะมีผลต่อพืชน้ำพอควร พืชน้ำบางชนิดทนความเค็มไม่ได้แม้เพียงแค่ 0.1 % ก็ตาม และสมควรเปลี่ยนน้ำออก 50%-การใช้เกลือจะต้องระวังเกี่ยวกับความเค็มที่จะเพิ่มขึ้นอย่างทันที เพราะปลาอาจจะปรับตัวไม่ทัน ทั้งนี้เมื่อคำนวณได้ว่าจะต้องใช้เกลือเท่าใดแล้ว ให้แบ่งเกลือนั้นออกเป็น 3 ส่วน แล้วเริ่มใส่เกลือส่วนแรกลงในบ่อหรือตู้ปลา รอดูอาการปลา 1 ชั่วโมง จึงใส่ส่วนที่ 2 และ 3 ตามลำดับ
1.ฆ่าเชื้อปลาป้องกันการแพร่กระจายโรคว่ากันว่าเกลือสามารถกำจัดปรสิตได้อย่างรวดเร็วถึง 7 : 9 ส่วน เวลาผมไปซื้อปลามาจากที่อื่น พอมาถึงบ้านก็จะจัดการจับปลาแช่น้ำเกลือเข้มข้นก่อนเลย ส่วนเรื่องปริมาณเกลือกับน้ำ พูดตามตรงไม่เคยวัดเลยว่าใช้ปริมาณเท่าไรไม่เท่ากันซักที (ปกติก็น้ำครึ่งขันเกลือซัก5ช้อนโต๊ะ กะๆเอาว่านี่แหละเข้มข้น)แต่ถ้าจะเอาวิชาการจริงๆเดี๋ยวไปดูตอนท้ายสุดเลย พอเราละลายน้ำเกลือแล้วก็จัดการเอาปลาแช่สัก5วินาที (นานกว่านี้กลัวออสโมซิส ปลาตาย) แล้วก็เอาปลามาผ่านน้ำสะอาดซะให้หายเค้ม นี่ก็ประโยชน์อย่างแรก
2.เมื่อปลากัดของเราป่วย ปกติแล้วปลากัดของเราจะขับเมือกออกมาเมื่อรู้สึกไม่สบายตัวหรือเพื่อป้องกันตัวปลากัดจากปรสิตและเชื้อโรคต่าง ๆ เพราะในเมือกปลากัดมีสารฆ่าเชื้อผสมอยู่ เมื่อเราใส่เกลือลงก็จะเป็นการกระตุ้นการขับเมือกของปลากัดด้วย แต่ก็ไม่ใช่ว่าใส่มากๆแล้วขับเมือกซะน้ำในเหลี่ยมปลากัดขุ่นไปเลยนะครับ เอาให้พอเหมาะ สำหรับผมเองปกติถ้าเป็นเหลี่ยมปลากัดขนาด 4x4x8 (กว้างxยาวxสูง) ผมก็ใส่เกลือเม็ดโตๆลงไปซัก4-5เม็ด แถมด้วยใบหูกวางแห้งๆอีกซักใบ ถ้าเหลี่ยมปลากัดใหญ่กว่านั้นก็กะเอาครับ (จริงๆแล้วก็ควรดูว่าใส่ลงไปแล้วปลากัดเราเป็นไง แล้วจะเดาปริมาณถูกว่าจะใส่มากใส่น้อย) ในกรณีที่ใช้เกลือรักษาปลากัด เพื่อนๆก็ต้องควรหยุดใส่เมื่อปลากัดหายเป็นปกติแล้วนะครับ อย่างที่บอกว่าเกลือก็เหมื่อนเป็นยาตัวนึง ถ้าไม่ใช้ยาได้จะดีกว่า แล้วถ้าใช้ต่อไปเรื่อยๆโรคมันก็จะดือยานะครับ คราวหน้าถ้าเราใช้เกลืออีกปลากัดเราอาจจะไม่หายป่วยก็ได้
มาดูกันต่อว่า ที่เค้าเคยพูดกันไว้ว่าเกลือมีประโยชน์ยังไง แบบเกล็ดเล็กเกล็ดน้อยครับ- สามารถควบคุมปริมาณพิษของไนเตรทและไนเตรทฉับพลันในน้ำ โดยประจุที่ได้จากเกลือจะซึมผ่านตัวปลาป้องกันไม่ให้ไนเตรทส่งผลต่อเม็ดเลือดแดงที่ทำให้ปลาฟอกออซิเจนได้น้อยลง- เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะทำให้ปลาเครียด การใช้เกลือเป็นการช่วยลดความเครียดของปลา- เพิ่มพลังงานและภูมิต้านทานต่อโรคต่าง ๆ- ป้องกันการติดเชื้อ และ มีผลในการต่อต้านแบคทีเรีย ทั้งยังมีผลในการยกระดับความสามารถของปลาที่จะต้านทานเชื้อด้วย- ใช้ในการกักโรคปลาปริมาณเกลือที่ใส่ลงในตู้ปลาเพื่อป้องกันเชื้อโรคและปรสิตต่าง ๆ หรือหลังเปลี่ยนน้ำใหม่ขนาดตู้ปลา ตู้ 24" 2 ช้อนโต๊ะไม่พูนขนาดตู้ปลา ตู้ 36" 3 ช้อนโต๊ะไม่พูนขนาดตู้ปลา ตู้ 48" 4 ช้อนโต๊ะไม่พูนปริมาณเกลือตามวัตถุประสงค์วัตถุประสงค์ป้องกันไนเตรท 1 กรัม / ลิตร วัตถุประสงค์สภาพน้ำไนเตรท 3 กรัม / ลิตร วัตถุประสงค์รักษาโรคต่างๆ 9 กรัม / ลิตรหมายเหตุ-น้ำที่มีอุณหภูมิต่ำไม่เหมาะสมกับการเติมเกลือให้ปลา-เกลือทำให้น้ำมีคุณสมบัติกระด้างขึ้น ถ้าน้ำมีความกระด้างอยู่แล้วไม่สมควรเติมเพื่อเพิ่มความเครียดในปลา-ควรใช้เมื่อปลาป่วยหรือน้ำมีคุณภาพผิดปกติ-ควรใส่ปริมาณแต่น้อยไว้ก่อนถ้าใส่มากไปจะเกิดการออสโมซิสย้อนทำลายปลาเอง-ก่อนใส่เกลือลงในน้ำควรจะเอาต้นไม้น้ำออกเสียก่อนเพราะเกลือจะมีผลต่อพืชน้ำพอควร พืชน้ำบางชนิดทนความเค็มไม่ได้แม้เพียงแค่ 0.1 % ก็ตาม และสมควรเปลี่ยนน้ำออก 50%-การใช้เกลือจะต้องระวังเกี่ยวกับความเค็มที่จะเพิ่มขึ้นอย่างทันที เพราะปลาอาจจะปรับตัวไม่ทัน ทั้งนี้เมื่อคำนวณได้ว่าจะต้องใช้เกลือเท่าใดแล้ว ให้แบ่งเกลือนั้นออกเป็น 3 ส่วน แล้วเริ่มใส่เกลือส่วนแรกลงในบ่อหรือตู้ปลา รอดูอาการปลา 1 ชั่วโมง จึงใส่ส่วนที่ 2 และ 3 ตามลำดับ
ที่มา : ridbetta