ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี

Wednesday, August 5, 2009

ไรน้ำนางฟ้า


ไรน้ำนางฟ้าเพศผู้

ไรน้ำนางฟ้าเพศเมีย
ไรน้ำนางฟ้าสิรินธร


ไรน้ำนางฟ้าไทย




บ่อที่ใช้เลี้ยงไรน้ำนางฟ้า



ตัวอ่อนไรน้ำนางฟ้า


ไข่ของไรน้ำนางฟ้า

ชุดเพาะเลี้ยงไรน้ำนางฟ้า


ชุดเพาะเลี้ยงไรน้ำนางฟ้า 1 ชุด ประกอบไปด้วย

1.ไข่ไรน้ำนางฟ้าพันธ์ไทย 20,000 ฟอง (ราคาท้องตลาด 10,000 ฟอง/200 บาท)

2.หัวเชื้อน้ำเขียว และปุ๋ยสำหรับใช้ทำอาหารไรน้ำนางฟ้า

3.เชื้อจุลินทรีย์ เพื่อควบคุมคุณภาพน้ำ
ไรน้ำนางฟ้าเป็นสัตว์น้ำจืดชนิดหนึ่งคล้ายกุ้ง คนพื้นบ้านเรียก แมงอ่อนช้อย แมงแงว แมงหางแดง และแมงน้ำฝน จัดอยู่ใน ไฟลัมอาร์โทรโปดา ไฟลัมย่อยครัสเตเซีย คลาสแบรงคิโอโปดา อันดับอะนอสตราคา แต่ไม่มีเปลือกแข็งหุ้ม จัดอยู่ในประเภท สัตว์โบราณ เนื่องจากมีขาว่ายน้ำจำนวน 11 คู่ และมีพฤติกรรมว่ายน้ำแบบหงายท้องโดยใช้ขาช่วยกรรเชียงนำโบกพัดอาหารเข้าปาก ตัวผู้มีขนาดใหญ่ กว่าตัวเมียเล็กน้อย ลำตัวยาวโดยเฉลี่ย 2 เซนติเมตร ส่วนหางแยกเป็นสองแฉกมีสีแดงส้ม บริเวณหัวมีตาขนาดใหญ่ มีก้านตายาว 1 คู่ มีหนวด 2 คู่ หนวดคู่ที่ 2 ของตัวผู้เปลี่ยนแปลงไปใช้สำหรับการจับตัวเมีย เวลาผสมพันธุ์และใช้เพื่อการจำแนกชนิด ตัวเมียมีถุงไข่ 1 ถุง อยู่บริเวณกลางลำตัวด้านท้อง ไข่ที่ตัวเมียสร้างขึ้นจะพัฒนาให้มีเปลือกหนา เป็นการปรับตัวเพื่อที่จะอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำชั่วคราว เช่น คลองข้างถนน นาข้าว และปลักควายที่มีน้ำขังเฉพาะหน้าฝนเท่านั้น สำหรับอาหารของไรน้ำนางฟ้า ได้แก่ แพลงก์ตอนสัตว์ โปรโตซัว อินทรียสารและแพลงก์ตอนพืช

ในประเทศไทยพบไรน้ำนางฟ้าชนิดใหม่ของโลก 3 ชนิด คือ

1. ไรน้ำนางฟ้าสิรินธร (Streptocephalus sirindhornae Sanoamuang, Murugan, Weekers & Dumont, 2000) ลำตัวใสหรือสีฟ้า หางแดง ลำตัวยาวประมาณ 1.5-3.0 เซนติเมตร ไข่เป็นรูปวงกลมคล้ายตะกร้า เป็นชนิดที่แพร่หลายกว่าชนิดอื่น

2. ไรน้ำนางฟ้าไทย (Branchinella thailandensis Sanoamuang, Saengphan & Murugan, 2002) มีลำตัวสีส้มแดงตลอดทั้งตัว ตัวยาวประมาณ 1.7-4.0 เซนติเมตร ไข่เป็นรูปวงกลมคล้ายตะกร้อแต่มีขนาดใหญ่กว่าไรน้ำนางฟ้าสิรินธร


3. ไรน้ำนางฟ้าสยาม (Streptocephalus siamensis Saengphan & Sanoamuang) ลำตัวใสหรือสีฟ้าอ่อน คล้ายไรน้ำนางฟ้า สิรินธร แต่มีขนาดเล็กกว่า โดยมีตัวยาวประมาณ 1.1-2.0 เซนติเมตร ไข่มีลักษณะเป็นสามเหลี่ยมคล้ายปิระมิด และเป็นชนิดที่หายากมาก

คุณค่าทางโภชนาการของไรน้ำนางฟ้า มีโปรตีน 64.94 % ไขมัน 5.07 % คาร์โบไฮเดรต 17.96 % มีความเข้มข้นของสารกลุ่มแคโรทีนอยด์สูงถึง 1,143 ไมโครกรัมต่อน้ำหนักแห้ง 1 กรัม จึงเหมาะที่จะนำมาเป็นอาหารของปลาสวยงาม เพื่อเร่งสีสันทำให้ปลามีความสวยงามมากยิ่งขึ้น

จากการสำรวจของ ศ.ดร.ละออศรี เสนาะเมือง คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งเป็นท่านแรกที่ค้นพบไรน้ำ นางฟ้าชนิดใหม่ของโลก ซึ่งได้เดินทางไปสำรวจและเก็บตัวอย่างสัตว์น้ำขนาดเล็กจำพวกแพลงก์ตอนในแหล่งน้ำจืดเขตร้อนทางภาคตะวัน ออกเฉียงเหนือไปจนถึงภาคตะวันออกและภาคใต้ จนกระทั่งปลายฤดูฝนในปี พ.ศ. 2536 ได้พบไรน้ำนางฟ้าเพศเมียแต่ไม่พบไรน้ำนางฟ้า เพศผู้ ต่อมาปี พ.ศ. 2541 ได้สำรวจพบไรน้ำนางฟ้าทั้งเพศผู้และเพศเมีย ซึ่งเป็นตัวเต็มวัย ทั้งยังได้จำแนกชนิดจากที่ในโลกมี 50-60 ชนิด สำหรับไรน้ำนางฟ้าชนิดแรกที่พบในจังหวัดหนองบัวลำภู มีลักษณะแตกต่างกับที่พบในแหล่งอื่น ๆ ของโลก โดยได้รับพระราชทานชื่อว่า ไรน้ำนางฟ้าสิรินธร หลังจากนั้นได้พบไรน้ำนางฟ้าชนิดที่ 2 จึงให้ชื่อว่า ไรน้ำนางฟ้าไทย ในขณะเดียวกันได้ทำการเก็บตัวอย่างเพิ่มเติม พบไรน้ำนางฟ้าชนิดใหม่อีกให้ชื่อว่า ไรน้ำนางฟ้าสยาม โดยพบที่จังหวัดสุพรรณบุรีและกาญจนบุรี ไรน้ำนางฟ้าสองชนิดเป็นสัตว์น้ำประจำถิ่น ของไทย ลักษณะลำตัวใส ๆ หางมีสีแดงหรือสีส้ม แต่ไรน้ำนางฟ้าสยามยังพบที่ประเทศลาว ซึ่งช่วงหนึ่งของชีวิตไรน้ำนางฟ้าต้องการอยู่ใน พื้นที่น้ำแห้ง ไข่มีเปลือกหนา เป็นซีส อยู่ในพื้นดินเมื่อฝนตกไข่ไรน้ำนางฟ้าได้รับน้ำฝนก็จะพัฒนาฟักเป็นตัวโดยจะพบในบ่อเล็กบ่อน้อย ส่วนบ่อหรือบึงขนาดใหญ่จะไม่พบไรน้ำนางฟ้า

ทั่วทุกภาคของประเทศไทยสามารถเพาะพันธุ์ไรน้ำนางฟ้าได้ โดยปัจจัยที่สำคัญที่สุด คือ น้ำสะอาด ในธรรมชาติภายหลังจาก ฝนตก 1 เดือนมีน้ำขัง ก็จะพบไรน้ำนางฟ้าในแหล่งน้ำ โดยเฉพาะทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

วัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นในการใช้เพาะพันธุ์ไรน้ำนางฟ้า มีดังนี้

1. ภาชนะ
1.1 บ่อซีเมนต์ทรงกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เมตร ลึก 50-100 เซนติเมตร ซึ่งสะดวกในการใช้เป็นอย่างมาก
1.2 กะละมัง ขนาดขึ้นอยู่กับความต้องการใช้เลี้ยงไรน้ำนางฟ้า
1.3 ถังพลาสติกสีดำ
1.4 บ่อดิน ขนาดที่เกษตรกรนิยมใช้ คือ 0.5-1 ไร่ บ่อดินดีที่สุดเพราะไม่ต้องเติมอากาศ เป็นแบบธรรมชาติ ไม่ต้องให้ อาหารเสริม ไรน้ำนางฟ้าสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ สภาพการเติมอากาศเป็นแบบ Air Water Link คือ ให้น้ำข้างล่างขึ้นมาข้างบน หรือใช้ หัวทรายหรือระบบกรองที่ใช้ในการเลี้ยงปลาสวยงาม

2. แสงแดด ไรน้ำนางฟ้าต้องการแสงแดดด้วย เพื่อช่วยในการสังเคราะห์อาหารของไรน้ำนางฟ้า สำหรับบ่อดินเป็นบ่อเปิดรับ แสงแดดได้ทั่วทั้งบ่อ หากสร้างโรงเรือนต้องให้ได้รับแสงอาทิตย์ด้วย โรงเรือนแบบเปิดในช่วงฤดูร้อน ควรทำหลังคามีสแลนคลุมบังพื้นที่ 50 % หากเป็นช่วงฤดูหนาวไม่ค่อยมีแสงแดดจะเปิดสแลนออกให้ได้รับแสงแดด 100%


3. น้ำ มีน้ำสะอาดเพื่อใช้ในการเลี้ยงเหมือนสัตว์น้ำทั่วไป เช่น น้ำประปา และน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติ ไรน้ำนางฟ้าไม่จำเป็น ต้องใช้อุปกรณ์ราคารแพง น้ำประปาเหมาะสมที่สุด แต่ต้องเป็นน้ำที่ปราศจากคลอรีน โดยเปิดน้ำประปาทิ้งไว้อย่างน้อย 24 ชั่วโมง เพื่อให้คลอรีนเจือจางลง เพราะคลอรีนจะมีผลกระทบภายหลังการฟักตัวของไรน้ำนางฟ้า จากนั้นใช้ระยะเวลา 24 ชั่วโมง ไข่จะฟักเป็นตัว เมื่อลูกไรน้ำนางฟ้ามีอายุ 10-12 ชั่วโมงต้องให้อาหาร มิฉะนั้นตัวอ่อนจะตาย

ไรน้ำนางฟ้ากินอาหารจำพวกสาหร่าย อินทรียสาร แบคทีเรีย และอาหารที่ให้กินก็หาได้ง่าย เช่น น้ำเขียว การทำน้ำเขียว โดยหาหัวเชื้อน้ำเขียวได้จากสถานีประมงซึ่งตั้งอยู่เกือบทุกจังหวัด แล้วนำมาขยายปริมาณ ส่วนผสมการทำน้ำเขียวประกอบด้วย ปุ๋ยยูเรีย ปุ๋ยสูตร 16-20-0 รำข้าว ปูนขาว การเพาะน้ำเขียวต้องอาศัยแสงแดด ในกรณีที่เป็นบ่อซีเมนต์ทรงกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เมตร ต้องมีจำนวน 3-4 บ่อ เพื่อสำรองผลิตน้ำเขียวให้มีปริมาณเพียงพอต่อการขยายพันธุ์ไรน้ำนางฟ้า


การให้อาหารจะให้วันละ 2 ครั้ง คือ ตอนเช้าและตอนเย็น แต่ที่ศูนย์วิจัยอนุกรมวิธานประยุกต์จะใช้ระบบน้ำหยด โดยน้ำเขียว ค่อย ๆ หยดผ่านท่อแอสรอนครั้งละ 1-2 หยดเติมครั้งเดียวใช้ได้ 1-2 วัน ถ้าเลี้ยงไรน้ำนางฟ้าอัตราความหนาแน่นเกิน 30 ตัวต่อลิตร ต้องให้ อาหารมากสักหน่อย การสังเกตุความสมบูรณ์ของไรน้ำนางฟ้าตัวอ่อนสมบูรณ์จาก ทางเดินอาหารมีสีเขียว ท่อลำไส้จะยาว ถ้าใส่อาหารเยอะ น้ำเขียวมากจะเป็นที่สะสมของของเสียซึ่งไม่เป็นผลดีต่อการดำรงชีวิตของไรน้ำนางฟ้า


วงจรชีวิตของไรน้ำนางฟ้า ไข่ไรน้ำนางฟ้าใช้เวลาฟักเป็นตัวประมาณ 24 ชั่วโมง เมื่อมีอายุ 8-9 วันจะเจริญเติบโตมีไข่และ พัฒนาขยายพันธุ์ได้อีกทุก ๆ วัน โดยเฉลี่ยวางไข่วันละ 1 ครั้ง ครอกละ 500 ฟอง หากเป็นบ่อดิน ไข่จะไปกองบริเวณพื้นบ่อทำให้ไม่สามารถ เก็บไข่ได้ ถ้าเป็นกะละมังหรือบ่อซีเมนต์จะเก็บไข่ได้ง่ายกว่า การป้องกันไข่ไรน้ำนางฟ้าติดไปกับน้ำที่ระบายทิ้ง ขอแนะนำให้ใช้ผ้ากรองปิดที่ ปลายท่อระบายน้ำทิ้ง นำไข่มาแช่น้ำ 2 สัปดาห์ แล้วนำมาทำให้แห้งเพื่อเก็บไว้ขยายพันธุ์ในครั้งต่อไป ซึ่งถือเป็นเคล็ดลับ มิฉะนั้นจะทำให้ การเพาะพันธุ์ไรน้ำนางฟ้าไม่ประสบผลสัมฤทธิ์ หากไข่ที่ผ่านการแช่น้ำแล้ว เปอร์เซ็นต์การฟักจะสูงถึงร้อยละ 90 ไข่ไรน้ำนางฟ้ามีขนาด เล็กกว่าไข่อาร์ทีเมียและเป็นไข่จมน้ำ ส่วนไข่อาร์ทีเมียจะลอยน้ำ ไรน้ำนางฟ้าไทยมีอายุขัย 25-30 วัน ไรน้ำนางฟ้าสยายมีอายุขัย 69-119 วัน


ประโยชน์ของไรน้ำนางฟ้า

1. ใช้ในวงการเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ เช่น การเพาะพันธุ์กุ้งกุลาดำ กุ้งขาว กุ้งก้ามกราม

2. ใช้ในการเลี้ยงปลาสวยงาม เช่น ปลาหมอสี


3. ใช้ในการปรุงอาหาร เช่น แกง หมก


4. ใช้ทดแทนการนำเข้าอาร์ทีเมียที่ต้องสั่งซื้อจากต่างประเทศ ช่วยลดภาวะการขาดดุลของประเทศ


5. สามารถเสริมสร้างอาชีพและรายได้ให้ผู้ประกอบการ

Tuesday, March 3, 2009

การเพาะเลี้ยงไรทะเล ไรน้ำเค็ม อาร์ทีเมีย (Artemia)


อาร์ทีเมียหรือไรน้ำสีน้ำตาล หรือไรน้ำเค็ม มีชื่อสามัญภาษาอังกฤษว่า "Artemia" เป็นสัตว์จำพวกครัสเตเซียน (Crustacean) เช่นเดียวกับ กุ้ง กั้ง และปู อาร์ทีเมียเป็นที่นิยมใช้เป็นอาหารในการอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อน เพราะอาร์ทีเมียมีคุณสมบัติที่ดีและเหมาะสม มีคุณค่าทางอาหารสูง ไข่ของอาร์ทีเมียสามารถเก็บไว้ได้นานหลายปี เมื่อต้องการใช้เพียงแต่นำมาเพาะฟักในระยะเวลาอันสั้นก็จะได้ตัวอ่อนอาร์ทีเมีย นำไปเป็นอาหารของสัตว์น้ำวัยอ่อนได้ดี อาร์ทีเมียเป็นแพลงค์ตอนน้ำเค็มที่สามารถปรับตัวให้มีชีวิตอยู่ได้ในช่วงความเค็มที่แตกต่างกันได้กว้างมาก อาร์ทีเมียไม่มีเปลือกแข็งหุ้มลำตัว มีตัวอ่อนนุ่ม และไม่มีระบบป้องกันตัวเองจากสัตว์น้ำอื่น ๆ เลย แต่ด้วยเหตุผลนี้เองเราจึงมักพบอาร์ทีเมียตามธรรมชาติเฉพาะในแหล่งที่มีความเค็มสูงมากเท่านั้น เพื่อป้องกันตัวเองจากศัตรูที่ไม่สามารถอาศัยในน้ำที่เค็มจัดได้ เมื่อแหล่งน้ำที่อาร์ทีเมียอาศัยอยู่มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมก็จะมีการแพร่พันธุ์ได้รวดเร็วยิ่งขึ้น


ลักษณะของอาร์ทีเมียเป็นสัตว์ที่ไม่มีเปลือกแข็งหุ้มตัว มีเพียงเนื้อเยื่อบาง ๆ เท่านั้นที่หุ้มตัว ว่ายน้ำเคลื่อนที่ในลักษณะหงายท้อง ลำตัวเรียวยาวคล้ายใบไม้แบ่งออกได้เป็น 3 ส่วน คือ ส่วนหัว แบ่งออกได้เป็น 6 ปล้อง ปล้องแรกเป็นที่ตั้งของตาเดียวและตารวม มีก้านตา 1 คู่ ปล้องที่ 2 เป็นที่ตั้งของหนวดคู่แรก ปล้องที่ 3 เป็นที่ตั้งของหนวดคู่ที่ 2 ปล้องที่ 4 เป็นกราม ปล้องที่ 5 เป็นฟันคู่แรก ปล้องที่ 6 เป็นฟันคู่ที่ 2 ส่วนอกแบ่งออกเป็น 11 ปล้อง แต่ละปล้องประกอบด้วยระยางค์ เป็นอวัยวะทำหน้าที่เกี่ยวกับการเคลื่อนที่ การหายใจและการกรองรวบรวมอาหาร ส่วนท้องแบ่งออกได้ 8 ปล้อง ปล้องแรกเป็นที่ตั้งของอวัยวะเพศ ปล้องที่ 2 - 7 ไม่มีระยางค์ ปล้องที่ 8 มีแพนหาง 1 คู่ โดยปกติอาร์ทีเมียเมื่อโตเต็มวัย เพศผู้จะมีขนาดเล็กกว่าเพศเมีย และจะมีหนวดคู่ที่ 2 ขนาดใหญ่กว่ารูปร่างคล้ายตะขอใช้เกาะจับเพศเมีย บริเวณปล้องแรกของส่วนท้องของเพศผู้จะมีอวัยวะเพศผู้อยู่ 1 คู่ ในอาร์ทีเมียเพศเมียตัวเต็มวัย หนวดคู่ที่ 2 จะมีขนาดเล็กลง และเปลี่ยนมาทำหน้าที่รับความรู้สึก บริเวณปล้องแรกของส่วนท้องจะมีอวัยวะเพศเมียทำหน้ที่เก็บตัวอ่อนหรือเก็บไข่


การสืบพันธุ์ของอาร์ทีเมีย อาร์ทีเมียสืบพันธุ์ได้ทั้งอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ อาร์ทีเมียให้ลูกทั้งแบบเป็นตัว โดยจะมีไข่ฟักเป็นตัวภายในมดลูก ไข่ไม่มีเปลือกหนาแข็งหุ้ม สังเกตุได้มดลูกจะมีสีขาว การให้ลูกแบบเป็นไข่นั้น ไข่จะมีเปลือกหนาแข็งห่อหุ้ม เรียกไข่แบบนี้ว่า "ซิสต์" (cysts) ซึ่งโดยทั่วไปมีสีน้ำตาลจึงมองเห็นมดลูกเป็นสีน้ำตาล การจะออกลูกเป็นตัวหรือเป็นไข่ และมีจำนวนมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ แต่ละรอบการสืบพันธุ์ เพศเมียแต่ละตัวจะให้ลูกออกมาเป็นตัวหรือเป็นไข่ที่เรียกว่าซิสต์เพียงอย่างหนึ่งอย่างใดเท่านั้น โดยทั่วไปอาร์ทีเมียจะมีความดกของไข่ประมาณ 50-300 ฟอง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดของตัวแม่และสายพันธุ์ด้วย เมื่ออาร์ทีเมียอยู่ในสภาวะที่เหมาะสมต่อการออกลูกเป็นตัว ไข่อาร์ทีเมียที่เจริญในมดลูกของตัวแม่จะฟักออกมาเป็นตัว ไข่แบบนี้มีเปลือกหุ้มบางและมีสีขาว ซึ่งคงสภาพเป็นไข่อยู่ไม่นานก็ฟักออกเป็นตัว แต่ถ้าอาร์ทีเมียอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมต่อการออกลูกเป็นตัว เช่นมีน้ำเค็มจัด อุณหภูมิของน้ำไม่ปกติ ปริมาณสารแร่ธาตุและอาหารไม่เหมาะสม เป็นต้น อาร์ทีเมียจะวางไข่ที่มีเปลือกหนาแข็ง เรียกว่าซิสต์ ถ้าเกิดซิสต์ขึ้นจะพบลอยอยู่บริเวณผิวน้ำและถูกกระแสลมหรือกระแสน้ำพัดพาไปรวมกันอยู่บริเวณริมฝั่ง โดยทั่วไป ซิสต์มีขนาดอยู่ระหว่าง 200-300 ไมครอน ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์และสภาพแวดล้อม

ไข่ของสัตว์น้ำทั่วไปนั้นมักจะมีเซลล์เดียว แต่ไข่ของอาร์ทีเมีย นั้นเซลล์จะเจริญเติบโตจนกระทั่งเป็นตัวอ่อน ในระยะที่มีรูปร่างคล้ายถ้วยจึงหยุดการเจริญเติบโตไว้ชั่วคราว แล้วจึงสร้างเปลือกขึ้นมาหุ้มเพื่อป้องกันตัวอ่อน ในระยะดังกล่าวซึ่งทนต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมได้เป็นอย่างดี และเมื่อสภาวะแวดล้อมเหมาะสมแล้วตัวอ่อนในระยะนี้ก็จะเจริญเติบโตต่อไป


(1.) ไข่อาร์ทีเมียหรือซิสต์ (2.) นอเพลียสหรือตัวอ่อน (3.) เปลี่ยนรูปร่างระยะอินสตาร์ต่อ ๆ ไป (4.) ตัวเต็มวัย (5.) จับคู่ผสมพันธุ์ (6.) ไข่ที่เจริญเติบโตในมดลูก ในกรณีสายพันธุ์ที่ไม่อาศัยเพศเมื่อโตเต็มวัยก็ผลิตไข่และขยายพันธุ์ได้โดยไม่ต้องผสมพันธุ์ ถ้าสภาวะแวดล้อมสมบูรณ์อาร์ทีเมียก็สามารถผลิตไข่และฟักเป็นตัวในมดลูกและออกลูกมาเป็นตัวอ่อนได้
อาร์ทีเมียมีอยู่หลายสายพันธุ์ด้วยกัน ทั้งแบบอาศัยเพศ และไม่อาศัยเพศ อาร์ทีเมียที่ออกลูกเป็นตัวหรือออกลูกเป็นไข่แล้วฟักออกเป็นตัว จะให้ตัวอ่อนหรือเรียกอีกอย่างว่า "นอเพลียส"(nauplius) ที่มีลักษณะเหมือนกัน นอเพลียสหรือตัวอ่อนระยะแรกนี้เรียกว่า อินสตาร์ 1 (Instar 1) ซึ่งมีรูปร่างคล้ายลูกแพร์หรือรูปไข่ มีความยาวประมาณ 400-500 ไมครอน มีสีส้มแกมน้ำตาลเนื่องจากมีไข่แดงสะสมอยู่มาก ตัวอ่อนหรือนอเพลียสจะเป็นระยะอินสตาร์ 1 ประมาณ 12 ชั่วโมง มีการลอกคราบและเป็นตัวอ่อนระยะที่ 2 เรียกว่าอินสตาร์ 2 ซึ่งจะเริ่มกินอาหาร เจริญเติบโตและลอกคราบอีกประมาณ 15 ครั้ง ตัวอ่อนจะเปลี่ยนรูปร่างไปจากเดิมเป็นระยะอินสตาร์ต่อ ๆ ไป ใช้ระยะเวลา 7-15 วันก็จะเป็นอาร์ทีเมียตัวเต็มวัย


อาหารและการกินอาหาร อาร์ทีเมียเป็นสัตว์ที่กินอาหารโดยวิธีการกรอง อาหารที่กินได้แก่ สารอินทรีย์ขนาดเล็กทุกชนิดที่มีขนาดไม่เกิน 50 ไมครอน โดยทั้งไปอาร์ทีเมียมีขนาดของปากประมาณ 20-60 ไมครอน การกินอาหารโดยการกรองจึงไม่สามารถคัดเลือกอาหารได้ อาหารอาร์ทีเมียจึงมีทั้งประเภทมีชีวิตและไม่มีชีวิต ประเภทมีชีวิตได้แก่ สาหร่ายสีเขียวขนาดเล็กเซลล์เดียว สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน แบคทีเรีย ยีสต์ และพวกสัตว์หน้าดินขนาดเล็ก ๆ เป็นต้น อาหารไมชีวิตได้แก่ มูลสัตว์ชนิดต่าง ๆ รำ กากถั่ว ปลาบ่น เลือดสัตว์ นม และซากพืชซากสัตว์ที่เน่าเปื่อยสลายและมีขนาดเล็กขนาดปากของอาร์ทีเมีย ตัวอ่อนของอาร์ทีเมียในระยะอินสตาร์ 1 จะยังไม่กินอาหาร เนื่องจากทางเดินอาหาร ปาก และรูก้นของตัวอ่อนนี้ยังปิดอยู่ และอยู่ในช่วงใช้อาหารจากไข่แดง ตัวอ่อนระยะอินสตาร์ 2 เป็นระยะที่เริ่มกินอาหารที่มีขนาดเล็กตั้งแต่ 1-40 ไมครอน อาร์ทีเมียสามารถปรับตัวอาศัยในแหล่งน้ำที่มีคุณสมบัติเฉพาะ เช่น ในน้ำที่มีความเค็มสูงมากจนไม่มีศัตรูหรืมีศัตรูอยู่ได้น้อยมาก จึงไม่ถูกแย่งอาหาร


การเพาะฟักไข่อาร์ทีเมีย ไข่อาร์ทีเมียที่ใช้ในการเพาะฟักคือไข่ที่เป็นไข่แห้ง (dry cysts) อาร์ทีเมียจะฟักออกเป็นตัวมากน้อยเพียงใด ช้าหรือเร็ว นั้น ขึ้นอยู่กับขั้นตอนการดึงน้ำออกจากไข่ หรือการตากหรืออบให้แห้งเพื่อเก็บรักษาไว้ ซึ่งอาจทำให้คุณสมบัติบางอย่างเปลี่ยนไป ส่งผลให้การเพาะฟักไข่อาร์ทีเมียไม่ได้ผลเท่าที่ควร

ปัจจัยสำคัญในการเพาะฟักไข่อาร์ทีเมีย คือ ความสะอาดและคุณภาพของไข่ หากไข่อาร์ทีเมียสะอาดและมีการตากหรืออบ จนได้ความชื้นมาตรฐานแล้ว ก็จะช่วยให้การเพาะฟักไข่มีประสิทธิภาพ ซึ่งการทำความสะอาดไข่อาร์ทีเมียที่ได้จากธรรมชาติ บางครั้งมีสิ่งเจือปนอยู่มาก และมีคุณภาพต่ำ ในทางเทคนิคแล้วสามารถแยกสิ่งเจือปนต่าง ๆ แม้กระทั่งไข่ฝ่อและเปลือกไข่ออกได้ การที่ไข่อาร์ทีเมียมีสิ่งเจือปนและมีคุณภาพไม่ดีนั้นอาจเป็นเพราะความรู้เท่าไม่ถึงการณ์หรือความจะใจของผู้ผลิตเอง ด้วยเหตุที่ว่าไข่อาร์ทีเมียนั้นมีราคาแพง ถ้าหากทำให้ไข่สะอาดมากเท่าไร รวมถึงการตากหรืออบความชื้นได้มาตรฐาน น้ำหนักของไข่จะน้อยลงไป และเสียค่าใช้จ่ายที่มากขึ้น กำไรก็น้อยลง ด้วยเหตุนี้ผู้ใช้ควรคำนึงและเลือกใช้ไข่ที่มีความสะอาดและมีคุณภาพดีเท่านั้นเพราะจะให้ผลการเพาะฟักที่ดีและแน่นอน ความเค็มของน้ำทีใช้เพาะฟัก ก็เป็นปัจจัยที่สำคัญอีกประการหนึ่ง ความเค็มของน้ำที่ใช้ในการเพาะฟักทั่วไปจะอยู่ในช่วงระหว่าง 10-35 ส่วนในพัน แต่ไข่อาร์ทีเมียแต่ละสายพันธุ์จะฟักออกเป็นตัวได้ดีที่ระดับความเค็มที่ต่างกัน บางสายพันธุ์ฟักออกเป็นตัวได้ดีที่ความเค็มสูง แต่บางพันธุ์ฟักออกเป็นตัวได้ดีที่ความเค็มต่ำ ไข่อาร์ทีเมียที่มีจำหน่ายส่วนใหญ่จะมีบอกวิธีของการเพาะฟักและระดับความเค็มที่เหมาะสมไว้ที่ภาชนะบรรจุ หากว่าผู้เพาะฟักใช้ไข่ที่ไม่มีฉลาก หรือเมื่ปฏิบัติตามฉลากแล้วยังได้ผลไม่ดีเท่าที่ควร ต้องทำการทดลองเพาะฟักให้ทราบความเค็มที่เหมาะสมในการเพาะฟัก ทั้งนี้เพื่อให้การเพาะฟักที่มีประสิทธิภาพและได้ผลสูงสุด อีกปัจจัยคือ อุณหภูมิของน้ำ โดยทั่วไปแล้ว น้ำที่ใช้เพาะฟักไข่อาร์ทีเมียจะมีอุณหภูมิอยู่ระหว่าง 20-34 องศาเซลเซียด น้ำที่ไช้เพาะฟักมีอุณหภูมิสูง การฟักออกเป็นตัวก็จะเร็วกว่าน้ำที่มีอุณหภูมิที่ต่ำกว่า การเป็นกรด-ด่าง (pH) ควรปรับให้เป็นด่างอ่อน ๆ คือมีค่า pH ระหว่าง 7.5-9 เติมปริมาณออกซิเจนในน้ำที่ใช้เพาะฟักด้วย โดยปกติควรให้อยู่ระหว่าง 4-6 ส่วนในล้าน (ppm) ไม่ควรต่ำจนเกินไป

ไข่อาร์ทีเมียหรือซิสต์ที่บรรจุขายนั้น มีด้วยกันหลายขนาด ควรคำนึงถึงสายพันธุ์และวิธีเพาะฟักในฉลากข้างภาชนะบรรจุด้วย ในที่นี้ขออธิบายถึงการเพาะฟักไข่อาร์ที่เมียที่ได้ทดลองแล้วได้ผลในเชิงปฏิบัติ ดังนั้นควรทำการทดลองและปรับเปลี่ยนวิธีให้ได้ผลมากที่สุดต่อไป การเพาะฟักไข่อาร์ทีเมียเพื่ออนุบาลลูกปลานั้น การใช้ไข่อาร์ทีเมียที่บรรจุกระป๋องมาเมื่อเปิดใช้แล้วถ้าใช้ไม่หมดในครั้งหนึ่ง คุณภาพของไข่อาร์ทีเมียก็จะด้อยลงไปเรื่อย ๆ หรืออาจจะเสียไปเลยถ้าเก็บไม่ถูกวิธี ดังนั้นท่านที่จะเพาะฟักควรคำนึงถึงข้อนี้เป็นหลัก ว่าลูกปลาที่จะเพาะมานั้นมีราคาหรือจำนวนมากน้อยเพียงไร คุ้มต่อการลงทุนด้วยการเพาะฟักไข่อาร์ทีเมียหรือไม่ ก่อนอื่นเมื่อตัดสินใจแล้วก่อนเปิดภาชนะบรรจุไข่อาร์ทีเมีย ควรหาถุงซิปล๊อค (ถุงพลาสติกที่มีพลาสติกแข็งสามารถรีดได้ที่ปากถุงเพื่อปิดหรือเปิด) มาหลาย ๆ ใบ แบ่งไขอาร์ทีเมียด้วยช้อนแห้ง ใส่ถุงแล้วรีดปากถุงให้สนิท นำไปเก็บไว้ในที่แห้ง ๆ และอากาศไม่ร้อน เช่น ตู้เสื้อผ้า เมื่อต้องการใช้ให้ใช้ทีละถุงจนกว่าจะหมดรีดปากถุงให้สนิทนำไปเก็บไว้ที่เดิม ไข่ของอาร์ทีเมียเมื่อโดนอากาศคุณภาพก็จะน้อยลงไปด้วย เมื่อทำการเพาะฟักในแต่ละครั้งควรคำนึงถึงปริมาณอาร์ทีเมียที่ต้องการด้วย เมื่อเปิดถุงในแต่ละครั้งทำให้คุณภาพของไข่อาร์ทีเมียลดลง เมื่อปรากฎว่าปริมาณของอาร์ทีเมียที่ได้นั้นน้อยลงควรเพิ่มไข่อาร์ทีเมียตามไปด้วยเพื่อให้เพียงพอกับปริมาณอาร์ทีเมียที่ต้องการ

การเพาะฟักไข่อาร์ทีเมียนั้นไม่ยุ่งยาก แต่จำเป็นต้องหาอุปกรณ์เพื่อให้สะดวกต่อการเพาะฟักและเก็บเกี่ยวผลผลิตในแต่ละครั้ง ขั้นตอนที่ 1 ควรหาอุปกรณ์ในการเพาะฟักได้แก่ ขวดน้ำพลาสติกที่ใช้แล้วขนาด 1500 ml มาหนึ่งใบ ตัดก้นขวดด้วยคัตเตอร์คม ๆ ให้ขาดออก นำเทปพันสายไฟสีดำมาพันรอบขวดให้สนิทจนเป็นสีดำเกือบทั้งขวดเหลือไว้แต่เพียงคอขวดประมาณ 1.5 นิ้ว เจาะรูขอบก้นขวดสักสามรูไว้ร้อยเชือกหรือลวดแขวนกระถางต้นไม้เพื่อแขวนขวดน้ำขณะเพาะฟัก ถ้าจะให้ดีควรเจาะฝาขวดโดยใช้สว่านไฟฟ้าขนาดดอกสว่าน เพื่อใส่ที่ปรับแรงดันลมท่ออ๊อกซิเจน (มีสีเขียวมีขายตามร้านขายอุปกรณ์ตู้ปลาทั่วไป) ต่อกับสายยางออกซิเจน นำขวดที่ทำเสร็จไปแขวนไว้ในสถานที่ที่จะทำการเพาะฟัก ขั้นตอนที่ 2 การเตรียมน้ำสำหรับเพาะฟัก นำน้ำประปาที่กักไว้มา 1000 ml หรือ 1 ลิตร เติมเกลือทะเลไม่ว่าจะเป็นเกลือเม็ดหรือเกลือป่นก็ได้ อัตราส่วน เกลือ 300 กรัม (3 ขีด):น้ำ 1 ลิตร คนให้ละลายเข้ากัน นำไปเติมใส่ขวดที่เตรียมไว้ เปิดอ๊อกซิเจนเป่าลงไปในน้ำแรง ๆ ทิ้งไว้สัก 15 นาทีให้น้ำเกลือที่ได้เข้ากันดี ขั้นตอนที่ 3 เติมไข่อาร์ทีเมียที่ได้เตรียมไว้ในอัตราส่วน 2-5 กรัม ต่อน้ำ 1 ลิตร (ทั้งนี้ถ้าจะใช้น้อยหรือมากขึ้นอยู่กับความจำเป็นที่จะใช้แต่อัตราส่วนของเกลือและน้ำต้องเป็นดังนี้) เปิดอ๊อกซิเจนทิ้งไว้ตลอดเวลา ปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 24-48 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของอากาศด้วย ไข่อาร์ทีเมียก็จะฟักเป็นตัวนำไปใช้เลี้ยงลูกปลาได้ อาร์ทีเมียที่เพาะฟักออกมาจะมีขนาดเล็กมาก ใช้เลี้ยงลูกปลาได้และมีขนาดเท่า ๆ กันด้วย
ขั้นตอนการเก็บเกี่ยวผลผลิต เมื่อไข่อาร์ทีเมียที่ได้เพาะฟักนั้นเป็นตัวแล้ว เปลือกไข่และตัวอ่อนอาร์ทีเมียที่ได้จะปะปนกันในขวดน้ำที่ใช้เพาะฟัก เมื่อต้องการเก็บเกี่ยวผลผลิต ให้ปิดเครื่องอ๊อกซิเจนและปล่อยทิ้งไว้สักครู่ เปลือกไข่อาร์ทีเมียก็จะลอยขึ้นผิวน้ำ ส่วนตัวอ่อนมีน้ำหนักมากกว่าก็จะจมลง ในขั้นตอนนี้ให้หากระดาษแข็งที่แสงไม่สามารถผ่านได้มาปิดก้นขวดไว้ สังเกตุดูตัวอ่อนอาร์ทีเมียจะว่ายลงมาออกันที่ปากขวดที่ได้เว้นช่องให้แสงผ่าน ยิ่งถ้าใช้ไฟฉายด้วยแล้วก็ยิ่งดี ถ้าได้ติดที่ปรับแรงดันออกซิเจนไว้พร้อมสายยางก็เปิดที่ปรับแรงดันนั้นให้ตัวอ่อนไหลออกมาเอาภาชนะรองรับไว้ หรือถ้าไม่ได้ติดไว้ให้ใช่สายยางทำกาลักน้ำเอาตัวอ่อนก็ได้เป็นอันเสร็จสิ้นวิธีเพาะฟักไข่อาร์ทีเมียแล้ว ให้เริ่มทำการเพาะฟักเช่นนี้ไปจนกว่าลูกปลากินอาหารชนิดอื่นได้ ข้อควรจำ อาร์ทีเมีเป็นแพลงค์ตอนสัตว์น้ำเค็ม จะอาศัยในน้ำจืดได้ไม่นานก็จะตาย ควรให้อาร์ทีเมียเป็นอาหารแต่พอสมควร กะประมาณให้ลูกปลากินแต่ละมื้อ อย่าให้ทีละมาก ๆ เมื่ออาร์ทีเมียตายและสะสมในบ่อจะทำให้น้ำเน่าเสียได้ง่าย
ที่มา : khonrakpla

Thursday, February 5, 2009

การเพาะไรแดง



ไรแดงจากน้ำแช่ฟาง
เมื่อเอาฟางลงแช่น้ำถ้าเราแช่ทีเดียวเยอะๆ จะเห็นว่าน้ำนั้นบูด ถ้าบูดมากๆ ก็จะมีฝ้าขึ้น เป็นฝ้าเหนียวๆ หนืดๆ อยู่ที่ผิวน้ำ แทนที่จะแช่ทีเดียวมากมายก็เปลี่ยนเป็นทยอยแช่ วิธีเพาะไรแดงก็คือ ให้นำเอาฟางหรือ เศษใบไม้ใบหญ้าต่างๆ ห่อด้วยมุ้งเขียวหรือจะใช้แสลนก็ได้ เอาแช่ลงในน้ำหมักเอาไว้ พอน้ำเริ่มบูดก็จะมี ตัวจุลินทรีย์ต่างๆ เกิดขึ้น เราจึงเติมเชื้อไรแดง ไรแดงก็จะกินจุลทรีย์เหล่านั้นเป็นอาหาร พออาหารเหล่านั้น เจือจางลงเราก็เอาของใหม่ลงไปแช่อีกทำวนเวียนอยู่อย่างนี้ แต่ต้องจำว่าไม่ต้องแช่ครั้งละมากๆ จนกระทั่ง น้ำบูดกลายเป็นฝ้า เพราะถ้าน้ำข้างบนบูดเน่ามีฝ้าจับอยู่ อ๊อกซิเจนจะลงไปข้างล่างไม่ได้ เมื่อไม่มีอ๊อกซิเจนไร แดงก็จะตาย ควรเลือกพ่อแม่ไรแดงที่ตัวแดงๆใหญ่ๆ เพราะจะสามารถให้ลูกกับเราได้เร็วขึ้นวิธีเดียวกันนี้ เราสามารถเอาเศษอินทรีย์วัตถุต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยกทม. เศษพืช เศษฟางต่างๆ ลงไปแช่ในน้ำ ทยอยๆให้ครั้งละไม่มาก จะทำให้สามารถผลิตไรแดงได้ตลอดเวลา ก็เป็นเรื่อง ที่น่าทดลองทำดูนะคะ หากเรามีร่องน้ำอยู่ก็ลองทำดูสักหน่อยก็ได้ จะได้เป็นการทำไรแดงเอาไว้ขายหรือเอา ไว้ใช้เอง
เพาะไรแดงในกาลามัง
เตรียมกาละมังหรือถังซักใบ ใส่น้ำลงไปครึ่งนึงก่อน แล้วเด็ดใบผักบุ้งมาซักกำ เอาแบบกะว่าน้ำไม่เน่ามาก กะเอาค่ะ ขยี้ให้เละใส่น้ำแล้วกรองเอาใยก้านออก จะได้น้ำเขียวๆ เทใส่ลงไปเลยค่ะ ใส่ต้นผักบุ้งที่มีรากไป ซักหน่อย จากนั้นก็ไปขอใช้บริการจากปลาที่เราเลี้ยงๆ กัน เปลี่ยนน้ำเอาขี้ปลากับน้ำเก่ามาใส่ในกาละมัง จาก นั้นปล่อยไว้กลางแดดค่ะ วันรุ่งขึ้นมาดูถ้าน้ำทำท่าจะเน่าให้เติมน้ำถ้าไม่เน่าก็ใส่เชื้อไรแดง (พ่อแม่ไรแดงตัว แดงๆ ใหญ่ๆ สดๆ ค่ะ) ได้เลย ประมาณ 2-3 วันจะใช้ได้ แต่ถ้าคอยเติมน้ำสะอาดกับใบผักบุ้งก็ได้เรื่อยๆ จะสังเกตุว่าแดดแรงๆ จะได้เยอะขึ้น แล้วก็กาละมังยิ่งกว้างก็ยิ่งจะได้เยอะค่ะ เพื่อนๆ ลองเอาไปทำดูนะคะ ได้ผลเหมือนกันหรือไม่ยังไง จะปรับแต่งยังไงให้ดีขึ้นก็บอกต่อๆ กันด้วยนะคะ
การเพาะไรแดง สูตรกรมประมง
ขั้นตอนที่1 การเตรียมบ่อผลิต
สถานที่ตั้งของบ่อซีเมนต์หรือบ่อดินจะต้องตั้งอยู่กลางแจ้ง ได้รับแสงแดดเต็มที่ตลอดทั้งวัน ถ้าเป็นบ่อที่สร้างขึ้นใหม่ควรกำจัดฤทธิ์ของปูนโดยล้างบ่อให้สะอาด โดยแช่น้ำทิ้งไว้ประมาณ 1-3 สัปดาห์ แล้วระบายน้ำทิ้ง ถ้าต้องการลดระยะเวลาให้ใช้เศษฟางหญ้า กรดน้ำส้มเทียม แช่ทิ้งไว้ประมาณ 5-10 วันแล้วระบายน้ำทิ้ง และเปิดน้ำใหม่แช่ทิ้งไว้อีก 24 ชั่วโมง ส่วนบ่อกรองเก่าต้องล้างบ่อตากให้แห้ง เพื่อกำจัดศัตรูของไรแดง
ขั้นตอนที่ 2 การเตรียมน้ำ
ระบายน้ำเข้าบ่อโดยผ่านการกรองด้วยผ้ากรองขนาด 69 ไมครอน จะช่วยป้องกันศัตรูไรแดง และคัดขนาดของแพลงก์ตอนพืชที่ติดมากับน้ำและเป็นอาหารไรแดงต่อไป ระดับน้ำที่ใช้นั้นประมาณ 20-30 เซนติเมตร
ขั้นตอนที่ 3 การเตรียมอาหาร
อาหารของไรแดงที่ใช้ในการเพาะเลี้ยงไรแดงแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. อาหารผสม ได้แก่ รำละเอียด ปลาป่น และกากถั่วเหลือง โดยเฉพาะกากถั่วเหลืองจะมีกรดไขมันที่เร่งการลอกคราบของไรแดงได้ดี2. จุลินทรีย์ เป็นอาหารที่ได้จากการหมักอาหารกับน้ำ ได้แก่ ยีสต์ และแบคทีเรีย สำหรับยีสต์จะมีวิตามินอี ซึ่งช่วยในการทำงานของระบบสืบพันธุ์3. น้ำเขียว เป็นอาหารจำพวกแพลงก์ตอนพืชชนิดที่เป็นอาหารของไรแดง เช่น คลอเรลล่าซีเนเดสมัส ซึ่งทำให้ไรแดงสมบูรณ์ จึงมีผลผลิตที่เพิ่มขึ้น
ขั้นตอนที่ 4 การเตรียมพันธุ์ไรแดง
การเพาะเลี้ยงไรแดงให้ได้ปริมาณมากจำเป็นต้องใช้แม่พันธุ์ที่มีชีวิตสมบูรณ์และแข็งแรง รูปร่างอ้วนกลม ใช้ในอัตรา 30-40 กรัมต่อตารางเมตร
ขั้นตอนที่ 5 ควบคุมบ่อผลิต
การคงสภาพของบ่อที่ใช้ในการเพาะพันธุ์ไรแดงนั้นเป็นสิ่งจำเป็น และสามารถจะเก็บผลผลิตได้มากกว่า 7 วัน มีขั้นตอนดังนี้
1. เก็บเกี่ยวผลผลิตเพียงวันละครึ่งหนึ่งของผลผลิตทั้งหมด
2. เติมอาหารที่หมักแล้ว 10-25 เปอร์เซนต์ของครั้งแรกทุกวัน
3. ควรระบายน้ำออกและเติมน้ำเข้าทุก 5-7 วัน ระดับ 5-15 เซนติเมตรต่อครั้ง
วิธีเพาะเลี้ยงไรแดง
1. ทำความสะอาดบ่อ และตากบ่อให้แห้ง ทิ้งไว้ 1 วัน (ใช้บ่อขนาด 50 ตารางเมตร)
2. เปิดน้ำและกรองลงบ่อให้ได้ระดับความสูง 20 เซนติเมตร พร้อมทั้งละลายปุ๋ย และอาหารลง ในบ่อโดยใช้สูตรอาหารดังนี้คือ
อามิอามิ (กากผงชูรส) 5 ลิตร
ปุ๋ยนา (16-20-0) 2 กิโลกรัม
รำ 5 กิโลกรัม
ปูนขาว 3 กิโลกรัม
3. เติมน้ำเขียวลงในบ่อประมาณ 1 ตัน (1,000 ลิตร) หรือให้มีความสูงจากระดับน้ำเดิม 20 ซม. ทิ้งไว้ประมาณ 2-3 วัน ควรคนบ่อย เพื่อป้องกันการเกิดตะกอน 4. เติมเชื้อไรแดงประมาณ 1.5-2 กิโลกรัม และให้อากาศออกซิเจนในน้ำ ทิ้งไว้ 3 วัน ไรแดง จะขยายพันธุ์ขึ้นเต็มที่และสามารถเก็บไรแดงขึ้นมาได้