ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี

Thursday, August 21, 2008

วิธีการเพาะเลี้ยงลูกน้ำเพื่อธุรกิจ และการส่งออก


วิธีการเพาะเลี้ยงลูกน้ำเพื่อธุรกิจและการส่งออกลูกน้ำ เลี้ยงอย่างไร ให้เป็นเงินเป็นทองในน้ำมีปลา ในนามีข้าว ในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง บรรยายให้เห็นภาพความอุดมสมบูรณ์ในอดีตของสยามประเทศ ซึ่งปัจจุบันเป็นไปได้ยากที่จะมองหาท้องนา แต่สำหรับทรัพยากรทางน้ำอย่างปลานั้นยังมีให้เห็นดาษดื่นและหลากหลาย โดยเฉพาะปลาสวยงาม ประเทศไทยถือเป็นแหล่งปลาสวยงามที่มีจำนวนหลากหลายมากกว่า 300 ชนิดจากผลการสำรวจโดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยที่ผ่านมาพบว่าประเทศไทยส่งออกปลาสวยงามมูลค่าปีละประมาณ 1,000 ล้านบาท นอกจากนี้กรมประมงยังประมาณการว่ามีผู้เลี้ยงปลาสวยงามในประเทศ 350,000 คน และมีจำนวนร้านค้าปลาสวยงามทั่วประเทศประมาณ 250 ร้านในกระแสความนิยมเลี้ยงปลาสวยงามที่มีแต่จะทวีจำนวนขึ้นทุกปี กลายเป็นช่องทางของธุรกิจ "เพาะเลี้ยงลูกน้ำ" ที่ทำรายได้เพิ่มขึ้นตามธุรกิจเลี้ยงปลาเป็นเงาตามตัว ถึงขั้นทำกันเป็นล่ำเป็นสันส่งออกต่างประเทศแปลงมูลไก่ เป็นลูกน้ำไกลออกไปจากบ้านเรือนของชาวบ้าน ถนนคอนกรีตค่อยๆเปลี่ยนเป็นทางดินลูกรัง ท้องทุ่งนาเขียวขจีเต็มไปด้วยนกกระยางสีขาว สองข้างทางเป็นที่ตั้งฟาร์มของเกษตรกรเรียงรายห่างกันออกไป รวมถึง "ฟาร์มเลี้ยงไก่เพื่อผลิตลูกน้ำและไรแดง" บนเนื้อที่ 20 ไร่ ในเขตตำบลสามควายเผือก อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม ที่นี่นอกจาก "ไข่" ผลผลิตที่จะได้จากไก่แล้ว มูลไก่ยังก่อให้เกิด "ลูกน้ำ" ผลพลอยได้นำมาซึ่งรายได้งดงามจรินทร์ อยู่ญาติมาก เกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ ปี 2548 ดำเนินกิจการเจ้าของฟาร์มจรินทร์พรเป็นเวลา 12 ปี เล่าถึงฟาร์มลูกน้ำที่เริ่มต้นจากการเพาะเลี้ยงปลาสวยงามว่า"ช่วงเลี้ยงปลาใหม่ๆ ยังไม่มีเกษตรกรเลี้ยงเยอะ อาหารจากแหล่งธรรมชาติค่อนข้างมาก พอเลี้ยงปลาสวยงามแล้วประสบความสำเร็จก็มีเกษตรกรใกล้เคียงหันมาเลี้ยงกันเยอะขึ้น อาหารจากแหล่งธรรมชาติเริ่มหมดไป ผมเอาไก่มาเลี้ยง เก็บไข่ไว้กินและทำเป็นอาหารปลา ใต้กรงไก่มีรองกรงที่ไม่ได้ใช้อยู่ พอไก่ขี้ออกมา เกิดเป็นลูกน้ำขึ้น จุดประกายให้ทำลูกน้ำเป็นอาหารปลา"จากการเริ่มต้นเพาะเลี้ยงลูกน้ำครั้งแรกด้วยจำนวนไก่ 2,000 กว่าตัวได้ปริมาณลูกน้ำไม่มาก "ไม่รู้ว่าต้องใช้ความเข้มข้นของน้ำเท่าไร ความเจือจางของน้ำเท่าไร ต้องใช้ไก่กี่ตัว คิดว่าความเข้มข้นของน้ำไม่พอ จึงเพิ่มจำนวนไก่ขึ้นมา คราวนี้ความเข้มข้นของน้ำมากเกิน ขี้ไก่ทำให้เกิดแก๊สแอมโมเนีย ได้ลูกน้ำนิดๆหน่อยๆ ส่วนใหญ่ตาย จึงแบ่งไก่ออก 25% ตกเฉลี่ยตารางเมตรละ 6 ตัว ออกมาได้ผลค่อนข้างดี ความเข้มข้นและความเจือจางสมดุลกัน เริ่มได้ผลจึงนำเอาผ้ามาคลุมให้มืด"อาหารลูกน้ำ จากภูมิปัญญาไทยใต้เล้าไก่ไข่จำนวนหมื่นกว่าตัวถูกขุดให้มีความลึก 4 เมตร กว้าง 3 เมตร 30 เซนติเมตร ส่วนความยาวนั้น ยิ่งยาวยิ่งเป็นการเพิ่มพื้นที่ให้ลูกน้ำมีจำนวนมาก อาหารที่ไก่ไข่ได้ทำให้มูลไก่ที่ปล่อยออกมาเบาลอยน้ำ เหมาะกับธรรมชาติของลูกน้ำที่ลอยตัวอยู่ในน้ำ ทำให้กินง่าย กลายเป็นอาหารอันโอชะสำหรับลูกน้ำ สำหรับอาหารของลูกน้ำ เกษตรกรบางคนใช้วิธีนำเอาหญ้าแห้ง ข้าวโพดแห้งหรือขี้หมูหมักทิ้งไว้ 10-15 วัน หรืออีกวิธีโดยการนำเอาซังขนุนและหัวปลาสดใส่ถุงพลาสติกทิ้งไว้ในบ่อ บ้างนำลูกตาลสุกมายีผสมปลายข้าวแล้วหมักใส่ไว้ในโอ่ง โดยใช้เวลาประมาณ 1 อาทิตย์ ก็สามารถทำให้เกิดลูกน้ำขึ้นมาเต็มได้เช่นกัน บ้างนำปลาป่น รำ ขี้หมู หรือขี้ไก่ผสมรวมกันละลายในน้ำแล้วสาดลงไปในร่องสวน บ้างใช้อามิหรือกากผงชูรส หมักรวมกับขี้หมูนำมาใส่ไว้ในโอ่งไม่เกิน 7 วันจะมีลูกไรเกิดขึ้นเต็มโอ่งส่วนจรินทร์ เขาใช้หญ้าขนใส่ลงไปในบ่อเพื่อให้เป็นที่วางไข่ของยุง ทั้งนี้ หญ้าขนที่ใช้ต้องนำไปตากแดด 3-4 ครั้ง โดยไม่ปล่อยให้หญ้าขนแห้งเกิน เพราะจะไม่ลอยน้ำ และเมื่อถูกน้ำไม่นานก็จะกรอบและหักจมน้ำ จึงต้องตากหมาดๆเพื่อให้ลอยน้ำเป็นที่พักผสมพันธุ์ วางไข่ และที่ตายของยุง นอกจากนี้ยังสร้างบรรยากาศภายในให้ค่อนข้างมืด โดยการปิดล้อมโรงเรือนเลี้ยงไก่ด้วยซาแรน ตาข่ายสีดำ"ยุงที่วางไข่มาจากแหล่งธรรมชาติ เป็นยุงธรรมดา ภาษาชาวบ้านเรียกว่ายุงรำคาญยุงลาย ยุงก้นป่อง ชอบวางไข่ในน้ำใสสะอาด น้ำฝน อีกอย่างยุงเคยอยู่บ่อไหนก็จะอยู่บ่อนั้น วางไข่เยอะมาก ถ้าจะไปไข่ในบ่ออื่นก็มีบ้างนิดหน่อย มักไม่บินไปที่อื่น เหมือนปลาหน้าวัด ตรงไหนมีอาหารสมบูรณ์ มีแหล่งเจริญเติบโต สืบพันธุ์ ก็จะไม่ไปอยู่ที่อื่น ส่วนลูกน้ำถึงกำหนดต้องรีบตักไม่ฉะนั้นจะกลายเป็นยุงหมด จำนวนที่เก็บไว้เป็นยุงแค่พอทำพันธุ์" จรินทร์ไขข้อกังขาเรื่องของลูกน้ำที่จะกลายเป็นยุงเกษตรกรหนุ่มเล่าถึงขั้นตอนต่อไปว่า "ไม่ต้องดูแลมาก ปล่อยหญ้าแห้งทิ้งไว้ 3 วัน ยุงจะวางไข่คืนแรกประมาณ 20% คืนที่ 2 และ 3 วางไข่ 40% คืนที่ 4 ไม่วางไข่แล้ว ประมาณ 40 ชั่วโมงยุงที่วางไข่ช่วงแรกแตกจากฝักไข่เป็นตัว จากนั้นจะเติมน้ำ10เซนติเมตรให้หญ้าแฉะ เพิ่มความเข้มข้นเพื่อให้ยุงวางไข่ แต่ถ้าใส่น้ำเต็มบ่อทำให้ความเข้มข้นช้า เป็นการเพิ่มวันผลิตขึ้นมา วันที่ 4 เติมน้ำขึ้นมาอีก 20 เซนติเมตร วันที่ 5 และ 6 เติมอีก 10 เซนติเมตร วันที่ 7 ยุง 20% แรกจะกลายเป็นไอ้โม่ง ตกกลางคืนจะเริ่มเป็นยุง ตรงนี้เก็บไว้เป็นพันธุ์ของรุ่นต่อไป ส่วน 80% ที่เหลือจะทำการช้อนขึ้นมาจำหน่าย หรือแพกส่งนอก"7 วัน...ได้เวลาช้อนวงจรชีวิตของยุงมี 4 ระยะ โดยทั่วไปยุงวางไข่ครั้งละประมาณ 100 ฟองหนาเป็นแพลอยอยู่ผิวน้ำ ถือเป็นระยะแรก ไข่จะฟักตัวอยู่ประมาณ 2 วัน จากนั้นก็จะแตกตัวออกมาเป็นลูกน้ำในระยะที่ 2 และมีขนาดโตขึ้นๆเมื่อโตเต็มที่รูปร่างจะเปลี่ยนไป บางครั้งเรียกว่าเป็นการลอกคราบเพื่อเข้าดักแด้หรือที่เรียกว่าตัวโม่งในระยะที่ 3จากตัวโม่งเมื่อโตเต็มวัยในระยะที่ 4 ลูกน้ำจะกลายเป็นตัวยุงทุกระยะการเติบโตในวงจรชีวิตของยุงขึ้นกับสภาพแวดล้อม ซึ่งได้แก่ ลม แสง อุณหภูมิ ฝน และความชื้น หลายครั้งที่ธรรมชาติเหล่านี้เป็นปัจจัยขยายเวลาเก็บลูกน้ำออกไปจากกำหนดเดิม"อุณหภูมิปกติ 25-30 องศาเซลเซียส ไม่ร้อนไม่หนาวเกิน ถ้าต่ำกว่า 20 องศาฯ ถือว่าค่อนข้างเย็นระบบฟักไข่จะช้า แตกตัวออกมาแล้ว ลูกน้ำจะไม่ค่อยกินอาหาร อายุก็จะเพิ่มไปอีกจากเดิมเพียงอาทิตย์เดียวเพิ่มเป็น 9 วันจึงจะช้อนได้ แต่ถ้าอุณหภูมิต่ำกว่า 15 องศาฯ ระยะเวลาการเก็บเพิ่มเป็น 10 วัน"ยามใดที่ธรรมชาติแปรปรวน เช่น ลมแรง พายุเข้า ทำให้ยุงถูกเคลื่อนย้ายจากที่พักเดิมไปอยู่ที่อื่น ก่อให้เกิดความเสียหาย "ยุงหลงทางกลับไม่ถูก แม้ซาแรนก็ช่วยไม่ได้ ลูกน้ำในบ่อถูกลมพัดมากองอยู่มุมเดียว นิสัยลูกน้ำจะขึ้นน้ำต่างจากไรแดง เมื่อขึ้นน้ำไม่ได้ก็จะค่อยๆร่วงลงๆ ในที่สุดก็จะตายแทบหมดบ่อ เสียเวลาไปอีกอาทิตย์เพื่อล้างบ่อ ถ้าลูกน้ำสูญพันธุ์ก็จะต้องช้อนลูกน้ำจากแหล่งธรรมชาติ อย่างน้อยกินเวลา 2 อาทิตย์กว่าจะเข้าที่"การเพาะเลี้ยงลูกน้ำจำหน่ายจะไม่รอให้ลูกน้ำกลายเป็นยุง พอครบกำหนด 7 วัน เกษตรกรจะใช้สวิงตาถี่ไล่ช้อนลูกน้ำจนหมด จากนั้นนำมาใส่ตะกร้าล้างน้ำร่อนเอาสิ่งสกปรกออก ใช้ผ้าขาวบางรอง จนน้ำที่ค้างอยู่ระเหยออกหมด"พวกหัวโตที่ยังเป็นยุงไม่หมดมีไม่เกิน 10% จะถูกแยกออกไปเลี้ยงปลาบ่อ หรือปลาอื่นๆ นอกนั้นตัวกำลังดี พอเหมาะเลี้ยงปลาสวยงามได้เลย ลูกน้ำที่เก็บได้แต่ละครั้งหนัก 100 กิโลเศษ ขายกิโลละ 60 บาท"ขั้นต่อไปบรรจุถุงซิปขึ้นชั่ง เสร็จแล้วจะนำไปช็อตด้วยความเย็นต่อด้วยเข้าช่องฟรีซเพื่อให้แข็ง จากนั้นแพคกล่องโฟมนำไปฝากห้องเย็นรวบรวมจนกว่าจะครบจำนวนความต้องการของลูกค้า ส่งขายตลาดต่างประเทศ ลูกน้ำตายแล้วในสภาพที่สดแต่แห้ง ไม่มีน้ำ น้ำเท่าที่มีคือน้ำที่อยู่ในตัวลูกน้ำ" ขายแบบนี้ ลูกค้าซื้อไปไม่ขาดทุน ได้ลูกน้ำเยอะ เทียบกับราคาขายปลีกลูกน้ำเป็นๆ 20 บาท มีลูกน้ำนิดเดียว น้ำมากกว่า"ลูกน้ำไทย ไปไกลถึงโปแลนด์แม้จำนวนลูกน้ำที่ช้อนขึ้นมาจะมีปริมาณมาก แต่ก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด แหล่งซื้อขายลูกน้ำตามร้านขายปลา ตลาดซันเดย์ จตุจักร ซึ่งตลาดใหญ่ๆภายในประเทศ ได้แก่ นครปฐม ราชบุรี สุพรรณบุรี นนทบุรี ปทุมธานี ซึ่งเป็นเขตเลี้ยงปลาสวยงาม โดยเฉพาะนครปฐมและราชบุรีพบว่ามีการใช้ลูกน้ำจำนวนมากขณะที่ทั่วโลกมีมูลค่าการซื้อขายปลาสวยงามและพรรณไม้น้ำในแต่ละปีมากกว่า 20,000 ล้านบาท สัดส่วนลูกน้ำในตลาดโลกจึงมากตาม ประเทศนำเข้าลูกน้ำที่สำคัญได้แก่ โปแลนด์ เยอรมนี สหรัฐอเมริกา สาธารณรัฐเชค ยูโกสลาเวีย ประชาคมยุโรป มาเลเซีย จีน อินเดียและญี่ปุ่น"ประเทศใหญ่ๆนำเข้าที 8-10 ตัน โปแลนด์ใช้เยอะ สั่งต่อเนื่องทั้งปี ในบ้านเราเกษตรกรข้างเคียงผู้เลี้ยงปลากัดจีนหรือปลาสวยงามถึงเวลาจะเข้ามาซื้อ"สุชาติ สงวนพันธุ์ นักวิชาการระดับ 8 ภาควิชาสัตวบาล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน เป็นอีกผู้หนึ่งที่เคยทำการเพาะเลี้ยงลูกน้ำเล่ากลไกตลาดลูกน้ำให้ฟังว่า มีการรับซื้อลูกน้ำแบบแช่แข็ง สด และแบบแห้ง"แบบแห้งไม่ค่อยนิยม ขั้นตอนและน้ำหนักสูญเสียไปเยอะ 80-90% ตลาดในบ้านเราต้องการทั้งลูกน้ำเป็นๆ และแช่แข็ง ถ้าเป็นลูกน้ำสด 1-2 วันกลายเป็นยุงพัฒนาเร็วมาก ถ้าเป็นแช่แข็งได้ลูกน้ำอย่างเดียวไม่มีน้ำ เป็นข้อดีในการรักษา ความต้องการของตลาดบ้านเรายังน้อยเทียบตลาดต่างประเทศ ลูกน้ำต่างประเทศก็มี แต่ลูกน้ำบ้านเราได้รับความนิยม เพราะมีคุณภาพดี สะอาด ขนาดพอเหมาะไม่เล็กไม่โตจนเกินไป แต่ถ้าหัวโตตลาดไม่ต้องการ ปลาไม่ชอบกิน"แนวโน้มธุรกิจเพาะลูกน้ำแม้ยุงจะเป็นอาหารสำหรับลูกน้ำ ขณะเดียวกันยุงยังเป็นพาหะของโรคภัยไข้เจ็บ ด้วยเหตุนี้ทำให้หลายคนที่มีฟาร์มติดชุมชนจำต้องเลิกกิจการไป "บางรายผลิตในที่ชุมชน มีกลิ่นเหม็นรบกวน หรืออาจจะมียุงไปรบกวน ส่วนใหญ่คิดว่ายุงจะไปรบกวน สร้างปัญหา สำหรับฟาร์มผมตั้งอยู่กลางทุ่ง ไม่สร้างความเดือดร้อนให้บ้านข้างเคียง อีกอย่างทางปศุสัตว์มีกฎระเบียบเข้มงวดในการนำเข้าไก่" เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงลูกน้ำแสดงความเห็นสุชาติ นักวิชาการเกษตรซึ่งเคยทำธุรกิจเพาะลูกน้ำมองว่า "เป็นผลพลอยได้เม็ดเงินมหาศาล ลูกน้ำที่ได้เกือบ 1 ตันต่อเดือน ต้นทุนไม่มี มีเพียงค่าแรงในการช้อนและบรรจุถุง แต่ช่วงหลังๆราคาลูกน้ำค่อนข้างแพง เจ้าของปลาหันไปใช้อาหารปลาสำเร็จรูป หรือไรแดงราคาถูกกว่ากิโลละ 10-20 บาท ทำให้การใช้ลูกน้ำน้อยลงแต่พ่อแม่พันธุ์เยอะอยู่"จรินทร์ เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงลูกน้ำมองแนวโน้มของธุรกิจเพาะลูกน้ำว่า "สร้างลูกน้ำ เลี้ยงไก่ ได้ผลประโยชน์มหาศาล ปกติเลี้ยงปลาสวยงามอยู่แล้ว ทำตรงนี้เพื่อนำลูกน้ำไปใช้เลี้ยงปลาสวยงามในฟาร์ม ที่เหลือส่งออก น้ำจากบ่อลูกน้ำนำไปเพาะไรแดงโดยไม่ต้องลงทุนอะไร หญ้าขนให้ยุงลงมาวางไข่สามารถนำไปเลี้ยงปลาสลิดต่อได้ ของบางอย่างที่คนอื่นมองว่านำไปทิ้ง สามารถวนกลับมาใช้ได้อีกครั้ง ไม่มีทิ้งเลย ทำหมุนเวียนและทำรายได้ทุกอย่าง""ผมว่าเป็นธุรกิจที่ยั่งยืน ตั้งแต่ไหนแต่ไรมาแล้วที่ลูกน้ำคู่กับปลากัด ปลาสวยงาม ผมทำธุรกิจปลาสวยงามมา 21 ปี จนปี 2540 เศรษฐกิจล้มเหลวค่าเงินเปลี่ยนแปลงมหาศาล แต่ระบบการส่งออกปลาสวยงามไม่ตกต่ำ กลับดีขึ้นทุกปีๆไม่เพียงพอต่อความต้องการ ด้านอาหารก็มีความต้องการเป็นเงาตามตัว เพิ่มขึ้นทุกปีเช่นกัน เพื่อให้เพียงพอต่อจำนวนปลาสวยงาม คิดว่าแนวโน้มไม่ตกต่ำยังไปได้ไกลเรื่อยๆ" จรินทร์ เกษตรกรแห่งชาติดีเด่นในปีนี้กล่าวทิ้งท้าย******ลูกน้ำ อาหารสดจากธรรมชาติเมื่อ 10 กว่าปีก่อน อาหารสดจากธรรมชาติสำหรับเลี้ยงปลา อาทิ ลูกน้ำ ไรแดง สามารถหาได้ง่าย เมื่อเวลาผ่านไปอาหารสดเริ่มหาได้ยาก กอปรกับความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทำให้เกิดอาหารสำเร็จรูป หรืออาหารเม็ดออกมาช่วยให้เกิดความสะดวกในการหาซื้อและนำไปใช้ อย่างไรก็ตามปริมาณอาหารเม็ดตามท้องตลาด โดยทั่วไปมักมีส่วนของแป้งอยู่มาก เมื่อปลาได้รับสะสมเป็นเวลานานย่อมก่อให้เกิดอาการท้องผูก เบื่ออาหาร บางตัวถึงกับเสียสมดุลในการว่าย ด้วยเหตุนี้จึงนิยมนำอาหารสดมาหมุนเวียน"อาหารเม็ดไม่นิยมใช้เลี้ยงปลา ผมเลี้ยงลูกน้ำ เลี้ยงไก่ อาหารที่ใช้เลี้ยงปลาก็จะใช้ไข่บุบ วันละ 200-300 ฟองนึ่งผสมลูกน้ำ ช่วยลดต้นทุนการผลิต ประโยชน์ของลูกน้ำเหนือกว่าอาหารสำเร็จรูปหลายเท่าตัว ผมเคยทดลองอาหารสดดูปรากฏว่าให้โปรตีน 70 % แคลเซียม 30 % เหมือนเรากินอาหาร ใครๆก็อยากกินของสด ของแช่เย็นไม่ค่อยอยากกิน ถึงจะมีคุณประโยชน์อยู่บ้างแต่อาหารสดมีมากกว่า ถ้านำอาหารสดไปเลี้ยงปลาสวยงามน้ำไม่ค่อยเสีย ปลาโตเร็ว แข็งแรง ระบบโครงสร้างมาตรฐานพร้อมส่งออก เดี๋ยวนี้หาอาหารสดยาก เกษตรกรบางเจ้าเลิกเลี้ยงปลาหันมาผลิตไรแดงหรือลูกน้ำจำหน่าย" จรินทร์ เจ้าของฟาร์มปลากล่าวในอาหารสดประกอบด้วยน้ำและเส้นใยอาหาร ช่วยให้ระบบย่อยอาหารของปลาทำงานได้ดี พร้อมทั้งนำมาซึ่งคุณค่าสารอาหารที่ปลาได้รับจากลูกน้ำ ช่วยให้กระดูกของปลาแข็งแรงและทำให้ปลามีสีสันสวยงาม

ที่มา : bettanetwork