ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี

Thursday, August 14, 2008

ปลากัดหัวโม่ง (Betta prima)

การเพาะพันธ์ ปลากัดหัวโม่ง (Betta prima)

รูปที่ 1

รูปที่ 2

รูปด้านบนนี้เป็นลูกปลาอายุได้ประมาณ 4-5 วันแล้ว


ปลากัดหัวโม่งวัยรุ่น

ถิ่นอาศัยของปลากัดหัวโม่งในธรรมชาติ ถ่ายจากจังหวัดจันทบุรี


ตู้ที่ใช้ในการเพาะพันธุ์นั้นเป็นตู้เลี้ยงพรรณไม้น้ำซึ่งใช้ระบบกรองข้างธรรมดา ระบบใน การเลี้ยงพรรณไม้น้ำค่อนข้างเต็มรูปแบบ มีไฟฟลูออเรสเซนต์ 4 หลอด พร้อมระบบให้คาร์บอนได ออกไซด์ มีพัดลมเป่าลดความร้อนอุณหภูมิในตู้จึงอยู่ที่ประมาณ 28-29 องศาเซลเซียส โดยตลอด ค่าความเป็นกรด-ด่าง(pH)นั้นอยู่ที่ประมาณ 7-7.5 ระบบการทำงานของตู้นั้นระบบไฟและระบบ คาร์บอนไดออกไซด์จะเปิดตั้งแต่ 08.00-18.00 น. ในส่วนของกรองข้างนั้นจะทำงานหลังจากที่ ระบบไฟและคาร์บอนไดออกไซด์ดับแล้วเท่านั้น ตอนกลางวันน้ำจึงนิ่ง ส่วนกลางคืนนั้นน้ำจะไหล เอื่อยๆ เนื่องจากใช้ปั้มน้ำขนาดเล็กเท่านั้น
จากในรูปที่ 1 จะเห็นได้ว่าค่อนข้างจะมีพรรณไม้น้ำจำนวมากในตู้ ซึ่งเป็นสภาพแวด ล้อมที่มีมุมในการหลบหลีกได้ค่อนข้างมาก ทำให้ไม่มีปัญหาในการกัดกันรุนแรงมากนัก นอก จากนั้นยังมีมุมที่จะให้ปลาได้จับคู่กันได้หลายมุมอีกด้วย พรรณไม้น้ำที่เลี้ยงในตู้ก็เป็นพรรณไม้ น้ำโดยทั่วไปเช่น อนูเบียส, มายาก้า, คาบอมบ้าเขียว,คาดามายด์,เทเนลุส ฯลฯ โดยมีการจัดวาง เถาวัลย์ไม้และขอนไม้ที่ใช้ในการแต่งตู้เป็นหลักก่อน ส่วนปลาชนิดอื่นๆ ที่อยู่ร่วมด้วยนั้นก็มีปลา ตระกูล Catfish และ Dwarf cichlid ด้วย ซึ่งจากที่สังเกตปลากัดอมไข่หัวโม่ง ไม่มีปัญหาในการ เลี้ยงรวมกับปลาเหล่านี้เลย การกัดกันจะมีเฉพาะในกลุ่มปลากัดด้วยกันเองเท่านั้น
อาหารที่เลี้ยงนั้นใช้ไส้เดือนน้ำสดให้ทุกวันเช้า-เย็น โดยให้ในปริมาณที่พยายามไม่ให้ เหลือตกค้างในตู้โดยเด็ดขาด เนื่องจากอาจทำให้น้ำเน่าเสียได้ อาหารสดอาจเป็นปัจจัยสำคัญ ที่ทำให้ปลามีความสมบูรณ์พร้อมในการผสมพันธ์ด้วย
การสังเกตความแตกต่างระหว่างปลาตัวผู้และตัวเมียนั้น ในวัยเพาะพันธ์ได้แล้วนั้นจะ ค่อน ข้างสังเกตได้ง่าย โดยปลาตัวผู้จะมีครีบบริเวณกระโดงหลัง หาง และชายน้ำล่าง แหลมออก มา ส่วนปลาตัวเมียนั้นครีบต่างๆจะมีลักษณะกลม มน และบริเวณท้องจะค่อนข้างใหญ่ แต่จะไม่ มีจุดไข่นำเหมือนปลากัดในกลุ่มก่อหวอด
หลังจากปลาอยู่ในตู้ได้ประมาณสามวัน ก็เริ่มสังเกตได้ว่าปลาตัวผู้และตัวเมียจับคู่กัน ในมุมต่างๆกัน ในช่วงระยะนี้ปลาทั้งคู่จะว่ายอยู่ใกล้ๆกันและรัดกันบ่อยครั้ง โดยหลังจากรัดกัน แล้วจะเป็นฝ่ายตัวเมียที่อมไข่ไว้ก่อน หลังจากนั้นตัวเมียจะพ่นไข่ออกมา และจะเป็นตัวผู้ที่คอย รับไข่ไป แต่จากการสังเกตแล้วเหมือนจะเป็นการแย่งกันระหว่างตัวเมียและตัวผู้ เนื่องจากพฤติ กรรมที่เห็นปลาตัวเมียจะพ่นไข่ออกมา หลังจากนั้นก็จะฮุบไข่กลับถ้าตัวผู้ฮุบไข่ไปไม่ทัน แต่หลัง จากนั้นไม่นานก็จะพ่นไข่ออกมาใหม่และจะเป็นตัวผู้ที่ต้องคอยแย่งฮุบไข่ที่พ่นออกมาให้ทัน ขั้น ตอนจะเป็นเช่นนี้ไปจนตัวผู้รับไข่ทั้งหมดไปไว้ในปาก ในช่วงเวลานี้นั้นปลาตัวเมียจะมีนิสัยก้าว ร้าวหวงถิ่นมาก โดยจะคอยว่ายมาไล่ปลาทุกชนิดให้ออกไปจากบริเวณรังโดยตลอด ส่วนปลา ตัวผู้นั้นจะคอยอยู่ในรังเท่านั้น หลังจากตัวผู้ได้รับไข่ทั้งหมดไปแล้ว ลักษณะแก้มของปลาตัวผู้ จะป่องอย่างเห็นได้ชัดตามรูปที่ 2
ในช่วงระยะเวลาที่ปลาตัวผู้อมไข่อยู่นั้น ปลาตัวเมียจะกลับมาอยู่อย่างปรกติจะไม่คอย เฝ้ารังอีก ส่วนปลาตัวผู้จะอยู่แต่ในรังและไม่กินอาหารเลยจนกระทั่งได้คายลูกปลาออกมาทั้งหมด แล้ว ระยะเวลาในการอมไข่จนคายลูกปลาออกมานั้นจะอยู่ในช่วง 7-10 วัน ลูกปลาที่คายออกมา นั้นลักษณะและขนาดจะเหมือนลูกปลาหางนกยูงโดยทั่วไป จากที่เคยทราบมานั้นลูกปลาที่ออก มาอาจจะโดนกินไปจากปลาที่ใหญ่กว่าได้ แต่เนื่องจากเลี้ยงในตู้พรรณไม้น้ำจึงทำให้ลูกปลามี โอกาสหลบตามต้นไม้ต่างๆได้ จากการนับครั้งหลังสุดตอนแยกลูกปลาออกมาอนุบาลอีกตู้นั้น มี ลูกปลาทั้งสิ้น 50 ตัวจากปลาตัวผู้อมไข่ 3 ตัว
ปลากัดหัวโม่ง (Betta prima) เป็นหนึ่งในปลากัดอมไข่ที่พบในประเทศไทยมีถิ่นอาศัย อยู่ตามลำธารน้ำไหลในเขตจังหวัดภาคตะวันออกตอนล่างและเข้าใจว่ามีการกระจายพันธุ์อยู่ในประเทศเขมรด้วย


ที่มา : siamensis