ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี

Thursday, August 14, 2008

ปลากัดกระบี่ (Betta simplex)




ปลากัดกระบี่ (Betta simplex) จัดเป็นปลากัดในกลุ่มอมไข่ที่ค่อนข้างใหม่สำหรับนัก เลี้ยงปลาทั่วไปเพราะเป็นปลาที่เพิ่งถูกค้นพบเมื่อปี 1994 ซึ่งปลากัดกระบี่นั่นจะพบอาศัยอยู่ใน เขตจังหวัดกระบี่และจังหวัดใกล้เคียงเท่านั้น ไม่พบที่ไหนในโลกอีก ทำให้ปลากัดกระบี่มีจำนวน ประชากรในธรรมชาติน้อยและอยู่ในสถานะภาพที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์เพราะถึงแม้ว่าจะยังพบ อยู่มากในถิ่นที่อาศัยแต่ก็มีถิ่นกระจายพันธุ์ที่แคบ เป็นที่น่ายินดีว่าถิ่นอาศัยบางส่วนของปลากัด กระบี่อยู่ในเขตอนุรักษ์ทำให้สบายใจไปได้เปราะหนึ่งว่ายังไงปลาชนิดนี้ก็ได้รับการคุ้มครองตาม สมควร
อย่างไรก็ดีเนื่องจากความสวยงามของปลากัดกระบี่ทำให้มีการจับปลากัดกระบี่เพื่อมา เลี้ยงเป็นปลาสวยงามพอสมควรโดยส่วนใหญ่แล้วปลาจะตายในระยะเวลาอันสั้นเพราะผู้เลี้ยงขาดความรู้และความเข้าใจในการเลี้ยงปลากัดชนิดนี้ ซึ่งถ้าจะเลี้ยงให้ได้ดีนั้นเราควรจะย้อนกลับไป ดูว่าในธรรมชาตินั้นปลากัดกระบี่มีชีวิตความเป็นอยู่อย่างไร
ในธรรมชาติเราสามารถที่จะพบปลากัดกระบี่ได้ในกอหญ้าริมลำธารที่น้ำไหลเอื่อยๆ และรายงานที่ได้รับมานั้นจะเป็นลำธารที่ไหลมาจากภูเขาหินปูนทำให้น้ำมีความกระด้างและมีค่าเป็นด่าง (pH ประมาณ 7.5 – 8.5) ซึ่งจากการสำรวจนั้นไม่พบปลากัดกระบี่ในแหล่งน้ำลักษณะ อื่นโดยมีรายงานว่ามีลำธารบางส่วนที่มีเขตติดต่อกับบึงน้ำที่มีค่าน้ำเป็นกรดก็ไม่พบว่ามีปลากัด กระบี่เข้าไปอาศัยอยู่แต่กลับพบปลากัดทุ่งภาคใต้แทน โดยในทางกลับกัน ก็ไม่พบว่าปลากัดทุ่ง ภาคใต้มาอาศัยอยู่ในลำธารที่น้ำเป็นด่าง ในธรรมชาติมีรายงานพบปลากำลังผสมพันธุ์และอม ไข่ในช่วงปลายฤดูฝนประมาณเดือนตุลาคม
ในที่เลี้ยง
ผมพบว่าปลากัดกระบี่เป็นปลาที่เลี้ยงไม่ยากนักโดยเฉพาะน้ำประปาที่บ้านผมนั้นมีค่า เป็นด่างแถวๆ 7 แก่ๆ และมีความกระด้างพอสมควรตามหลักของน้ำประปาที่ดีทั่วไปทำให้เป็นน้ำ ที่เหมาะกับการเลี้ยงปลากัดกระบี่เป็นอย่างมาก อย่างไรก็ดีสำหรับท่านที่ต้องการให้แน่ใจว่าน้ำ มีความกระด้างเพียงพอก็สามารถที่จะหาหินปูนหรือใช้เศษปะการังมาลองพื้นตู้หรือใส่ลงไปในระบบกรองก็ได้และต้องไม่ลืมว่าปลากัดในกลุ่มอมไข่นั้นไม่ได้มีอวัยวะหายใจอากาศดีเหมือนกับ พวกกลุ่มก่อหวอดดังนั้นพวกเค้าจึงต้องการสถานที่เลี้ยงที่กว้างพอสมควร ผมพบว่าปลาหนึ่งตัวต่อน้ำประมาณ 7-10 ลิตรเป็นอัตราส่วนที่เหมาะสม ซึ่งถ้าเราเลี้ยงในที่กว้าง แบบนี้แล้วอ๊อกซิเจนจากหัวทรายหรือเครื่องกรองก็ไม่มีความจำเป็น แต่ว่าถ้ามีให้ปลาก็จะชอบ มากกว่า ปลากัดกระบี่จะไม่ก้าวร้าวถึงขนาดไล่กัดกันเป็นเรื่องเป็นราว แต่ปลาตัวผู้ก็จะมีการ กระทบกระทั่งกันบ้าง ดังนั้นถ้าเราจะเลี้ยงปลาตัวผู้หลายตัวในตู้เดียวกันก็ควรจะมีที่หลบ เช่น ขอนไม้ ต้นไม้น้ำ กระถาง หรือ ท่อพลาสติก ไว้ให้ต่างตัวต่างอยู่บ้างจะได้ไม่กระทบกระทั่งกัน มากนัก อย่างไรก็ดีถ้าเห็นว่ามีตัวผู้ตัวใดตัวหนึ่งมีความก้าวร้าวผิดปกติก็ควรจะแยกปลาตัวผู้ ตัวอื่นๆ ออก เพราะตัวที่แพ้นั้นจะมีอาการเครียดและอาจจะตายได้ ข้อสำคัญคือตู้ต้องมีฝาปิดให้มิดชิดเพราะปลากัดป่าทุกชนิดกระโดดเก่งมาก โดยเฉพาะช่วงที่มาอยู่แรกๆ
อาหารที่ใช้เลี้ยงปลากัดกระบี่ก็เหมือนกับปลากัดทั่วๆไปคือพวกลูกน้ำ ลูกไร ไส้เดือนน้ำ หนอนแดง และ ไรทะเล นอกจากนั้นผมยังพบว่าปลากัดกระบี่สามารถหัดให้กินอาหารเม็ดได้ด้วย แต่ก็ไม่ควรที่จะให้อาหารเม็ดเป็นอาหารหลัก โดยเฉพาะถ้าต้องการที่จะให้ปลาผสมพันธุ์
การผสมพันธุ์ในที่เลี้ยง
เป้าหมายการเลี้ยงสัตว์ โดยเฉพาะสัตว์ที่มีความเสี่ยงในการสูญพันธุ์นั้นคือการเพาะ พันธุ์ในที่เลี้ยงให้ได้ สำหรับปลากัดกระบี่ซึ่งมีการแพร่กระจายพันธุ์แคบๆ นั้น ทุกท่านที่เลี้ยงอยู่ ควรจะเพาะพันธุ์ให้ได้เพื่อแจกจ่ายหรือจำหน่ายให้กับเพื่อนๆที่อยากเลี้ยงต่อไป ซึ่งการเพาะพันธุ์ ในที่เลี้ยงจะทำให้เราไม่ต้องไปจับปลามาจากธรรมชาติอีกและยังเป็นการช่วยให้แน่ใจว่าจะยังมีปลากัดกระบี่อยู่บนโลกใบนี้ถึงแม้ว่ามันจะสูญเสียที่อยู่ในธรรมชาติไปหมดแล้ว
ในการเพาะพันธุ์สัตว์นั้นเริ่มแรกเลยคือเราต้องพยายามเลียนแบบธรรมชาติที่เค้าเคยอยู่ให้มากที่สุด ซึ่งผมก็ได้กล่าวไปแล้วว่าปลากัดกระบี่ในธรรมชาตินั้นอยู่อย่างไร การเพาะพันธุ์ในที่เลี้ยงควร เริ่มจากการแยกเลี้ยงปลาตัวผู้และเมียไว้ต่างหาก ให้อาหารปลาให้สม่ำเสมอ เมื่อสังเกตุว่าปลา ตัวผู้มีความสมบูรณ์แล้วและปลาตัวเมียก็ท้องแก่มีไข่เต็มที่ เราก็นำปลาทั้งสองมาอยู่ในตู้เดียวกัน โดยในตู้หรือที่เพาะนี่ก็ควรจะมีกระถางขนาดเส้นผ่าสูญกลางประมาณสัก 10 ซม. วางไว้สักกระ ถางเพื่อให้ปลาเข้าไปผสมพันธุ์กัน ซึ่งการกระตุ้นให้ปลาผสมพันธุ์ก็เป็นการเรียนแบบธรรมชาติอีก เช่นการเปลี่ยนน้ำที่ละมากๆโดยทำให้น้ำที่เปลี่ยนใหม่นั้นมีความเย็นกว่าน้ำเดิมสักนิด และเร่ง อ๊อกซิเจนให้แรงขึ้นเพื่อเพิ่มกระแสน้ำ ให้อาหารเพิ่มมากขึ้นกว่าปกติ เพื่อเป็นการเลียนแบบฤดู ฝนที่ปลาผสมพันธุ์ในธรรมชาติ ถ้าทุกอย่างเป็นไปด้วยดี ปลาก็จะจับคู่ผสมพันธุ์กัน โดยการผสม นั้นตัวผู้จะป้อจนตัวเมียยอมเข้าไปในถ่ำที่เตรียมไว้จากนั้นตัวผู้ก็จะทำการรัดให้ไข่ตกลงมา จาก นั้นตัวเมียก็จะเก็บไข่มาอมไว้ และนำมาพ่นให้ตัวผู้ไปอมไว้ แล้วการรัดก็จะเริ่มต้นอีกครั้ง ซึ่งพิธี การที่ผมเขียนมาไม่กี่ประโยคนี้จริงๆแล้วอาจจะนานหลายชั่วโมง เพราะทุกกระบวนการขั้นตอน นั้นชักช้าและลีลามากเหลือเกิน จะให้เปรียบก็คงเหมือนการดู ภราดรแข่งกับฮีวิต เป็นภาพ สโลโมชั่น ตื่นเต้นที่จะได้ดูแต่ก็อึดอัดน่าเบื่อเหลือหลาย ผมเองเคยนอนดูจนหลับคาหน้าตู้มาแล้ว
หลังจากเสร็จสิ้นพิธีการแล้วรอดูสักวันสองวันก็ตักตัวเมียแยกออกมา แล้วถ้าไม่มีอะไร ผิดพลาดปลาตัวผู้จะอมไข่ไว้ประมาณ 12-15 วัน ตัวผู้ก็จะคายลูกปลาตัวใหญ่ๆออกมา ถ้าพลาด เช่น ปลาทั้งคู่ยังเด็กเกินไปทำให้ไข่ฟ่อ, ถ้าตัวผู้เกิดอารมณ์ไม่ดีขึ้นมาเพราะมีคนมากวน หรือ เพราะเกิดนิสัยไม่ดีขึ้นมา ตัวผู้ก็จะกินไข่ไป ซึ่งพฤติกรรมนี่อาจจะเกิดกับปลาหนุ่มหลายครั้งสัก หน่อย อย่างปลาของผมก็กินไข่ไปสัก 6-7 ครั้งได้กว่าจะอมไข่สำเร็จเป็นครอกแรก เท่าที่ผมเคย เพาะมานั้น ครอกแรกได้ลูกเลี้ยงจนโตเต็มที่มาทั้งหมด สิบเก้าตัว และครอกที่สองซึ่งเป็นรุ่นลูกก็ ได้จำนวนประมาณนี้เหมือนกัน ซึ่งก็มีความรู้สึกว่าเยอะแล้ว และก็ยังไม่เข้าใจว่าอัดกันอยู่ในปาก พ่อได้ยังไงกันตั้งนานขนาดนั้น
พอพ่อปลาคายลูกออกมาแล้ว อย่าเพิ่งปล่อยตัวเมียลงไปเพราะถึงตอนนี้ก็ไม่ได้กิน อาหารมาเป็นสิบวันแล้ว ค่อยๆ ขุนให้สมบูรณ์อีกสักเดือนสองเดือนจึงค่อยปล่อยตัวเมียลงผสม พันธุ์อีกครั้งแล้วก็พักยาวสัก 2-3 เดือน อมบ่อยๆเดี๋ยวปลาโทรมครับ
สำหรับลูกปลากัดกระบี่ที่ออกมาจากปากพ่อสามารถที่จะให้ไรทะเลที่เพิ่งฟักใหม่หรือลูกไรกรอง ได้เลย ผมพบว่าหนอนจิ๋วจะเล็กไปสักหน่อยสำหรับลูกปลากัดกระบี่แต่ถ้ามีใครหัดให้กินได้ก็ ง่ายดีเหมือนกัน ลูกปลาจะใช้เวลาสัก 5-7 เดือนถึงจะโตพอที่จะเริ่มผสมพันธุ์ได้ครับ
ขอให้ทุกท่านโชคดีกับปลากัดกระบี่แล้วถ้าใครเพาะได้แล้วอย่าลืมมาโม้ที่เว็บบอร์ดกันบ้างนะครับ
ที่มา : siamensis