ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี ปลากัดเพชรบุรี

Friday, August 15, 2008

ปลากัดป่า หรือ ปลาลูกทุ่ง


ปลากัดป่า หรือ ปลาลูกทุ่ง ที่พบในธรรมชาติ ตามท้องนา หนองบึง ส่วนใหญ่จะเป็นปลาขนาดเล็กที่ไม่เด่นมากนัก ในสภาพปกติสีอาจเป็นสีน้ำตาล เทาหม่น หรือสีเขียว และอาจมีแถบดำจาง ๆ พาดตามความยาวของลำตัว อาศัยหลบซ่อนตัวอยู่ระหว่างพรรณไม้น้ำในที่ตื้น ความพิเศษของปลากัด อยู่ที่ความเป็นนักสู่โดยธรรมชาติเมื่อพบปลาตัวอื่นจะเข้าต่อสู้กันทันที และที่พิเศษยิ่งกว่านั้นคือการที่ปลาตัวผู้สามารถเปลี่ยนสีให้งดงามเมื่อถูก กระตุ้น ในสภาวะตื่นตัวครีบทุกครีบจะแผ่กางออกเต็มที่ แผ่นเยื่อหุ้มเหงือขยายพองตัวออก พร้อมกับสีน้ำเงินหรือแดงที่ปรากฏขึ้นมาชัดเจนในโทน ต่าง ๆ ทำให้ดูสง่าอาจหาญ และสวยงาม ปลาป่าแท้นั้นส่วนมากครีบ หางและกระโดงที่ภาษานักแปลงปลาเรียกรวมว่า "เครื่อง" จะมีสีแดงเกือบตลอดมีประดำบ้างเล็กน้อย บางทีอาจมีเส้น เขียว ๆ แซมบ้าง อย่างที่เรียกว่าเขียวก็มีเพียงแต้มเขียวอ่อน ๆ ที่กระโดงเท่านั้น เวลาถอดสีปกติทั้งตัวและเครื่องเป็นสีน้ำตาลจืด ๆ คล้ายใบหญ้าแห้ง ที่ห้อยแช่น้ำอยู่ ลักษณะพิเศษอีกอย่างหนึ่งของปลากัดก็คือเป็นปลาที่มีอวัยวะช่วยหายใจพิเศษที่อยู่บริเวณเหงือกทำให้ปลาสามารถใช้ออกซิเจน จากการฮุบอากาศได้โดยตรง ปลากัดจึงสามารถทนทานดำรงชีวิตอยู่ได้ในที่ที่มีออกซิเจนต่ำ ตำนานเล่าขานของปลากัดจึงค่อนข้างแปลกประหลาด ไปกว่าสัตว์น้ำชนิดอื่น ๆ บทความ "ธรรมชาติของปลากัดไทย) โดย ม.ล. ยิ่งศักดิ์ อิศรเสนา ที่เขียนไว้เมื่อปี 2496 ได้พูดถึงการขุดหาปลากัดในรูปูนา ตามขอบหนอง ชายบึง ริมคู และรางน้ำ ซึ่งปลากัดเข้าไปอยู่อาศัยปนอยู่กับปูในรูตั้งแต่ต้นฤดูหนาว เมื่อน้ำเริ่มลดไป จนตลอดหน้าแล้งปูก็จะขุดรูลึก ตามระดับน้ำลงไปเรื่อย ๆ ปลากัดจะออกมาแพร่พันธุ์ใหม่ในต้นฝนในเดือนพฤษภาคม กระจายออกไปหากินตามที่มีหญ้ารก ๆ ในเขตน้ำตื้นปลากัด เป็นปลาที่ชอบน้ำตื้น จึงไม่พบตามแม่น้ำลำคลอง หนองบึง ที่มีน้ำลึก อันที่จริงในธรรมชาติการต่อสู่กันของปลากัดไม่จริงจังเท่าไรนัก ส่วนมากมักแผ่พองครีบหางขู่กันเพื่อแย่งถิ่น บางตัวเห็นท่าไม่ดีก็อาจเลี่ยงไปโดยไม่ ต่อสู้กันเลยก็มี แต่บางคู่ก็ต่อสู้กันอย่างถึงพริกถึงขิง ปลาตัวผู้ตัวไหนที่ยึดชัยภูมิเหมาะได้ที่ ก็จะก่อหวอดไว้แล้วพองตัวเบ่งสี เกี้ยวตัวเมียที่ผ่านไปมา เพื่อผสมพันธุ์วางไข่

ปลาทุ่งหรือปลาป่า หรือที่เรียกกันว่า "พันธุ์ลูกทุ่ง" และ "พันธุ์ลูกป่า" เป็นพันธุ์ปลากัดที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ในที่ที่ลุ่มตามท้องนา หนอง บึง ปลากัดที่อยู่ในภูมิประเทศชนิดนี้เรียกว่า "ลูกทุ่ง" ในท้องถิ่นปักษ์ใต้เรียกว่า "ปลาท่ง" ส่วนปลากัดที่อยู่ตามป่าที่มีน้ำท่วมถึงหรือมีน้ำท่วมตลอดปี เช่น ในที่ที่เป็นพรุหรือป่าจากริมน้ำ เช่นนี้เรียกว่าปลาป่า หรือ "ลูกป่า" ปลากัดพันธ์ลูกทุ่ง หรือที่เรียกกันว่า ปลากัดพันธุ์ลูกป่าในภาคใต้จะเริ่ม "ก่อหวอด" หรือ"กัดฟอง" หรือ "บ้วนฟอง" ในราว ๆ เดือน 6-7 หรือบางปีราว ๆ ปลายเดือน 5 ในระยะเวลาดังกล่าวเด็ก ๆ ตามชนบทและนักเลงปลากัดจะเริ่มออกหาปลากัดกันตามท้องทุ่งหรือตามป่าตามพรุที่มีน้ำท่วมถึง เพราะระยะเวลาในขณะนั้นเป็นเวลาที่สิ้นหน้าเก็บเกี่ยวและเกิด "ฝนพรัด" ตก(ฝนที่เกิดจากลมที่พัดมาจากทิศตะวันตก) น้ำฝนดังกล่าวจะขังคึงอยู่ตามที่ลุ่มในท้องนา หนอง บึง ที่ผ่านความแห้งแล้งมานานพอสมควร ในหน้าแล้งปลากัดจะฟักตัวหรือหมกตัวอยู่ที่ชื้น แฉะใต้ดินเรียกว่า "จำศีล" หรือภาษาถิ่นภาคใต้เรียกว่า "ควมตัว" อยู่ใน"หม็อง" หรือ "หมง" (เรียกที่อยู่ของปลากัดในหน้าแล้งมีขนาดเท่ากับกำปั้น หรือผลมะพร้าว อยู่ใต้ดินในท้องนาบริเวณที่ลุ่ม เช่นหนองแห้ง ริมบึง ฯลฯ มีลักษณะเป็นหระปุกหรืออุโมงค์เล็ก ๆ โดยมีตมเลนอยู่ภายใน ในหม็องหนึ่ง ๆ จะมีปลากัดอยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก) ปลากัดที่อยู่ในหน็องก็จะออกมา "ก่อหวอด" หรือ "กัดฟอง" เพื่อเตรียมการผสมพันธุ์ต่อไป เป็นตอนที่ปลากัดกำลังคึกเต็มที่

ที่มา : thaigoodview